ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
21/08/2567
15191202
383645


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  273 ราย


ลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย นายจ้างต้องรับผิดชอบไหม


ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย จากการทำงานทางการจ้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงาน  ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ฯลฯ , กลุ่มผู้ขับรถบริการสาธารณะ , กลุ่มผู้ขับรถขนส่งสินค้า  ซึ่งเป็นกลุ่มที่เสียงเป็นผู้ประสบอันตราย เป็นต้น   คนทำงานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน เป็นกลุ่มที่เสี่ยงเป็นผู้เจ็บป่วยได้  เป็นต้น  ทำงานเดินเรือ ก็เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะสูญหาย   หากลูกจ้างผู้ใช้แรงงานประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย หรือสูญหาย  นายจ้างต้องเงินค่าทดแทนตาม พระราชบัญญัติเงินทดแทน 2537 มาตรา 18 " เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้สิทธิตามมาตรา 20 แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้

(1) ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้เกินสามวันไม่ว่าลูกจ้างจะสูญเสียอวัยวะตาม (2) ด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ไปจนตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถทำงานได้แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปี

(2)ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างต้องสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกาย โดยจ่ายตามประเภทของการสูญเสียอวัยวะและตามระยะเวลาที่ต้องจ่ายให้ตามกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประกาศกำหนด แต่ต้องไม่เกินสิบปี

(3)ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างทุพพลภาพ โดยจ่ายตามประเภทของการทุพพลภาพและตามระยะเวลาที่จะต้องจ่ายตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประกาศ แต่ต้องไม่เกินสิบห้าปี

(4)ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือสูญหายมีกำหนดแปดปี

การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยซึ่งเป็นเหตุให้สูญเสียอวัยวะของร่างกาย หรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะไปเพียงบางส่วน ในการคิดค่าทดแทน ให้เทียบอัตราส่วนร้อยละจากจำนวนระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะประเภทนั้นๆ ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประกาศกำหนด

หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าจ้างรายเดือนให้เป็นไปตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประกาศกำหนด

ค่าทดแทนตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองต้องไม่น้อยกว่าค่าทดแทนรายเดือนต่ำสุด และไม่มากกว่าค่าทดแทนรายเดือนสูงสุดตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประกาศกำหนด