เลขที่ 919/541 อาคารจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ ชั้น49 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพ ฯ ไทย 10500
สิทธิของลูกจ้างที่จะได้เงินในกรณีนายจ้างเลิกจ้างโดยเหตุไม่เป็นธรรม มีดังนี้
1.เงินค่าชดเชย จะได้ก็ต่อเมื่อมีการเลิกจ้างโดยเหตุไม่เป็นธรรม เช่นลูกจ้างไม่ได้ทำผิดหรือลดคนตามนโยบาย
เรื่องค่าชดเชยตามพรบ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 118 นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังนี้
1.1ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบร้อยยี่สิบวันแต่ไม่ถึงหนึ่งปี ค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 30 วันหรือ 1 เดือน
1.2ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปีแต่ไม่ครบสามปี ค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 90 วันหรือ 3 เดือน
1.3ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบสามปีแต่่ไม่ครบหกปี ค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 180 วันหรือ 6 เดือน
1.4ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบหกปีแต่ไม่ครบสิบปี ค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 240 วันหรือ 8 เดือน
1.5ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 300 ว้นหรือ 10 เดือน
ตามข้อ 1. ถึงข้อ 5. นั้นกฎหมายกำหนดไว้ขั้นต่ำเท่านั้น ซึ่งอาจได้รับมากกว่านี้ได้แต่ ทางปฏิบัติแล้วนายจ้างจะจ่ายตามนี้
มีคนสงสัยหากเป็นลูกจ้างทดลองงานกฎหมายคุ้มครองหรือไม่ คำตอบ คุ้มครองครับดูเป็นกรณีไปในเรื่องค่าชดเชยนั้น พรบ.คุ้มครองแรงงาน คุ้มครองลูกจ้างทดลองงานทีทำงานครบร้อยยี่สิบวันทำให้มีสิทธิได้รับเงินชดเชย 30 วันหรือ 1 เดือน
2.ค่าบอกกล่าว ซึ่งตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 17 วรรคสอง กรณีสัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา (คือการจ้างทำงานเป็นพนักงานแบบประจำทำงานไปเรื่อยๆยันแก่) ต้องบอกกล่าวล่วงเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้าก่อนรับค่าจ้างในคราวถัดไป แต่ไม่จำเป็นต้องกล่าวล่วงหน้าเกิน 3เดือน (กรณีเลิกจ้างโดยนายจ้างหรือลูกจ้างลาออกต้องบอกล่าวล่วงหน้่าส่วนระยะเวลานั้นก็แล้วแต่ข้อบังคับของแต่ละบริษัทด้วยซึ่งอาจมากกว่า 1 เดือนได้แต่ไม่เกิน 3 เดือน) หากนายจ้างไม่บอกกล่าวล่วงหน้า เราก็สามารถเรียกเสียค่าบอกล่าวล่วงหน้าได้
อธิบายความหมายเรื่องการบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือนในที่นี้คือ 1 เดือนของวันที่กำหนดจ่ายเงินเดือน ถ้าหากจ่ายเงินในวันที่ 25 ของเดือน ต้องบอกล่าวให้ออกจากงานในวันที่ 24 หรือ 25 ของเดือนนั้นอย่างช้าที่สุด เพื่อให้ออกเดือนหน้า
แล้วถ้ารับเงินเดือนละสองครั้งคือรับทุกวันที่ 1 และวันที่ 16 ถ้าจะให้ออกจากงานต้องบอกล่วงหน้าเช่น บอกให้เลิกจ้างในวันที่ 15 หรือวันที่ 16 วันสุดท้ายจะมีผลเลิกจ้างคือวันที่ 1 เพราะเป็นการบอกกล่าวล่วงก่อนจ่ายค่าจ้าง 1 งวดหรือการจ่ายค่าจ้างในคราวถัดไปนั้นเอง
ตัวอย่าง นายทะลึ่งลูกจ้างรายเดือนทดลองงานเพิ่งเริ่มทำงานได้เดือนแรก ของบริษัท ยิ่งใหญ่ โดยมี นายใหญ่ เป็นเจ้าของ ในวันที่ 30 กรกฎาคม นายทะลึ่งไปเหล่เด็กของนายใหญ่ ทำให้นายใหญ่ไม่พอใจไล่ออกทันที จะเห็นได้ว่าไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งต้องบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน เป็นการไล่ออกเลย ทำให้นายทะลึงมีสิทธิได้รับเงินแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน
3.ค่าเสียหาย คือการเลิกจ้างของนายจ้างทำให้ลูกจ้างเดือดร้อนเช่น ลูกจ้างมีภาระต้องเลี้ยงดูครอบครัว พ่อ,แม่,ภรรยาและบุตรของลูกจ้าง หากเลิกจ้างลูกจ้างครอบครัวของลูกจ้างจะได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก ตรงนี้ก็เป็นอีกส่วนที่เราสามารถเรียกจากนายจ้างได้ แม้กระทั่งลูกจ้างทดลองงานก็สามารถเรียกค่าเสียหายได้หากถูกเลิกจ้างในเหตุไม่เป็นธรรม ตัวอย่างเช่นลูกจ้างทำงานที่บริษัทเดิมตำแหน่งผู้จัดการ แต่บริษัท รวย ได้เรียกตัวไปทำงานด้วยได้ตกลงรายละเอียดงานเรียบร้อย ลูกจ้างจึงได้ลาออกจาที่ดินเพื่อมาทำงานที่ใหม่ และมาเริ่มงานตามที่ตกลงไว้แต่ปรากฎว่าบริษัท รวย ปฎิเสธไม่รับเข้าทำงาน โดยอ้างว่ายกเลิกตำแหน่งดังกล่าวไปแล้ว ลูกจ้างสามารถเรียกค่าเสียหายได้
เหตุที่ลูกจ้างจะเรียกค่าเสียหายไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นอย่างใด หากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายลูกจ้างประจำหรือลูกจ้างทดลองก็สามารถเรียกค่าเสียหายได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ดี ลูกจ้างจะได้รับค่าเสียหายเพียงใดนั้น ศาลจะใช้ดุลพินิจกำนดให้พอควรแก่เหตุน้นเอง
ในส่วนดอกเบี้ยนั้น ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 9 "ในกรณีที่นายจ้างไม่คืนหลักประกันที่เป็นเงินตามมาตรา 10 วรรคสองหรือไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 หรือค่าชดเชยตามมาตาม 118 ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา 120 มาตรา 121 และมาตรา 122 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี
1.ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ร้อยละ 15 ต่อปี 2.ค่าชดเชยตามมาตรา 118 ร้อยละ 15 ต่อปี 3.แต่ค่าเสียหายได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี