ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6878989
374813


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  10 ราย


ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีอายุความการประเมิน และการส่งหนังสือเเจ้งการประเมิน


ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีอายุความการประเมิน และการส่งหนังสือเเจ้งการประเมิน

เลขที่หนังสือ : กค 0702/93

วันที่ : 7 มกราคม 2552

เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีอายุความการประเมิน และการส่งหนังสือเเจ้งประเมิน

ข้อกฎหมาย : มาตรา 88 และมาตรา 88/6(1) เเห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ : 1. บริษัทฯ ได้ย้ายสถานประกอบการ จากเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร ไปอยู่ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานสรรพากร จึงเข้าตรวจสอบสภาพกิจการของบริษัทฯ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2550 ปรากฎว่า บริษัทฯ ประกอบกิจการเป็นตัวเเทนออกของ(ซิปปิ้ง) และรับขนสินค้า จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2548 บริษัทฯ ไม่มีเอกสารให้ตรวจสอบเนื่องจากอยู่ระหว่างปิดบัญชี เอกสารอยู่ที่สำนักงานบัญชี เจ้าพนักงานฯ จึงได้นัดให้บริษัทฯ ไปพบเพื่อให้ถ้อยคำและส่งมอบเอกสารหลักฐาน เเต่บริษัทฯ มิได้ไปพบเจ้าพนักงานฯ โดยไม่ได้ชี้เเจงเหตุขัดข้องเเต่อย่างใด

 

                  2. เจ้าพนักงานฯ ได้ยุติตรวจสภาพกิจการเพื่อตรวจปฎิบัติการเฉพาะประเด็น กรณีบริษัทฯ มีรายได้จากการประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เเต่บริษัทมิได้ยื่นเเบบเเสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30)

 

                 3. เจ้าพนักงานได้มีหนังสือถึงบริษัทฯ เพื่อให้บริษัทฯ ส่งมอบเอกสารให้ทำการตรวจสอบในวันที่ 14 สิงหาคม 2550 เเต่ บริษัทมิได้ไปพบเจ้าพนักงาน และเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 เจ้าพนักงานฯ ได้ตรวจสอบหลักฐานข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ปรากฎว่า ข้อมูล ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2550 บริษัทฯ มีสำนักงานเเห่งใหญ่ตั้งอยู่เลขที่ 1649/275 ถนนรามคำเเหง เเขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร เเต่เจ้าพนักงานฯ ได้ทำการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามหนังสือเเจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.73.1) ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2550 และวันที่ 23 พฤศจิกายน 2550 และเจ้าพนักงานได้นำส่งหนังสือเเจ้งการประเมินไปที่บริษัทฯ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 และวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 ตามลำดับ ขอทราบว่าอายุความในการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีดังกล่าวมีกำหนดกี่ปี และจะส่งหนังสือเเจ้งการประเมินไปยังที่ตั้งของบริษัทฯ เเห่งใด

 

เเนววินิจฉัย 1. กรณีตาม 1. การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2547 ถึงวันที่ 6 มีนาคม 2548 (ก่อนถูกเพิกถอนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) กรณีบริษัทฯ มียอดขายสินค้าหรือให้บริการ เเต่มิได้ยื่นเเบบเเสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) เจ้าพนักงานฯ มีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 10 ปี นับเเต่วันสุดท้ายเเห่งกำหนดเวลายื่นเเบบเเสดงรายการภาษี ตามมาตรา 88/6(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร

                        กรณีการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ตั้งเเต่วันที่ 7 มีนาคม 2548 ถึงเดือนภาษีกรกฎาคม 2550 (ภายหลังภถูกเพิกถอนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) เมื่อบริษัทฯ มิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน จึงไม่มีหน้าที่ยื่นเเบบเเสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม กำหนดเวลาในการประเมินภาษีตามมาตรา 88/6 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่อาจนำมาใช้กับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีนี้ได้ เมือประมวลรัษฎากรมิได้กำหนดเวลาในการประเมินภาษีในกรณีนี้ไว้ จึงต้องใช้กำหนดเวลาตามอายุความทั่วไป ตามมาตรา 193/31 เเห่งประมวลกฎหมายเเพ่งและพาณิชย์ ที่ให้สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเก็บค่าภาษีอากรได้ภายใน 10 ปี

 

                      2. กรณีตาม 2. บริษัทฯ ได้ย้ายสถานประกอบการสำนักงานเเห่งใหญ่จากเลขที่ 2 ซอยลาดกระบัง 1 เเขวงลาดกระบังเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ไปอยู่เลขที่ 1649/275 ถนนรามคำเเหง  เเขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร (ข้อมูล การจดทะเบียนนิติบุคคลของกรมพันฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ข้อมูล ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2550) เเต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่าเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2550 เจ้าพนักงานฯ ได้ออกหนังสือเเจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ระบุว่าสถานประกอบการตั้งอยู่เลขที่ 2 ซอยลาดกระบัง 1 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และได้ส่งหนังสือเเจ้งการประเมิน ตามที่อยู่ดังกล่าวเมื่อวันที่ 15  พฤศจิกายน 2550 และวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 เนื่องจากกรณีดังกล่าว สท. 21 ได้ตรวจปฎิบัติการ เฉพาะประเด็นเมื่อวันที 14 พฤษภาคม  2550 ณ สถานประกอบการเดิมของบริษัทฯ  เเต่บริษัทฯ มิได้ส่งมอบเอกสารหลักฐานให้ เจ้าพนักงานฯ ทำการตรวจสอบ เจ้าพนักงานฯ มีอำนาจประมเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามาตรา 88 มาตรา 88/4 และมาตรา 88/5 แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องปฎิบัติตามข้อ 42.2 ของระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการตรวจสอบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ.2550 โดยออกหนังสือเเจ้งการประเมินตามที่อยู่ใหม่ของบริษัทฯ ตามบันทึกที่ กค0726/ว.604 ลงวันที่ 25 มกราคม 2551 ประกอบกับ ข้อ 18.2 ของตารางการระบุชื่อและที่อยู่ในหนังสือเเจ้งภาษีอากร หรือ หนังสืออื่น ๆ และให้ส่งหนังสือเเจ้งการประเมินตามมาตรา 8 แห่งประมวลรัษฏากร ประกอบกับข้อ 39  ของระเบียบกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว