ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6878789
374783


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  5 ราย


ค่าปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม


1.ปรับอาญา : กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 (กำหนดการยื่นแบบ ภ.พ. 30 ทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป)(ไม่เคยยื่นแบบมาก่อนเลย)

-กรณียื่นแบบเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน ปรับ 300 บาท

-กรณียื่นแบบเกินกำหนดเวลา และเกิน 7 วัน ปรับ 500 บาท

 

2.เงินเพิ่ม

-คิด 1.5 % ต่อเดือนของภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)

-กรณีไม่มีภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม แต่จะเสียแต่ค่าปรับอาญา

 

3.เบี้ยปรับ : การเสียค่าเบี้ยปรับแบ่งได้  2 กรณี คือ

-กรณียื่นแบบ ภ.พ. 30 เพิ่มเติม (ต้องการยื่นแบบปกติมาก่อน ถึงจะยื่นแบบเพิ่มเติมได้)

-กรณีไม่เคยยื่นแบบ ภ.พ. 30 มาก่อน (อาจจะลืมยื่นหรือมีเงินไม่พอจ่ายภาษีก็เลยไม่ยื่นแบบ)

 3.1กรณียื่นเพิ่มเติม คิดเบี้ยปรับในอัตรา 2 % - 20 %

-ถ้าชำระภายใน 1 - 15 วัน - คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2  %

-ถ้าชำระภายใน 16 - 30 วัน - คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5  %

-ถ้าชำระภายใน 31 - 60 วัน - คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10  %

-ถ้าชำระหลังจาก 60 วันไปแล้ว - คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20 %

3.2กรณีไม่ได้ยื่นแบบมาก่อน

-ถ้าชำระภายใน 1 -15 วัน - คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2% x 2 เท่า

-ถ้าชำระภายใน 16 - 30 วัน - คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5 % x 2 เท่า

-ถ้าชำระภายใน 31 -  60 วัน - คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10 % x 2 เท่า

-ถ้าชำระหลัง 60 วันไปแล้ว - คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2 % x 2 เท่า

 

หมายเหตุ

-ถ้ามีภาษีซื้อที่ลืมยื่นไม่สามารถนำมาหักออกได้นะครับ แต่สามารถนำมาขอคืนภาษีได้ตามปกติ ที่จริงไม่ต้องยื่นเพิ่มเติมก็ได้นะครับ แต่สามารถนำมาขอคืนภาษีได้ตามปกติ ที่จริงไม่ต้องยื่นเพิ่มเติมก็ได้ เพราะเราสามารถนำมายื่นขอคืนได้ในเดือนถัดไปอยู่แล้ว (ไม่เกิน 6 เดือน)

-กฎหมายระบุไว้ว่า ให้นำภาษีที่ต้องชำระคูณ 1 เท่า แต่ไม่ต้องไปคูณก็ได้เพราะตัวเงินก็ได้เท่าเดิมอยู่แล้ว ผมใส่ไว้เป็นหมายเหตุจะได้ไม่งง

 

4.การนับวัน กรณียื่นแบบเพิ่มเติมและไม่ได้ยื่นแบบ

ให้นับตั้งแต่วันที่ถึงกำหนดชำระเดือนก่อน (หรือวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งอาจจะไม่ใช่วันที่ 15 ก็ได้ กรณีทีวันที่ 15 ตรงกับวันเสาร์และวันที่ 16 เป็นอาทิตย์ วันสุดท้ายของการยื่นแบบก็จะเป็นวันจันทร์ที่ 17

 

 

ตัวอย่างเช่น

 

ถ้าวันสุดท้ายของการยื่นแบบตรงกับวันที่ 15 ของเดือนก่อนและเป็นเดือนที่มี 31 วัน  วันครบกำหนดชำระภาษีถ้าต้องการชำระภายใน 30 วัน  จะตรงกับวันที่ 14 ของเดือนถัดไป และถ้าวันที่ 14 ตรงกับวันเสาร์และวันที่ 15 เป็นวันอาทิตย์ ก็ต้องไปชำระก่อนคือชำระในวันศุกร์ที่ 13 ถ้าไปชำระในวันจันทร์ที่ 16 จำนวนวันก็จะเกิน 30 วันไปเป็น 32 วัน จะทำให้เบี้ยปรับขอขยับจาก 5 % ไปเป็น 10 % แทน

 

 

อีกตัวอย่างหนึ่ง

 

ถ้าวันสุดท้ายของการยื่นแบบตรงกับวันจันทร์ที่ 17 (บังเอิญเดือนก่อนวันที่ 15 ตรงกับวันเสาร์ ทำให้ต้องเลื่อนการยื่นแบบมาเป็นวันจันทร์ที่ 17 แทน) และเป็นเดือนที่มี 30 วัน ถ้าชำระภายใน 30 วัน จะต้องชำระภายในวันที่ 17 ของเดือนถัดไปเป็นต้น

 

หมายเหตุ

วันหยุดให้ดูที่หยุดราชการ พูดง่ายๆ ก็คือสรรพากรหยุด การนับวันถึงจะเลื่อนออกไป

 

 

 

ข้อมูลอ้างอิง

 

-อ้างอิง คำสั่งกรมสรรพกรที่ ป.81/2542  เป็นคำสั่งให้คิดค่าปรับ กรณียื่นเพิ่มเติมและไม่ยื่นแบบ ในอัตรา 1 เท่าและ 2 เท่า

-อ้างอิง คำสั่งกรมสรรพกรที่ ทป.81/2542 เป็นคำสั่งให้ลดเบี้ยปรับจาก 1 - 2 เท่าของภาษี ให้เหลือในอัตราร้อยละ 2-20%

-อ้างอิง คำสั่งกรมสรรพกรที่ ป.117/2545  เป็นคำอธิบายวิธีการนับวัน

-ดูตัวอย่างการคำนวนปรับเงินเพิ่ม (ในตัวอย่างเบี้ยปรับต้อง x อัตราร้อยละ 2 - 20%ด้วย)

 

 

เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

กรณียื่นแบบ ภงด.90 ภงด.91 เกินกำหนดเวลา

-ค่าปรับอาญา : ถ้ายื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท ถ้าเกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท

-เงินเพิ่ม : อีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน )

 

 

เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีเงินได้นิติบุคคล

 

กรณียื่นแบบ ภงด.1 ภงด.3 ภงด.53  เกินกำหนดเวลา

-ค่าปรับอาญา : กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท หากเกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท

-เงินเพิ่ม : อีกในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน )

กรณียื่นแบบ ภงด.50 เกินกำหนดเวลา

-ค่าปรับอาญา : กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 1,000 บาท หากเกิน 7 วัน ปรับ 2,000 บาท

-เงินเพิ่ม : อีกในอัตรา 1.5 % ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)

 

-ค่าปรับอาญา : กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท หากเกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท

-เงินเพิ่ม : อีกในอัตรา 1.5 %ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)

กรณียื่นแบบ ภงด.50 เกินกำหนดเวลา

-ค่าปรับอาญา : กรณียื่นภายใน 7 วัน  ปรับ 1,000 บาท หากเกิน 7 วัน ปรับ 2,000 บาท

-เงินเพิ่ม : อีกในอัตรา 1.5 % ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)

ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าที่กระทรวงพาณิชย์

การยื่นงบกรเงินล่าช้าหรือไม่ได้ยื่นงบการเงิน ค่าปรับจะมีอยู่ 2 ส่วนนะครับคือ ในส่วนของกรมสรรพากร กับในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ลองมาดูในส่วนของกรมสรรพากรกันก่อน คุณต้องเสียค่าปรับอาญายื่นแบบเกินกำหนดเวลาไม่เกิน 2,000 บาท เค้าใช้คำว่าไม่เกิน 2,000 บาทนะครับ  แต่แนวปฏิบัติของสรรพากรจะเรียกเก็บค่าปรับ 1,000 บาท สำหรับแบบที่ยื่นเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน หากเกิน 7 วันค่าปรับจะอยู่ที่ 2,000 บาท และต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) ถ้าคุณไม่มีภาษีต้องชำระก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ผมแนบตารางค่าปรับมาให้ (ดูตารางค่าปรับด้านล่าง)  การจ่ายค่าปรับให้ดูในเรื่องของระยะเวลา ถ้าคุณยื่นล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน ค่าปรับจะอยู่ที่ 1,200 บาท โดยจ่ายค่าปรับในนามบริษัท 600 บาท และจ่ายค่าปรับในนามกรรกการอีก 600 บาท

คำชี้แจงเกี่ยวกับการยื่นงบการเงิน

1.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด

นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร  ต้องยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือน นับแต่วันที่ปิดบัญชี ดังนั้นงบการเงินที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี จะต้องยื่นภายในวันที่ 31 พฤษภาคมของปีถัดไป

2.บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด

ต้องจัดทำงบการเงินขึ้นเพื่อให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบรับรอง แล้วจึงนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ โดยจะต้องจัดให้มีการประชุมเพื่อนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันที่ปิดบัญชี ดังนั้น รอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี จะต้องจัดประชุมภายในวันที่ 30 เมษายน ของปีถัดไปมิฉะนั้นจะมีความผิดโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท งบการเงินที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่แล้ว จะต้องนำไปยื่นภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ เช่น 1.ประชุมเมื่อวันที่ 31 มีนาคม จะต้องนำไปยื่นภายใน 30 เมษายนของเดือนถัดไป 2.ประชุมเมื่อวันที่ 20 เมษายน จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่ 20 พฤษภาคมของเดือนถัดไป