ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6826431
374389


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  80 ราย


เมื่อขายสินค้าแต่เก็บเงินไม่ได้ หนี้การค้า หนี้ธุรกิจ ทวงหนี้เช็คเด้ง บังคับคดี บุคคลผู้ต้องรับผิดตามตั๋วเงิน


          สำหรับนักธุรกิจทุกท่านเมื่อดำเนินธุรกิจไประยะหนึ่ง ย่อมเกิดปัญหาการเก็บค่าสินค้าจากลูกค้าไม่ได้ แต่ละท่านย่อมรู้สึกไม่สบายใจ และมีคำถามว่าจะเรียกเก็บค่าสินค้าได้หรือไม่ เหมือนคำที่นักธุรกิจเคยเกล่าวไว้ว่า ขายเก่งไม่สำคัญ เท่ากับขายแล้วเก็บเงินได้หรือเปล่า

 

เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส ขอเสนอบริการทวงหนี้ทางการค้าให้แก่ท่านก่อนฟ้องคดี เพื่อท่านจะได้ใช้เวลาอันมีค่าในการดำเนินธุรกิจของท่าน โดยมอบหมายหน้าที่ทวงถามหนี้ทางการค้าเป็นหน้าที่ของเรา

 

เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จะดำเนินการโดยหลัการทวงถาม โดยมีนิยาม "รักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างท่านและลูกค้า" เว้นแต่ได้รับการแจ้งจากท่านให้ดำเนินการ โดยวิธีการมากกว่า โดยท่านจะได้รับบริการทวงถามให้ชำระหนี้การค้าด้วยความเอาใจจากมืออาชีพเฉพาะด้านให้ท่านได้รับชำระหนี้ทางการค้าเพื่อแก้ปัญหาธุรกิจให้ท่าน

 

เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส ยังมีบริการป้องกันการเกิดหนี้ทางการค้าให้แก่ผู้ประกอบการ เช่น

-การวิเคราะห์งบการเงินก่อนปล่อยเครดิตให้ลูกค้า ซึ่งบริษัทต่างประเทศจะใช้วิธินี้เพื่อพิจารณาก่อนให้เครดิตลูกค้า ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผล และลดอัตราการเกิดปัญหาหนี้สูญจากการขายสินค้า

-การเป็นที่ปรึกษทางกฎหมายแบบเป็นครั้งที่ปรึกษากฎหมายที่บริษัทและที่ปรึกษากฎหมายทางโทรศัพท์ หรือที่ปรึกษากฎหมายแบบรายเดือนเพื่อรับการดูแลด้านกฎหมายอย่างต่อเนื่อง ที่ปรึกษากฎหมายรายปี ประจำบริษัท ห้างหุ้นส่วน บริษัทมหาชน ฯลฯ

-การวางโครงสร้างบริษัทระบบการปล่อยสินเชื่อ และระบบการบริหารงานภายใน

-การร่างสัญญาการค้าขาย สัญญาค้ำประกัน สัญญาวาง BE ประกัน สัญญากำหนดสิทธิหน้าที่ ระยะเวลาส่งมอบสินค้าและชำระเงิน เป็นต้น

สอบถามรายละเอียดได้ที่ เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส โทร.02-630-0460 , 02-236-5722

E-mail: smelawservice@hotmail.com

 

ทวงหนี้คดีเช็คเด้ง

เมื่อท่านได้รับเช็คเพื่อชำระค่าสินค้าค่าบริการ ค่าจ้างอื่นใด แต่ปรากฎว่าเมื่อนำเช็คไปเรียกเก็บกับธนาคารปรากฎว่าไม่สามารถเรียกเก็บได้ เช่นเงินในบัญชีผู้สั่งจ่ายเช็คไม่พอจ่าย หรือเหตุผลอื่นใด ภาษาชาวบ้านเรียกว่า เช็คเด้ง กรณีนี้ท่านสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาได้ โดยคดีอาญามีอายุความ 3 เดือนนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค

 

ซึ่งท่านสามารถติดต่อทนายความของบริษัทเอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด ได้ทันที่นับแต่เกิดปัญหาดังกล่าว ซึ่งเป็นปรกติที่ลูกหนี้ที่ออกเช็คย่อมกลัวที่จะต้องรับโทษในคดีอาญาตาม พรบ. ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เนื่องจากมีอัตราโทษ จำคุกไม่เกิน 1ปี ต่อ 1กรรมต่อ 1 การกระทำความผิด

 

ซึ่งถ้าท่านประสงค์จะให้บังคับคดี สืบหาทรัพย์ลูกหนี้ ยึดทรัพย์ อายัดทรัพย์ อายัดเงินเดือน

เมื่อท่านเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้วท่านมีหน้าที่ต้องสืบหาทรัพย์ลูกหนี้ เพื่อตามยึดทรัพย์ บังคับคดี เพื่อทวงถามเก็บหนี้ แต่เนื่องจากท่านไม่มีประสบการณ์ในการสืบหาทรัพย์สินลูกหนี้ และไม่รู้ขั้นตอนตามกฎหมาย อาจทำให้ไม่รู้ว่าต้องเริ่มอย่างไร หรือต้องไปหาทรัพย์ลูกหนี้ที่ใด เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส บริการรับสืบหาทรัพย์ลูกหนี้ เพื่อดำเนินการยึดทรัพย์ อายัดเงินในบัญชี อายัดเงินเดือน อายัดที่ดิน ยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดของลูกหนี้ เพื่อนำเงินมาชำระให้แก่ท่านตามคำพิพากษาต่อไป  

         ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แบ่งตั๋วเงินออกเป็น 3 ประเภท คือ ตั๋วแลกเงิน, ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค ตามมาตรา 898 ซึ่งเอกสารทั้งหลายดังกล่าวอาจเรียกได้ว่า เป็นเอกสารสำคัญอย่างหนึ่งในการทำธุรกิจต่างๆ ในปัจจุบัน อาจเรียกได้ว่าเป็นเป็นเอกสารที่บุคคลทั่วไปทำขึ้นเองใช้แทนเงินก็ได้ เพราะอาจมีการสลักหลังโอนให้แก่กันได้ หรือส่งมอบให้แก่กันได้โดยไม่ต้องใช้เงินในการชำระหนี้ต่างๆ

           

 

          ตามกฎหมายแล้ว ตั๋วเงินถือเป็นสัญญาอุปกรณ์หรือเรียกว่าหนี้อุปกรณ์อย่างหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยหนี้ประธาน จึงจะทำให้เกิดหนี้ที่เป็นตั๋วเงินได้ เช่น มีการซื้อขายสินค้ากัน ผู้ซื้อที่โดยปกติแล้วจะต้องจ่ายค่าสินค้าเป็นตัวเงิน แต่อาจจ่ายค่าสินค้าเป็นเช็ค หรือตั๋วแลกเงิน ให้ผู้ขายไปขึ้นเงินกับธนาคารหรือแลกเงินจากผู้จ่ายเงินที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินเอง เป็นต้น โดยกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ มาตรา ๓๒๑ วรรคท้าย วางหลักไว้ว่า ถ้าชำระหนี้ด้วยออก-โอน-หรือด้วยสลักหลังตั๋วเงินหรือประทวนสินค้า ท่านว่าหนี้นั้นจะระงับสิ้นไปต่อเมื่อตั๋วเงินหรือประทวนสินค้านั้นได้ใช้เงินแล้ว ดังนั้นแม้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เป็นตั๋วเงินไม่ว่าจะเป็น เช็คหรือตั๋วแลกเงินมา หนี้หลักก็ยังไม่ระงับ จนกว่าเจ้าหนี้จะได้นำเช็คหรือตั๋วแลกเงินนั้นไปขึ้นเงินกับธนาคารหรือผู้ที่ถูกระบุให้เป็นผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นแล้วและได้รับเงินมาครบจำนวนแล้วเสียก่อน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2545/2553)และจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดตามจำนวนหนี้หลักที่มีอยู่แท้จริงเท่านั้น ไม่ได้ถือตามจำนวนที่ลงไว้ในตั๋วเงินเป็นสำคัญแต่อย่างใด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2552) และเมื่อมูลหนี้ประธานไม่เกิดขึ้นหรือตกเป็นโมฆะ แม้ลูกหนี้จะออกตั๋วเงินให้ก็ไม่ต้องรับผิดตามตั๋วเงินแต่อย่างใด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7749/2554)
  

 

            โดยที่ตั๋วเงินคือกระดาษแผ่นหนึ่งและเป็นสัญญาอันก่อให้เกิดหนี้อุปกรณ์ เมื่อมีข้อพิพาทกันเกิดขึ้น กล่าวคือ ตั๋วเงินนั้นขึ้นเงินไม่ได้ หรือธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน บุคคลที่เกี่ยวข้องกับตั๋วเงินนั้นใครบ้างจะต้องมีรับผิดชอบบ้างตามกฎหมาย??
 
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 
  •  บุคคลผู้ต้องรับผิดตามตั๋วเงิน

 

            เรื่องนี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคหนึ่ง ซึ่งวางหลักไว้ว่า บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น หมายความว่า ตั๋วเงินก็คือกระดาษแผ่นหนึ่งที่มีการกรอกข้อความลายละเอียดต่างๆ ให้มีผลเป็นตั๋วเงินตามกฎหมายวางรูปแบบลักษณะตัวเงินแต่ละประเภทไว้แล้วถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ก็จะต้องมีผู้รับผิดชอบในตั๋วเงินนั้น ตามหลักกฎหมายทั่วไปคือ บุคคลที่ได้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินนั้น และรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น โดย “เนื้อความ” ก็หมายถึง บุคคลนั้นลงลายมือชื่อในฐานะใด ก็รับผิดในฐานะนั้นตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด เช่น ลงลายมือในฐานะผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน ตามมาตรา 914 , ฐานะผู้สลักหลังตามมาตรา 917 , ฐานะผู้รับอาวัล (ผู้ค้ำประกันในตั๋วเงิน) ตามมาตรา 940, 921, ฐานะผู้รับรองตั๋วเงิน ตามมาตรา 937 เป็นต้น(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2552,12910/2553,8077/2553,8296/2551,5831/2550, 8331/2549,1479/2548)

 

 

ประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับมาตรา 900 มีดังนี้

 

 

            ลายมือชื่อนี้อาจเป็นการลงชื่อสมมติ หรือนามแฝงหรือชื่อเสียงที่ใช้ในทางการค้าก็ได้ เช่น อาจลงชื่อร้านค้าก็ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2417/2536)

 

            การลงลายมือชื่อไว้เฉยๆ แม้ไม่ระบุว่าลงในฐานะใด ในตั๋วเงินชนิดระบุชื่อ ไม่ใช่ชนิดผู้ถือ อาจต้องรับผิดตามมาตรา 900 นี้โดดๆ ก็ได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการอาวัลตั๋วเงินตามมาตรา 939  เพราะถือว่าจำเลยลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คด้วยความสมัครใจที่จะผูกพันตนต่อโจทก์ผู้ทรงตั๋วเงินแล้ว (4871/2533, 3788/2524)
 

                                       

                                                                                              นราธิป ใจน้อย