ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6879311
374829


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  8 ราย


ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการให้เช่้ารถกระบะและรถยนต์นั่งส่วนบุคคล


ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการให้เช่ารถกระบะและรถยนต์นั่งส่วนบุคคล

เลขที่นั่งสือ : กค 0706/3103

วันที่ :  29 มีนาคม 2547

เรื่อง :  ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการให้เช่ารถกระบะและรถยนต์นั่งส่วนบุคคล

ข้อกฎหมาย : มาตรา 82/5(6) พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)

ข้อหารือ  บริษัท บ. ได้หารือกรมสรรพากรกรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการให้เช่ารถกระบะและรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดหารถที่ให้เช่าด้วยวิธีเช่าซื้อ โดยบริษัทฯ จะชำระเงินดาวน์ให้เเก่บริษัทผู้ขายรถก่อน แล้วจึงชำระค่าเช่าซื้อ(เงินต้นรวมดอกเบี้ย) ผ่านบริษัทเงินทุนเป็นงวดเท่ากันทุกงวด มีกำหนดระยะเวลา 3 ปี และบริษัทฯ จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในรถเมื่อบริษัทได้ชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายแล้ว บริษัทฯ จึงหารือว่า

                   1. กรณีรถกระบะที่เช่าซื้อมีราคา 440,000 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) บริษัทฯ ชำระเงินดาวน์เป็นจำนวนร้อยละ 15 ของราคารถกระบะ โดยบริษัทฯ จะบันทึกบัญชีรถกระบะที่เช่าซื้อมาเป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ ด้วยมูลค่า 440,000 บาท ส่วนราคาที่เหลืออีกร้อย 85 บริษัทฯ จะบันทึกบัญชีรถกระบะเป็นทรัพย์สิน ณ วันใด และบันทึกอย่างไร

                   2. กรณีบริษัทฯ ผ่อนชำระเงินงวดค่าเช่าซื้อรถกระบะกับบริษัทเงินทุน บริษัทฯ มีสิทธิขอคือภาษีซื้อตามใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ที่บริษัทฯ ได้รับจากบริษัทเงินทุนหรือไม่

                   3. บริษัทฯ จะคิดค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคารถกระบะตามข้อ 1 อย่างไร และหากในรอบระยะเวลาบัญชีแรกบริษัทฯ เช่าซื้อรถกระบะโดยมี ระยะเวลาไม่ครบ 1 ปี บริษัทฯ จะคิดค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาอย่างไร

                   4. กรณีบริษัทฯ ได้เช่าซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเพื่อใช้ในการประกอบกิจการให้เช่าซื้อรถยนต์ผ่านบริษัทเงินทุน บริษัทฯ จะมีวิธีการบันทึกบัญชีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ และค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคามเช่นเดียวกับการ ซื้อรถกระบะด้วยวิธีเช่าซื้อข้างต้นได้หรือไม่ อย่างไร

 

แนววินิจฉัย

                1. กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการให้เช่ารถกระบะและรถยนต์นั่งส่วนบุคคลซึ่งบริษัทฯ ได้จัดหารถกระบะและรถยนต์ส่วนบุคคลมาเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของบริษัทฯ โดยการเช่าซื้อ รถกระบะและรถยนต์นั่งส่วนบุคคลดังกล่าวถือเป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ ซึ่งบริษัทฯ ต้องนำมูลค่าทั้งหมดที่จ่ายไปเพื่อการได้มาซึ่งรถกระบะและรถยนต์นั่งส่วนบุคคลนั้นมาถือเป็นมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินทั้งสิ้น ไม่ว่าจะแยกเรียกบางส่วนเป็นดอกเบี้ยหรืออย่างอื่นก็ตามโดยในการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของรถกระบะและรถยนต์นั่งส่วนบุคคดังกล่าว บริษัทฯต้องนำราคารถกระบะและรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่พึ่งต้องชำระทั้งสิ้น (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราไม่เกินร้อยละของมูลค่าต้นทุนตามประเภทของทรัพย์สิน แต่จะต้องไม่เกินค่าเช่าซื้อในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยให้คำนวณหักตามระยะเวลาบัญชีนั้นโดยให้คำนวณหักตามระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีเป็นรายวันทั้งนี้ ตามมาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฏีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 สำหรับการบันทึกทางบัญชีบริษัทฯ ต้องถือปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

                 2. กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการให้บริการเช่ารถกระบะและรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถกระบะและรถยนต์นั่งส่วนบุคคลดังกล่าวจึงเป็นรถที่มีไว้เพื่อการให้บริการเช่ารถยนต์ของบริษัทฯ เองโดยตรงภาษีซื้อที่เกิดจากการเช่าซื้อรถกระบะและรถยนต์นั่งส่วนบุคคลนั้นจึงเป็นภาษีซื้อที่ไม่ต้องห้ามให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ได้รับจากบริษัทเงินทุนฯ มาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 เเห่งประมวลรัษฎากร

ที่มา : http://www.rd.go.th/