ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6878465
374740


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  2 ราย


ภาษีเงินได้กรณีจ่ายค่าตอบแทนแก่แพทย์และเจ้าพนักงานชันสูตรพลิกศพ


เลขที่หนังสือ : กค 0706/3079

วันที่ : 29 มีนาคม 2547

เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีจ่ายค่าตอบแทนแก่แพทย์และเจ้าพนักงานผู้ชันสูตรพลิกศพ

ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(1) และมาตรา 40(2)

ข้อหารือ : กระทรวงการคลังได้วางระเบียบกระทรวงฯว่าด้วยการจ่ายค่าตอบแทน หรือค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทางและค่าเช่าที่พักของแพทย์และเจ้าพนักงานผู้ได้ทำการชันสูตรพลิกศพ และระเบียบกระทรวงฯว่าด้วยการจ่ายค่าตอบแทนแก่นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ที่เข้าร่วมในการร้องทุกข์และการสอบสวนขึ้นใช้บังคับมีผลให้หน่วยงานต้องเบิกจ่ายตอบแทนให้แก่แพทย์และเจ้าพนักงาน และนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ที่เข้าร่วม ในการร้องทุกข์และการสอบสวน ซึ่งค่าตอบแทนตามระเบียบฯ ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการทำงานให้ ทั้งที่เป็นการประจำและเป็นการชั่วคราวค่าตอบแทนดังกล่าวจึงถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ไว้ทุกคราวที่จ่ายงินได้พึงประเมิน ซึ่งส่วนใหญ่มีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งคำนวณหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 42 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรไว้แล้ว จึงไม่สามารถนำเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากรมาคำนวณหักค่าใช้จ่ายได้อีก ดังนั้นต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร

แนววินิจฉัย

1.กรณีการจ่ายค่าตอบแทนหรือค่าป่วยการให้แก่แพทย์และเจ้าพนักงานที่ทำการชันสูตรพลิกศพหรือการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ที่เข้าร่วมในการร้องทุกข์ การสอบสวนการไต่สวนมูลฟ้อง ถ้าแพทย์ เจ้าพนักงาน นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์นั้นได้รับเงินเดือนประจำจากผู้จ่ายซึ่งเป็นนายจ้างอยู่แล้ว ค่าตอบแทนหรือค่าป่วยการดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถ้าผู้รับเงินได้ดังกล่าวมิได้รับเงินเดือนประจำจากผู้จ่าย หรือมิได้เป็นลูกจ้างผู้จ่าย แต่มาปฎิบัติงานเป็นครั้งคราวค่าตอบแทน ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากรเช่นเดียวกัน

2.กรณีการจ่ายค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทางให้แก่แพทย์หรือเจ้าพนักงานที่ทำการชันสูตรพลิกศพตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดไว้เข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่ได้ยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(2) แห่งประมวลรัษฎากร

ที่มา : เรื่องการไล่สายทางกฎหมายภาษีสรรพากร