ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6877227
374659


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  8 ราย


การอุทธรณ์ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร


                                                                        การอุทธรณ์ภาษีอากรตามประมวลกฎหมายรัษฎากร

1. การอุทธรณ์ภาษีอากรคืออะไร?

          การอุทธรณ์ภาษีอากร เป็นกระบวนการยุติธรรมอย่างหนึ่งที่ประมวลรัษฏากรกำหนดให้ผู้ถูกประเมินภาษีสามารถใช้สิทธิคัดค้านการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินที่ผู้ถูกประเมินภาษีเห็นว่าไม่ถูกต้องต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

 

2. การอุทธรณ์ภาษีอากรจะต้องทำอย่างไร?

         หากต้องการคัดค้านการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้ถูกประเมินจะต้องยื่นคำอุทธรณ์เป็นหนังสือโดยใช้เเบบอุทธรณ์ตามที่อธิบดีกำหนด ซึ่งสามารถยื่นคำอุทธรณ์เป็นรายฉบับตามหนังสือเเจ้งการประเมิน หรือรวมยื่นคำอุทธรณ์ฉบับเดียวสำหรับหนังสือเเจ้งการประเมินหลายฉบับก็ได้ โดยระบุให้ชัดเเจ้งว่าอุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษีประเภทใด เดือน/ปีภาษีใด ตามหนังสือเเจ้งการประเมินฉบับใดและเป็นจำนวนเงินภาษีเท่าใด  และสิ่งสำคัญที่ต้องระบุคือไม่เห็นด้วยกับการประเมินในประเด็นใด พร้อมทั้งให้เหตุผลในทุกประเด็นและแสดงเอกสารหลักฐานประกอบเหตุผลนั้นด้วย

 

3. แบบอุทธรณ์ที่อธิบดีกำหนด ได้เเก่เเบบใดบ้าง?

        - เเบบอุทธรณ์ (ภ.ส.6) ใช้ได้กับการอุทธรณ์ทุกกรณี

        - แบบอุทธรณ์และคัดค้านการประเมินภาษีอากร (กศก.171)  ใช้เฉพาะการอุทธรณ์เพื่อคัดค้านการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินกรมศุลกากร โดยผู้ถูกประเมินภาษีจะยื่นคำอุทธรณ์ที่กรมสรรพากรหรือกรมศุลกากรก็ได้

           แบบคำอุทธรณ์ทั้ง 2 แบบ ผู้ถูกประเมินภาษีสามารถพิมพ์ได้จากระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th หรือจะขอรับได้ที่หน่วยงานสรรพากรทั่วราชอาณาจักร หรือเเบบคำอุทธณ์และคัดค้านการประเมินภาษีอากร (กศก.171) จะขอรับได้จากกรมศุลการกรทั่วราชอาณาจักรได้ด้วย

 

4. ผู้ถูกประเมินภาษีจะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อใคร?

            ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้เเทน ผู้เเทนสำนักงานอัยการสูงสุด และผู้เเทนกรมการปกครอง

             สำหรับในต่างจังหวัด ต้องยื่นอุทธรณ์่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้เเทน สรรพากรภาคหรือผู้เเทน และอัยการจังหวัดหรือผู้เเทน

 

5. ยื่นอุทธรณ์ได้ที่ไหน?

         (1) ในเขตกรุงเทพมหานคร

                 (1.1) กรณีเจ้าพนักงานประเมินสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 1,2,3,4,5,6,7,8 และ 9 เป็นผู้ประเมินภาษี ให้ยื่นคำอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่นั้น ๆ  หรือ สำนักสรรพากรภาค 

                (1.2) กรณีเจ้าพนักงานประเมินสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 10,11,12,13,14,15,16,17,18,19,20 และ 21 เป็นผู้ประเมินภาษี ให้ยื่นอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่นั้น ๆ  หรือสำนักงานสรรพกรภาค 2

                (1.3) กรณีเจ้าพนักงานประเมินสำหรับสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 22,23,24,25,26,27,28,29 และ 30 เป็นผู้ประเมินภาษีให้ยื่นอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่นั้น ๆ หรือสำนักงานสรรพากรภาค 3

                (1.4) กรณีเจ้าพนักงานประเมินสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่เป็นผู้ประเมินภาษีหรือเจ้าพนักงานประเมินสังกัดกรมศุลกากรที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครเป็นผู้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้เสียภาษีอากรที่เป็นผู้่ประกอบธุรกิจซึ่งกรมสรรพากรกำหนดให้อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่นอุทธรณ์ ณ ส่วนอุทธรณ์ภาษี สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่

               (1.5)  กรณีเจ้าพนักงานประเมินสำนักตรวจสอบภาษีกลาง หรือคณะทำงานหรือหน่วยงานอื่นที่อธิบดีเเต่งตั้งเป็นผู้ประเมินภาษี หรือเจ้าพนักงานประเมินสังกัดกรมศุลกากรที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครเป็นผู้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้เสียภาษีอากรที่มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งกรมสรรพากรกำหนดให้อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่นอุทธรณ์  ดังนี้

               (1.5.1) ผู้ถูกประเมินภาษีที่มีภูมิสำเนาหรือสำนักงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 1,2,3,4,5,6,7,8,9 และสำนักงานสรรพากรภาค 4 5 ให้ยื่นคำอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรภาค 1

               (1.5.2) ผู้ถูกประเมินภาษีที่มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 10,11,12,13,14,15,16,17,18,19,20,21 และสำนักงานสรรพากรภาค 7,8,9,10 ให้ยื่นคำอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรภาค 2

               (1.5.3) ผู้ถูกประเมินภาษีที่มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร22,23,24,25,26,27,28,29,30 และสำนักงานสรรพากรภาค 6,11,12 ให้ยื่นคำอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรภาค 3

              (2) กรณีคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินสำนักงานสรรพากรพื้นที่อื่น ๆ นอกจากกรุงเทพมหานคร  ให้ยื่นคำอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากร ภาค 4,5,6,7,8,9,10,11 หรือ 12 ซึ่งกำกับดูเเลสำนักงานสรรพากรพื้นที่นั้น ตามแผนภูมิโครงสร้างหน่วยงานกรมสรรพากร

            (3) กรณีคัดค้านการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินสังกัดกรมศุลกากรที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำอุทธรณ์ ณ สำนักภาคงานสรรพากรภาคที่รับผิดชอบท้องที่นั้น

            (4) กรณีคัดค้านการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินสังกัดกรมศุลกากร ผู้ถูกประเมินภาษีจะยื่นคำอุทธรณ์ ณ สถานที่ตาม (1) หรือ (3) โดยใช้เเบบ ภ.ส.6 หรือเเบบ กศก.171 ก็ได้ หรือจะใช้แบบ กศก.171 ยื่นได้ที่กรมศุลกากร ด่านศุลกากรหรือสำนักงานศุลกากรภาคก็ได้

 

6. การยื่นอุทธรณ์มีกำหนดเวลาหรือไม่ อย่างไร?

             ผู้จะใช้สิทธิอุทธรณ์จะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับเเต่วันที่ได้รับหนังสือเเจ้งการประเมินภาษีจากเจ้าพนักงานประเมิน เช่น

             - ได้รับหนังสือเเจ้งการประเมิน วันที่ 2 ตุลาคม 2545 จะต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2545 หรือ

             -  ได้รับหนังสือเเจ้งการประเมินวันที่ 4 ตุลาคม 2545 จะต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2545 เเต่เนื่องจากวันที่ 2-3พฤศจิกายน 2545 เป็นวันเสาร์ - อาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ จึงยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ได้เป็นต้น