ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6878522
374748


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  5 ราย


จำนองระงับเมื่อใด


จำนองระงับเมื่อใด
   

  จำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 702 คือการที่บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้จำนอง" เอาอสังหาริมทรัพย์ของตน เช่น ที่ดิน หรือทรัพย์ที่กฎหมายอนุญาตให้จำนองได้ไปตรา (จดทะเบียน) ไว้กับบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้รับจำนอง" เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ทั้งนี้โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบที่ดิน หรือทรัพย์สินดังกล่าวนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง

                                                                            

     สัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ ดังนี้จึงจำเป็นต้องมีหนี้ประธานเกิดขึ้นก่อนจึงจะมีจำนองได้ เว้นแต่จะเป็นการจำนองเป็นประกันหนี้ในอนาคตตาม ป.พ.พ. มาตรา 707 ประกอบมาตรา 681 การสิ้นสุดของสัญญาจำนองและจะทำให้จำนองหลุดพ้น

 

    เมื่อหนี้ประธานระงับ ด้วยการชำะรหนี้ ปลดหนี้ หักกลบลบหนี้ แปลงหนี้ใหม่ หนี้เกลี่อนกลืนกัน แต่การที่หนี้ประธานขาดอายุความนั้นจำนองไม่ระงับ เพราะการที่หนี้ประธานขาดอายุความน้ั้นใช้เหตุทีทำให้หนี้ประธานระงับ แต่มีผลเพียงผู้รับจำนองจะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่า 5 ปีไม่ได้และผู้รับจำนองก็ไม่มีสิทธิจะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ แม้สัญญาจำนองมีข้อตกลงว่าหากโจทก์บังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ยอมให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นจนกว่าจะครบถ้วนก็ตาม(ฏีกา 667/2549)

 

      เมื่อผู้รับจำนองปลดจำนองให้แก่ผู้จำนอง จะต้องทำเป็นหนังสือเท่านั้น การปลดจำนองทำให้ สัญญาจำนองจะสิ้นสุดลง

 

      เมื่อผู้จำนองหลุดพ้น การหลุดพ้นในที่นี้หมายถึง การหลุดจากภาระจำนองในกรณีใดก็ได้ กฎหมายไม่ได้จำกัดความเอาไว้ จึงเป็นลักษณะการหลุดพ้นที่กว้าง รวมทั้งการที่หนี้ประธานระงับ และการปลดจำนองด้วย เช่นอาจจะมีผู้หนึ่งผู้ใดมาชำระหนี้ประธานแทนลูกหนี้ ก็ทำให้จำนองหลุดพ้นเหมือนกัน

 

     เมื่อถอนจำนอง การไถ่ถอนจำนอง คือการเสนอจำนวนเงินเพื่อชำระหนี้ตามมูลจำนองทรัพย์สินที่จำนอง และเจ้าหนี้ยอมรับเอาเงินนั้นไว้แทนทรัพย์ซึ่งจำนอง

 

     เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์สิน ซึ่งจำนองไว้ตามคำสั่งศาล อันเนื่องมาจาก การบังคับเอาจากทรัพย์สินซึ่งจำนอง หรือถอนจำนอง การบังคับจำนอง โดยวิธียึดทรัพย์สินที่จำนอง ออกขายทอดตลาด เมื่อหนี้ประธานถึงกำหนดชำระ ผู้รับจำนองจะต้องมีหนังสือบอกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อน เพื่อให้ลูกหนี้มาชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนด เมื่อลูกหนี้ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วไม่ชำระภายในเวลาที่กำหนด ผู้รับจำนองจึงจะฟ้องคดีต่อศาล เพื่อบังคับจำนอง ขอให้ศาลยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาดได้

 

      เมื่อเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองหลุด เป็นการบังคับจำนองโดยวิธีเอาทรัพย์ซึ่งจำนองเป็นประกันหนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับจำนองโดยไม่มีการขายทอดตลาด วิธีการบังคับเอาทรัพย์จำนองหลุด คือ เมื่อหนี้ประธานถึงกำหนดชำระผู้รับจำนองต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ให้ลูกหนี้ชำระหนี้ภายในกำหนด และเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้รับจำนองก็ต้องฟ้องคดีต่อศาลขอเอาทรัพย์ที่จำนองเป็นกรรมสิทธิ์ของตน แต่ผู้รับจำนองจะต้องพิสูจน์ตาม มาตรา 729 ว่า
6.1 ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึง 5 ปี
6.2 ผู้รับจำนอง ได้แสดงให้เป็นที่ชัดแจ้งแก่ศาลว่า ราคาทรัพย์สินที่จำนองนั้น มีราคาน้อยกว่าหนี้เงินอันค้างชำระ
6.3 ทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้น ต้องไม่มีบุริมสิทธิอื่นอีกหรือไม่มีการจำนองลำดับอื่นอีก ซึ่งได้จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์สินอันเดี่ยวกันนี้เอง