ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6811479
374210


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  2 ราย


ผลการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง 

 

 

 

ผลการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง

ฉบับที่ 16/ปีงบประมาณ 2554

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการกับผู้กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2535 ในลักษณะความผิดต่างๆ กันนั้น ปรากฎผลคดีดังนี้

ความผิดฐานขายเครื่องสำอางที่มีการควบคุมฉลากโดยมีฉลากแต่การแสดงฉลากนั้นไม่ถูกต้อง

-สถานประกอบการตั้งอยู่ที่ถนนสีหบุรานุกิจ เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2553 เจ้าหน้าที่ตรวจสถานประกอบการพบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจำนวน 5 รายการ แสดงฉลากไม่ถูกต้องครบถ้วน ได้แก่ "เครื่องสำอางซันปุโซะ ทรีทเม้นท์" และ "คอนดิชันเนอร์ ซันปุโซะ" ไม่แจ้งชื่อผู้ผลิตประเทศที่ผลิต วันที่ผลิต ครั้งที่ผลิต ชื่อผู้นำเข้า (ในฉลากระบุเป็นภาษาอังกฤษ) และที่ตั้งของผู้นำเข้าเป็นภาษาไทย , "ครีมย้อมผม เบอร์ 6/23"  "ครีมย้อมผม เบอร์ 11/1 " และ "ครีมย้อมผม เบอร์ 10/0" ไม่มีฉลากภาษาไทย

ความผิดฐานขายเครื่องสำอางที่มีการควบคุมฉลาก โดยมีฉลากแต่การแสดงฉลากนั้นไม่ถูกต้องและขายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้

-สถานประกอบการที่อยู่ในชั้น 2 ห้างเดอะมอลล์ท่าพระ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสถานประกอบการพบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จำนวน 9 รายการ แสดงฉลากไม่ถูกต้องครบถ้วน ได้แก่ "Whitening Cream", "Lighten Cream" ,"BC Collagen" , " AHA กรดผลไม้ " , " BC Balance " , "BC Milk Serum" , " ครีมขมิ้น + ไฟลสด" และ "สมุนไพรทาปากชมพู" ไม่ระบุชื่อผู้ผลิต และ วันเดือนปีที่ผลิตและจากการส่งตรวจวิเคราะห์ ปรากฎว่าพบสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง จำนวน 4 รายการ ได้ ครีมขมิ้น+ไฟลสด  พบสารประกอบของปรอท, "ครีม AHA  กรดผลไม้" พบสารไฮโดรควิโนน, "Lighten Cream " และ "Lighten Extra Cream"  พบกรดเรทิโนอิก จึงถือว่าเป็นการขายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้

 

 

 

 ***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์   02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816   หรือ                          ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com  ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice    ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

 

ความผิดฐานนำเข้าเพื่อขายเครื่องสำอางปลอม

-สถานประกอบการตั้งอยู่ที่ถนนนวมินทร์ 54 เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบการนำเข้าพร้อมเก็บตัวอย่างเครื่องสำอาง "Fantasy Look Hair Colour Cream 7.01  Ash Natrural Blond" เลขทะเบียน น.160/2548 ไม่ระบุรุ่นการผลิต  วันหมดอายุ 05/2014 ตามใบขนสินค้าขาเข้าเลขที่ A023-05211-02253 นำเข้าจากประเทศอิตาลี ส่งตรวจวิเคราะห์ ปรากฎผลวิเคราะห์ พบ P-phennylene diamine 0.258%  w/w สูงกว่าที่ขึ้นทะเบียนไว้ 72% w/w (ขึ้นทะเบียนไว้ 0.15% w/w) และresorcinol 0.121% ต่ำกว่าที่ขึ้นทะเบียนไว้ 80.79 % w/w (ขึ้นทะเบียนไว้ 0.63% w/w)  เป็นเครื่องสำอางที่มีสาระสำคัญมากหรือเกินกว่าร้อยละยี่สิบ ตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ จึงถือว่าเป็นเครื่องสำอางปลอม

กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เดือนพฤศจิกายน 2553 กรณีที่ท่านมีปัญหาด้านการขอขึ้นทะเบียนอาหารและยาหมวดเครื่องสำอางประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนอาหารและยาและไม่ทราบวิธีการยื่นหรือยื่นแล้วแต่ไม่ได้รับอนุญาตหรือติดขัดปัญหาอื่นใด บริษัทเอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด พร้อมจะบริการแก้ปัญหาให้ท่าน ด้วยคุณภาพอย่างมืออาชีพ ติดต่อ 02-630-0460 ,02-236-5722 แฟกส์ 02-2918717 อีเมล์ smelawservice@hotmail.com หรือเรื่องด่วนสามารถติดต่อได้ทางมือถือ                083-4925816

                                                                ลิงค์ :hp://www.fda.moph.go.th