ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6878765
374780


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  7 ราย


ทนายความคดีความผิดฐานฉ้อโกง 

สาระสำคัญของความผิดฐานฉ้อโกง

1. ความผิดฐานชิงทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 3 ความผิดฐานฉ้อโกง

2. ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 341

3. ถ้าในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงผู้กระทำ

            (1) แสดงตนเป็นคนอื่น หรือ

            (2) อาศัยความเบาปัญญาของผู้ถูกหลอกลวงซึ่งเป็นเด็ก หรืออาศัยความอ่อนแอแห่งจิตของผู้ถูกหลอก

            ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 342

4. ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 341 ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน (ที่เรียกทั่วไปว่า “ฉ้อโกงประชาชน”) หรือด้วยการปกปิดความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 453 วรรคหนึ่ง

            ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวในมาตรา 342 อนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดด้วยผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาทถึง 14,000 บาท ตามมาตรา 343 วรรคสาม

5. ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงบุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปให้ประกอบการงานอย่างใดๆ ให้แก่ตนหรือให้แก่บุคคลที่สาม โดยจะไม่ใช่ค่าแรงงานหรือค่าจ้างแก่บุคคลเหล่านั้น หรือโดยจะใช้ค่าแรงงานหรือค่าจ้างแก่บุคคลเหล่านั้นต่ำกว่าที่ตกลงกันต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 344

6. ผู้ใดสั่งซื้อและบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มหรือเข้าอยู่ในโรงแรม โดยรู้ว่าตนไม่สามารถชำระเงินค่าอาหารค่าเครื่องดื่ม หรือค่าอยู่ในโรงแรมนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 345

7. ผู้ใดเพื่อเอาทรัพย์สินของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม ชักจูงผู้หนึ่งผู้ใดให้จำหน่ายโดยเสียเปรียบซึ่งทรัพย์สิน โดยอาศัยเหตุที่ผู้ถูกชักจูงมีจิตอ่อนแอ หรือเป็นเด็กเบาปัญญา และไม่สามารถเข้าใจตามควรซึ่งสาระสำคัญแห่งการกระทำของตน จนผู้ถูกชักจูงจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 346

8. ผู้ใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์จากการประกันวินาศภัย แกล้งทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินอันเป็นวัตถุที่เอาประกันภัย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 347

9. ความผิดในหมวด 3 ว่าด้วยเรื่องความผิดฐานฉ้อโกงนี้ นอกจากความผิดตามมาตรา 343 (ฐานฉ้อโกงประชาชน) เป็นความผิดอันยอมความได้

            ดังนั้น โดยหลักความผิดในฐานฉ้อโกงส่วนใหญ่จะเป็นความผิดต่อส่วนตัว ซึ่งสามารถตกลงยอมความกันระหว่างผู้เสียหาย และผู้กระทำความผิดได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง เมื่อมีการยอมความกันแล้วจะมีผลให้สิทธิที่จะนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามมาตรา 39 (2)  ยกเว้นแต่ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่อาจตกลงยอมกันเองระหว่างคู่กรณีไม่ได้ แม้จะมีการตกลงกันคดีอาญาก็ไม่ระงับตามไปด้วย


 

 **** หากท่านต้องการหาทนายความ ปรึกษาทนายความ ต้องการทนายความคดีฉ้อโกงทรัพย์  บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด เป็นบริษัททนายความที่ยินดีให้บริการปรึกษากฎหมาย มีทนายความมืออาชีพพร้อมบริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ มีปัญหาเรื่องคดีฉ้อโกงทรัพย์โทรหาเราได้ที่เบอร์ 02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816                   ทาง e-mail : smelawservice@hotmail.com               ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice       ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

หน้าที่ของทนายความคดีความผิดฐานฉ้อโกงทรัพย์

1. เตรียมคดีโดยการค้นหาข้อเท็จจริงจากบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้รอบด้านมากที่สุด

2. พบและให้คำปรึกษาลูกความเป็นการส่วนตัวในกรณีลูกความเป็นฝ่ายผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา ตามสิทธิในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1(1) และในชั้นศาล ไม่ว่าลูกความจะเป็นฝ่ายโจทก์ผู้เสียหายหรือจำเลย อย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อการตัดสินใจของลูกความได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. อยู่ร่วมในการสอบสวนกับลูกความกรณีเป็นฝ่ายผู้ต้องหา ตามสิทธิใน มาตรา 7/1(2) ประกอบมาตรา134/1 และมาตรา 134/3

4. ดำเนินการช่วยเหลือลูกความให้ได้รับการประกันตัวกรณีลูกความถูกจับอยู่ไม่ว่าจะในชั้นพนักงานสอบสวน หรือชั้นฝากขังต่อศาลทั้งกรณีการถูกคุมขังโดยชอบด้วยกฎหมายหรือโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา90 หรือมาตรา 106

5. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมให้แก่ลูกความเพื่อรักษาสิทธิต่างๆ กรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ตามมาตรา 30

6. กรณีเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ต้องดำเนินการขอให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอเรียกทรัพย์สินหรือใช้ราคาแทนทรัพย์สินของลูกความที่เสียหายไปจากการกระทำความผิดในฐานความผิดที่ระบุไว้ ตามมาตรา 43 หรือยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนให้แก่ลูกความ ตามมาตรา 44/1

7. ค้นหาพยานหลักฐานทั้งหลายที่เกี่ยวข้องเพื่อจะนำมาพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของจำเลย

8. ตรวจค้นข้อกฎหมาย และคำพิพากษาของศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตรวจสอบอายุความหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีของลูกความ

9. ติดตามผลคดีของลูกความอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาประโยชน์แก่ลูกความเป็นสำคัญ

10. ดำเนินการให้ลูกความที่เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดไว้เป็นของกลางให้ได้รับคืนของกลางกรณีเจ้าของไม่ได้รู้เห็นเป็นใจให้ทรัพย์นั้นได้ใช้ในการกระทำความผิดด้วย ตามมาตรา 49  ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 วรรคสองหรือมาตรา 34 วรรคสอง