ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6826350
374389


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  57 ราย


เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี (ต่อหน้าที่ 2) 

                 71. เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยโดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามจำนวน ที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน100,000 บาท ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้เฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ซึ่งจ่ายให้แก่ 
                (1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
                (2) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

                (3) นิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจ เพื่อแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจ ดังกล่าว เข้ารับช่วงสิทธิเป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนกองทุนรวมตาม (1) หรือ (2) ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์หรือนายจ้าง 
                72. เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้างสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อเช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยโดยจำนองอาคาร ที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ซึ่งรวมถึงอาคารพร้อมที่ดินด้วย เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท และเฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด 
                อาคารตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงอาคารพร้อมที่ดินด้วย 
                73. เงินได้เท่าที่ผู้อำนวยการ ผู้บริหาร ครูหรือบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเอกชนจ่ายเป็นเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
                74. เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็น ค่าซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ ตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ให้ยกเว้น เท่าที่ได้จ่ายเป็น ค่าซื้อหน่วยลงทุน ในอัตราไม่เกิน ร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น โดยผู้มีเงินได้ ต้องถือหน่วยลงทุน ดังกล่าว มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่ วันซื้อหน่วยลงทุน ครั้งแรก และไถ่ถอนหน่วยลงทุนนั้น เมื่อผู้มีเงินได้ มีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่อธิบดีกำหนด

                ในกรณี ที่ผู้มีเงินได้ จ่ายเงินสะสม เข้ากองทุน สำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมาย ว่าด้วยกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงิน สะสมเข้ากองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามกฎหมาย ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุน สงเคราะห์ ตามกฎหมายว่าด้วย โรงเรียนเอกชนด้วย เงินได้ที่ได้รับยกเว้น ตามวรรคหนึ่ง เมื่อรวมกับเงินสะสม ที่จ่ายเข้า กองทุน สำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

                ในกรณี ที่ผู้มีเงินได้ ถือหน่วยลงทุน ไม่ครบ 5 ปี นับตั้งแต่ วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก หรือ ไถ่ถอนหน่วยลงทุนก่อน ที่ผู้มีเงินได้มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ให้ผู้มีเงินได้นั้น หมดสิทธิได้รับยกเว้น ตามวรรคหนึ่ง และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ ที่ได้รับยกเว้นภาษี ตามวรรคหนึ่งมาแล้วด้วย (ดูประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 171))

                ในปีภาษี 2551 หากผู้มีเงินได้ มีการซื้อหน่วยลงทุน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้เงินได้ ตามวรรคหนึ่ง เท่ากับส่วนที่ไม่เกิน 700,000 บาท แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน และในกรณี ที่ผู้มีเงินได้ดังกล่าว ได้จ่ายเงินสะสม ตามวรรคสองด้วย เมื่อรวมเงินได้ กับเงินสะสมแล้ว ต้องไม่เกิน 700,000 บาท ทั้งนี้ เงินได้ที่ได้รับ ยกเว้นดังกล่าว ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่อธิบดีกำหนด และให้นำความ ในวรรคสามมาใช้บังคับด้วย (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 173))

                75. เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ได้รับจาก กองทุนรวม ดังกล่าว เพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ที่อธิบดีกำหนด (ดูประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 91)) 
                76. เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ครูใหญ่ หรือครูโรงเรียนเอกชน ได้รับจากกองทุนสงเคราะห์ ตามกฎหมายว่าด้วย โรงเรียนเอกชน เมื่อครูใหญ่ หรือครูโรงเรียนเอกชน ออกจากงาน เพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ที่อธิบดีกำหนด 
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 99)) 
                77. ยกเว้นเงินปันผลที่ได้จากการถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุน และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้มาตรา 5 อัฏฐารส แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 396) พ.ศ. 2545
                78. ยกเว้นผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุน และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตร 5 อัฏฐารส แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 396) พ.ศ. 2545
                79. ยกเว้นเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่กองทุนบำเหน็บบำนาญข้าราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำหรับการกู้ยืมเงิน เพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท และเฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
                อาคารตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงอาคารพร้อมที่ดินด้วย 
                80. ยกเว้นดอกเบี้ยและรางวัลสลากออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แต่ไม่รวมถึงดอกเบี้ย ซึ่งผู้รับมิใช่ผู้ทรงคนแรก ทั้งนี้สำหรับสลากออกทรัพย์ที่ออกจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2545 เป็นต้นไป
                81. ยกเว้นเงินได้ เท่าที่ผู้มีเงินได้ จ่ายเป็น เบี้ยประกันชีวิต ในปีภาษี สำหรับการประกันชีวิต ของผู้มีเงินได้ ตามจำนวน ที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท โดยกรมธรรม์ประกันชีวิต ต้องมีกำหนดเวลา ตั้งแต่ 10 ขึ้นไป และการประกันชีวิตนั้น ได้เอาประกันไว้ กับผู้รับประกันภัยที่ ประกอบกิจการประกันชีวิต ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ สำหรับเบี้ยประกัน ที่ได้จ่าย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป และให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่อธิบดีกำหนด 
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172))

                - เงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นค่าเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทประกันวินาศภัย ที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท สำหรับการประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามี หรือภริยาของผู้มีเงินได้ ซึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ทั้งนี้ ต้องเป็นเบี้ยประกันภัยที่ได้จ่ายในปี พ.ศ.2549 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่อธิบดีกำหนด

                - เงินได้เท่าที่นายจ้างจ่ายเป็นค่าเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทประกันวินาศภัย ที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกิน 1 ปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับ

                  (ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะการรักษาพยาบาลในประเทศไทย

                  (ข) ลูกจ้าง ในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว

                ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2549 เป็นต้นไป

                81.1 เงินได้เท่าที่ได้จ่ายจริงเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญที่ได้รับยกเว้นภาษี

หลักเกณฑ์

1. เป็นการจ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญที่มีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

2. เป็นการประกันชีวิตที่ได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร

3. มีการกำหนดการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจำนวนผลประโยชน์เงินบำนาญดังกล่าวจะจ่ายเท่ากันทุกงวดหรือจ่ายในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเอาประกันก็ได้ โดยการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญจะจ่ายตามการทรงชีัพที่อาจมีการรับรองจำนวนงวดในการจ่ายที่แน่นอน

4. มีการกำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเมื่อผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ถึง 85 ปีหรือกว่านั้น และผู้มีเงินได้ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยครบถ้วนแล้วก่อนได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญ

 

 

 

 ***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์  02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816   หรือ                          ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com  ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice    ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

 

การยกเว้นเงินได้
  1. ให้ยกเว้นเงินได้ที่จ่ายไปเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ หรือการประกันชีวิตแบบบำนาญและแบบอื่น แล้วแต่กรณี ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 90,000 บาท และ
  2. ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผู้มีเงินได้เพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และ
  3. กรณีที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือจ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามข้อ 2 แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท  

ทั้งนี้สำหรับเบี้ยประกันที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 194) )

                82. ค่าซื้ออาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
                1. เงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ต้องเป็นจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 300,000 บาท โดยต้องจ่ายไปในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และต้องมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น ให้แล้วเสร็จภายในช่วงเวลาดังกล่าว 
 2. ผู้มีเงินได้ต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องไม่เคยผ่านการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันมาก่อน ไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่อธิบดีกำหนด 
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 178)) 
                83. เงินได้จากการขายข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย เฉพาะกรณีที่ไม่มีการส่งมอบสินค้าเกษตร 
                84. เงินบำเหน็จดำรงชีพที่ผู้ได้รับบำนาญขอใช้สิทธิรับบำเหน็จดำรงชีพในระหว่างวันที่ยังมีชีวิต ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2546
                85. เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับ เนื่องจาก การขายหน่วยลงทุน คืนให้แก่กองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ ตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ เฉพาะกรณี ที่ผู้มีเงินได้ ถือหน่วยลงทุน ดังกล่าวมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่ วันซื้อหน่วยลงทุน ครั้งแรก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ดังนี้
                1. ผู้มีเงินได้ ต้องซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง และต้องไม่ระงับ การซื้อหน่วยลงทุน เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน และการซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ ตามวรรคหนึ่ง ต้องมีจำนวนรวมกัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้ ที่ได้รับในแต่ละปี หรือมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี
                2. ผู้มีเงินได้ จะต้องถือหน่วยลงทุน ในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก 
                การนับระยะเวลา การถือหน่วยลงทุน ในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ ตามวรรคหนึ่งให้นับเฉพาะปีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ซื้อหน่วยลงทุนเฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 1.
ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับ ในกรณีผู้มีเงินได้ ไถ่ถอนหน่วยลงทุน ในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ เพราะเหตุทุพพลภาพหรือตาย
                3. ผู้มีเงินได้ ต้องไม่ได้รับเงินปันผล หรือเงินอื่นใด จากกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ ในระหว่างการลงทุน และต้องได้รับคืน เงินลงทุน และผลประโยชน์ จากกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ เมื่อมีการไถ่ถอน หน่วยลงทุนเท่านั้น
                4. ผู้มีเงินได้ ต้องไม่กู้ยืมเงิน หรือเบิกเงินจากกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพที่ผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนไว้
                กรณีผู้มีเงินได้ ได้ซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ เกินกว่าหนึ่งกองทุน เงินได้ที่จ่ายเป็น ค่าซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ ในแต่ละกองทุน ที่จะได้รับยกเว้น ไม่ต้องรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตาม (1)-(4) 
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 170))

                กรณีการขายหน่วยลงทุน ตามวรรคหนึ่ง หากเป็นการขายหน่วยลงทุน ที่ผู้มีเงินได้ ได้ซื้อหน่วยลงทุน ดังกล่าว ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 หรือได้ซื้อหน่วยลงทุนระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551 และได้มีการซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มเติมระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงิน หรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับ เนื่องจาก การขายหน่วยลงทุน ที่ซื้อมาในปีภาษี 2551 ที่คำนวณมาจาก เงินได้พึงประเมิน ที่ซื้อหน่วยลงทุน ดังกล่าว ได้ในอัตรา ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 700,000 บาท ในปีภาษี 2551 (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 174))

                86. เงินได้เท่าที่จ่ายเป็น ค่าซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ได้มีการจดทะเบียน กองทรัพย์สิน เป็นกองทุนรวม ภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น และเงินได้ดังกล่าว ต้องเป็นเงินได้ ของผู้มีเงินได้ ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดก ที่ยังไม่ได้แบ่ง ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ พึงประเมิน ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป

                เงินได้ที่ได้รับยกเว้น ตามวรรคหนึ่ง และการถือหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมหุ้น ระยะยาว ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

                ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดใน วรรคสอง ให้ผู้มีเงินได้นั้น หมดสิทธิได้รับยกเว้น ตามวรรคหนึ่ง และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ ที่ได้รับยกเว้นภาษี ตามวรรคหนึ่งมาแล้วด้วย (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 169))

                ในปีภาษี 2551 หากผู้มีเงินได้ มีการซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2551 ให้เงินได้ตามวรรคหนึ่ง เท่ากับส่วนที่ไม่เกิน 700,000 บาท แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ เงินได้ที่ได้รับยกเว้น และการถือหน่วยลงทุน ดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด และให้นำความในวรรคสามมาใช้บังคับด้วย (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 175))

                87. เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ กองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มี เงินได้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน แต่ไม่รวมถึงกรณีทุพพลภาพหรือตาย และเงินหรือผลประโยชน์ดังกล่าวคำนวณมาจากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้
                88. ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรเฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป แต่เมื่อรวมกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันแล้วต้องมีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 30,000 บาทตลอดปีภาษีนั้น และผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2548 เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
                89. เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดลพบุรี และจังหวัดสระบุรี
                90. เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ในโครงการเขื่อนคลองท่าด่าน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก
  91. เงินได้ดังต่อไปนี้เป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ สำหรับปีภาษี 2547 และปีภาษี 2548 
                (1)  เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการของรัฐบาล ตามพระราชกฤษฎีกาเงิน ช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการของรัฐบาล พ.ศ. 2547
                (2)  เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการของรัฐบาลในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการของรัฐบาลในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ พ.ศ. 2548
                (3)  เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เมื่อออกจากราชการตาม (1) หรือ (2)
                92.ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่บุคคลในคณะทูต คณะกงสุล และบุคคลที่ถือว่า อยู่ในคณะทูตตามความตกลง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ

 

กลับไปยัง หน้า 1/3                       &n