ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6878393
374730


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  5 ราย


ทนายความคดีค้ำประกัน 

สาระสำคัญของสัญญาค้ำประกัน

1. เป็นสัญญาที่มีบทบัญญัติของกฎหมายรองรับไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 11

2. เป็นสัญญาอุปกรณ์ ซึ่งจะต้องมีสัญญาประธานหรือมูลหนี้หลักอยู่ก่อน เช่น สัญญาค้ำประกันในหนี้เงินกู้ , สัญญาค้ำประกันการชำระค่าสินค้า สัญญาค้ำประกันค่าเสียหายจากการกระทำละเมิด หรือสัญญาค้ำประกันการก่อสร้างของผู้รับจ้าง เป็นต้น

3. เป็นนิติกรรมสองฝ่าย โดยเจ้าหนี้แสดงเจตนารับให้ค้ำประกัน ส่วนผู้ค้ำประกันแสดงเจตนาขอเข้าค้ำประกันการชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง

4. เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน เพราะฝ่ายเจ้าหนี้ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องชำระหนี้หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตอบแทนผู้ค้ำประกัน ส่วนผู้ค้ำประกันจะมีหน้าที่ชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้ต่อเมื่อ ลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดไม่ชำระหนี้ก่อน 

5. สัญญาค้ำประกันต้องมีการทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันไว้เป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้ ตามมาตรา 680 วรรคสอง ซึ่งส่วนใหญ่ในการทำสัญญาหลักหรือสัญญาประธานมักจะใส่ข้อผูกพันเรื่องการค้ำประกันเข้าไปพร้อมกันด้วยอยู่แล้ว และให้ลูกหนี้ชั้นต้น กับผู้ค้ำประกันลงลายมือชื่อไว้ในสัญญานั้นด้วย เช่น สัญญากู้ยืมเงินและค้ำประกันการกู้ยืมเงินในฉบับเดียวกัน เป็นต้น

6. เมื่อลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ ตามมาตรา 686 แต่ผู้ค้ำประกันอาจใช้สิทธิเกี่ยงให้เจ้าหนี้ไปเรียกให้ลูกหนี้ชั้นต้นชำระหนี้ก่อนได้ ตามมาตรา 688 - 690 เช่น กรณีเจ้าหนี้มีทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ในฐานะทรัพย์ที่จำนองหรือจำนำไว้ผู้ค้ำประกันก็ขอให้เจ้าหนี้บังคับกับทรัพย์สินดังกล่าวก่อนก็ได้ เป็นต้น เว้นแต่ ผู้ค้ำประกันจะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ชั้นต้นในฐานะอย่างลูกหนี้ร่วม มาตรา 691

7. เมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนลูกหนี้ชั้นต้นไปแล้ว สามารถจะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ได้ และมีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้บรรดามีเหนือลูกหนี้ได้ด้วย เป็นต้น ลูกหนี้ชั้นต้นได้จำนำทรัพย์ของตนเป็นประกันแก่เจ้าหนี้ไว้ ต่อมาผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนไป ผู้ค้ำประกันก็จะได้สิทธิเหนือทรัพย์ที่จำนำนั้นต่อจากเจ้าหนี้ หากต่อมาภายหน้าไม่อาจไล่เบี้ยลูกหนี้ชั้นต้นได้ ผู้ค้ำประกันก็บังคับเอากับทรัพย์ที่จำนำนั้นได้ทันที เป็นต้น

8. กรณีเจ้าหนี้มีสิทธิอื่นๆ เหนือลูกหนี้ชั้นต้นด้วย เช่น เป็นเป็นผู้รับจำนอง , ผู้รับจำนำ หรือเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิอื่นที่ลูกหนี้ชั้นต้นได้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้แต่ก่อนหรือขณะทำสัญญาค้ำประกันเพื่อการชำระหนี้ประธานนั้น ถ้าเจ้าหนี้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันไม่อาจเข้ารับช่วงสิทธิต่างๆ ดังกล่าว ได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ที่จะต้องชำระแทนลูกหนี้ชั้นต้นเพียงเท่าที่ตนจะต้องเสียหายที่ไม่อาจเข้ารับช่วงสิทธินั้น เพราะการกระทำของเจ้าหนี้ เช่น กรณีเจ้าหนี้ได้รับจำนำทรัพย์สินของลูกหนี้ชั้นต้นไว้ และมีการทำสัญญาค้ำประกัน ต่อมาเจ้าหนี้คืนทรัพย์สินที่จำนำคืนแก่ลูกหนี้ ทำให้สัญญาจำนำระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ชั้นต้นระงับ เป็นเหตุให้ผุ้ค้ำประกันต้องเสียหายเพราะเมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนลูกหนี้ไป ผู้ค้ำประกันจะอาจรับช่วงสิืทธิเข้าเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนำต่อจากเจ้าหนี้ได้ ดังนั้น ทรัพย์สินที่จำนำมีราคาเท่าใด ผู้ค้ำประกันก็หลุดพ้นความรับผิดในหนี้ประธานไปเท่านั้น เป็นต้น

9. ความระงับสิ้นไปของสัญญาค้ำประกันได้แก่ หนี้ปรธานระงับแล้ว ตามมาตรา698  การค้ำประกันหนี้ที่เกิดขึ้นในอนาคตไม่จำกัดเวลา ผู้ค้ำประกันอาจบอกเลิกสัญญาในหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไปได้ ตามมาตรา 699 , เมื่อหนี้มีำกำหนดชำระเวลาที่แน่นอน แต่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ชั้นต้น ตามมาตรา 700  หรือกรณีผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้ แต่เจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้ ตามมาตรา 701 วรรคสอง เป็นต้น

 

 **** หากท่านต้องการหาทนายความ ปรึกษาทนายความ ต้องการทนายความคดีค้ำประกัน บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด เป็นบริษัททนายความที่ยินดีให้บริการปรึกษากฎหมาย มีทนายความมืออาชีพพร้อมบริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ มีปัญหาเรื่องคดีค้ำประกันโทรหาเราได้ที่เบอร์ 02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816                                       ทาง e-mail : smelawservice@hotmail.com               ทาง facebook : ww.facebook.com/smelawservice       ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

 

 

หน้าที่ของทนายความคดีค้ำประกัน

1. เตรียมคดี โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งจากฝ่ายลูกความและบุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

2. ตรวจสอบเอกสารว่าลูกความว่ามีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพราะคดีสัญญาค้ำประกันเป็นคดีที่จะต้องมีเอกสารหรือหนังสือสัญญามาแสดงในการสืบพยานในชั้นศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 วรรคสอง

3. ตรวจสอบยอดหนี้และดอกเบี้ยของลูกความและบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ค้ำประกันในจำนวนโดยรวมทั้งหมด และยอดหนี้ของลูกหนี้ชั้นต้นด้วยว่ามียอดรวมทั้งหมดเท่าใด

4. ดูแลผลประโยชน์ของลูกความในผลความคืบหน้าของคดีอย่างสม่ำเสมอ

5. ให้คำแนะนำปรึกษาในทางกระบวนพิจารณาของศาลและข้อกฎหมายแก่ลูกความอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อประกอบการตัดสินใจของลูกความ