ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6848602
374562


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  187 ราย


ทนายความคดีประกันภัย 

สาระสำคัญของสัญญาประกันภัย

1. สัญญาประกันภัยมีกฎหมายรองรับอยู่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 20

2. เป็นนิติกรรมประเภท นิติกรรมสองฝ่าย หรือหลายฝ่าย เช่น มี ผู้เอาประกันภัย , ผู้รับประกันภัย และผู้รับประโยชน์(ซึ่งอาจเป็นบุคคลภายนอกบุคคลได้ก็ได้แล้วแต่ผู้เอาประกันจะกำหนดไว้)  เป้นต้น

3. เป็นสัญญาต่างตอบแทน คือ ฝ่ายผู้เอาประกันมีหน้าที่ต้องชำระเบี้ยประกันต่อผู้รับประกันเป็นระยะตามข้อตกลงหรือกรมธรรม์ ส่วนผู้รับประกันมีหน้าที่จ่ายเงินตามสัญญาประกันจำนวนหนึ่ง เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นในอนาคตตามข้อกำหนดในกรมธรรม์ เช่น จะจ่ายค่าเสียหายแทนให้เมื่อรถที่เอาประกันเกิดมีการชนกัน เป็นต้น

4. เป็นสัญญามีค่าตอบแทน เพราะต่างฝ่ายต่างชำระตอบแทนกัน

5. อาจเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกก็ได้ กรณีผู้เอาประกันภัยกำหนดให้ต้องจ่ายเงินตามกรมธรรม์แก่บุึคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้เอาประกัน จึงต้องนำหลักกฎหมายเกี่ยวกับการแสดงเจตนาเข้ารับประโยชน์จากบุคคลภายนอกมาใช้บังคับด้วย ตามมาตรา 374

6. สัญญาประกันภัยแบ่งออกเป้นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ สัญญาประกันวินาศภัย ตามหมวด 2 ของบรรพ 3 นี้ และสัญญาประกันชีวิต ตามหมวด 2  และสัญญาประกันวินาศภัยยังแบ่งเป็นสัญญาประกันวินาศภัย่ทั่วไป สัญญาประกันวินาศวิธีเฉพาะในการประกันวินาศภัยในการับขน และการประกันภัยค้ำจุน

7. การประกันภัยค้ำจุน คือสัญญาประกันภัย ซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบนั่นเอง มาตรา 887

9. สัญญาประกันภัยไม่ว่าจะเป็นประกันวินาศภัย หรือประกันชีวิต ผู้เอาประกันภัยหรือบุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้น (ผู้ที่เป็นเจ้าของชีวิตในการทำสัญญาประกันชีวิต) จะต้องเปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจทำให้ผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น หรือถึงขั้นกับบอกปัดไม่ยอมรับทำสัญญา มิฉะนั้นถ้าไม่บอกก่อน จะทำให้สัญญาประกันภัยนั้นจะตกเป็นโมฆียะ ผู้รับประกันภัยบอกล้างภายหลังได้ เช่น กรณีประกันวินาศภัยรถยนต์มีปัญหาเครื่องยนต์ชำรุดโดยเจ้าของเท่านั้นที่รู้ แต่ไม่ยอมบอกผู้รับประกัน ต่อมารถเสียหายเพราะเหตุชำรุดดังกล่าว ผู้รับประกันภัยบอกล้างสัญญาประกันวินาศภัยนั้นได้ หรือกรณีประกันชีวิต ผู้เอาประกันชีวิตของตนรู้อยู่ว่าตนเป็นโรคร้ายแรงเช่น เป็นโรคมะเร็ง แล้วไม่ยอมบอกแจ้งผู้รับประกัน สัญญาประกันชีวิตย่อมตกเป็นโมฆียะนับแต่นั้น ต่อมาผู้เอาประกันชีวิตไม่ว่าจะตายด้วยโรคมะเร็งนั้นหรือไม่ ผู้รับประกันภัยจะบอกล้างสัญญาละไม่จ่ายเงินตามกรมธรรม์ก็ได้ เป็นต้น

 

 

 

 ***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์  02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816   หรือ                          ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com  ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice    ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

 

 

หน้าที่ของทนายความคดีประกันภัย

1. เตรียมคดี โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งจากฝ่ายลูกความและบุคคลที่เกี่ยวข้อง

2. ตรวจสอบเอกสารว่าลูกความว่ามีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพราะคดีผิดสัญญาประกันภัยบางกรณีเป็นคดีที่ต้องมีเอกสารหรือหนังสือสัญญามาแสดงในการสืบพยานในคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 867 คือกรณีผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยฟ้องกันเอง ยกเว้นกรณีผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประกันภัยฟ้องบุคคลภายนอก ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดง เช่น ผู้รับประกันภัยไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายจากผู้ก่อเหตุทำละเมิดต่อผู้เอาประกันภัย เป็นต้น

3. ตรวจสอบความเสียหาย ค่าเสียหาย ยอดหนี้และดอกเบี้ยของลูกความจำนวนโดยรวมทั้งหมด

4. ตรวจสอบข้อกฎหมาย คำพิพากษศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง และอายุความสัญญาของลูกความ

5. ดูแลผลประโยชน์ของลูกความในผลความคืบหน้าของคดีอย่างสม่ำเสมอ

6. ให้คำแนะนำปรึกษาในทางกระบวนพิจารณาของศาลและข้อกฎหมายแก่ลูกความอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อประกอบการตัดสินใจของลูกความ