ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
21/08/2567
15193656
383646


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  360 ราย


การวางทรัพย์


     การวางทรัพย์ คือ การชำระหนี้ชนิดหนึ่งซึ่งผลของการวางทรัพย์จะทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้  โดยเมื่อผู้วางทรัพย์ได้นำเงิน หรือนำทรัพย์อันเป้นวัตถุแห่งหนี้มาวาง ณ กรมบังคับคดีเพื่อให้หนี้เป็นอันระงับไปก็จะส่งผลให้ผู้วางทรัพย์ไม่ต้องตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ต้องเสียดอกเบี้ยปรับตามสัญญาเช่าซื้อ ไม่ต้องถูกขับไล่รื้อถอนเนื่องจากผิดสัญญาเช่าทรัพย์หรือในกรณีขายฝากกรรมสิทธิ์ของผู้ฝากหรือในกรณีขายฝากหรือถูกยึดทรัพย์นำทรัพย์ออกขายทอดตลาด ในกรณีได้ไปทำสัญญาเช่าซื้อ ค้ำประกันเป็นต้น

 

เหตุที่จะขอวางทรัพย์ได้ มี 6 กรณี

 

     1.เจ้าหนี้บอกปัด หรือปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ โดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างตามกฎหมายได้ เช่นผู้ให้เช่าได้ทำสัญญาเช่ามีกำหนด 30 ปี   โดยได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายที่กรมที่ดิน ซึ่งมีผลผูกพันคู่สัญญา ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา แต่ต่อมาผู้ให้เช่าอยากจะเลิกสัญญา ก่อนครบกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญาจึงปฏิเสธไม่ยอมรับค่าเช่าหรือจะขอขึ้นเงินค่าเช่าโดยไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย เพื่อผู้ให้เช่าจะถือเอาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาเช่า

     2.เจ้าหนี้ไม่สามารถรับชำระหนี้ได้ เช่น เจ้าหนี้ตกเป็นคนวิกลจริต เจ้าหนี้ไปต่างประเทศ  เจ้าหนี้ป่วยหนัก

     3.ลูกหนี้ไม่สามารถจะหยั่งรู้สิทธิ์ของเจ้าหนี้ หรือไม่รู้ตัวเจ้าหนี้ได้แน่นอน เช่นลูกหนี้ไปทำสัญญาเช่ากับนาง ก. ซึ่งมีบุตรอยู่หลายคนต่อมานาง ก. ถึงแก่ความตาย ลูกหนี้ไม่สามารถจะหยั่งรู้ถึงสิทธิของบุตรของนาง ก. ว่าผู้ใดจะเป็นผู้มีสิทธิ์รับมรดกหรือผู้เป็นผู้จัดการมรดกหรือทายาทที่แท้จริง หรือในกรณีที่บริษัทเงินทุนถูกปิดกิจการ ลูกหนี้ได้ไปทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับบริษัทเงินทุนที่ถูกปิดกิจการนั้นแต่ต่อมาได้รับแต่งเป็นหนังสือว่ามีการ โอนกรรมสิทธิ์เรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อไปให้กับบุคคลภายนอกแล้วซึ่งเป็นเหตุให้ลูกหนี้ (ผู้เช่าซื้อ) ตามสัญญาซึ่งมีความประสงค์จะชำระหนี้แต่การกระชำหนี้ไม่อาจกระทำได้ เพราะไม่สามารถหยั่งรู้ถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่แท้จริง

     4.ตามบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 232 , 302 , 631 , 679 ,754 , 772 และ 947 เป็นต้น

     5.ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น เช่นการวางเงินทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์

     6.ตามคำสั่งศาล

 

ผู้มีสิทธิวางทรัพย์

     ในส่วนกลาง สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี เลขที่ 189/1 ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700

     ในส่วนภูมิภาค สำนักงานบังคับคดีทั่วประเทศ

 

ทรัพย์อะไรที่วางได้

     1.เงินสด

     2เช็คทุกชนิดสั่งจ่ายระบุในนาม กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม  กรณีที่วางเป็นเช็คในส่วนภูมิภาค สั่งจ่ายระบุในนามสำนักงานบังคับคดี

     3.ทรัพย์สินอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ ที่จะส่งมอบกันได้ตามกฎหมาย เช่น รถยนต์

 

ทรัพย์ไม่ควรวาง

     1.สภาพทรัพย์ที่ไม่ควรแก่การวาง หรือเป็นที่พึงวิตกว่าทรัพย์นั้นต่อไปจะเสื่อมเสียหรือทำลายหรือบุบสลายได้ เช่น น้ำแข็งที่สลักเป็นรูปต่างๆ เพื่อควมสวยงามในงานสมรส

     2.ค่ารักษาทรัพย์แพงเกินควร

     3.ตึกแถว โรงแรม  คอนโดมิเนียม  เครื่องจักร  เป็นต้น

 

วิธีปฎิบัติและหน้าที่ของผู้วางทรัพย์

     1.เขียนคำร้องขอวางทรัพย์ตามแบบ ว.1  หากมอบอำนาจให้บุคคลอื่นวางทรัพย์แทนต้องทำใบมอบอำนาจตามแบบ ว.4

     2.แสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ (มีรูปถ่าย)

     3.กรณีมอบอำนาจยื่นใบมอบอำนาจตามแบบ ว.4 ติดอากรตามกฎหมายพร้อมบัตรประชาชนหรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ (มีรูปถ่าย) ทั้งของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ

     4.กรณีเป็นนิติบุคคลให้นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนซึ่งนายทะเบียนรับรองมาแสดงด้วย

     5.เตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการวางทรัพย์ในเรื่องนั้นๆ มาแสดงเช่น

  • ถ้าวางตามสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลให้มีคำพิพากษาตามที่ยอมที่จ่าศาลรับรอง
  • ถ้าวางตามสัญญาเช่าให้มีสัญญาเช่า พร้อมถ่ายสำเนาสัญญาเช่าและรับรองสำเนาถูกต้อง
  • ถ้าวางตามสัญญาขายฝากให้มีสัญญาขายฝาก พร้อมถ่ายสำเนาสัญญาขายฝากและรับรองสำเนาถูกต้อง
  • ถ้าวางตามสัญญาเช่าซื้อให้มีสัญญาเช่าซื้อ พร้อมถ่ายสำเนาสัญญาเช่าซื้อและรับรองสำเนาถูกต้อง
  • ถ้าวางตามสัญญาจำนอง(ไถ่ถอน) ให้มีสัญญาจำนอง พร้อมถ่ายสำเนาสัญญาจำนองและรับรองสำเนาถูกต้อง

     6.เงินประกันค่าใช้จ่ายครั้งแรกจำนวน 300 บาท

     7.ในกรณีทรัพย์ที่วางเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ต้องนำเจ้าพนักงานไปตรวจทรัพย์ก่อน

     8.ผู้วางทรัพย์ หรือผู้มอบอำนาจต้องมาให้เจ้าพนักงานสอบสวนถึงที่มาแห่งมูลหนี้

     9.ผู้วางทรัพย์ต้องแจ้งการวางทรัพย์ให้เจ้าหนี้ทราบโดยพลันจึงจะมีผลสมบูรณ์ว่าเป็นการวางทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้นกรณีขายฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขใหม่

 

 วิธีปฏิบัติของเจ้าหนี้ผู้ประสงค์จะรับทรัพย์ที่วาง

     1.เขียนคำร้องขอรับทรัพย์หรือเงินตามแบบ ว.3

     2.แสดงบัตรประจำตัวประชาชน  หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้(มีรูปถ่าย)

     3.กรณีมอบอำนาจ ยื่นใบมอบอำนาจตามแบบ ว.4 ติดอากรตามกฎหมาย พร้อมบัตรประชาชน หรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้มีรูปถ่าย ทั้งของผู้มอบอำนาจผู้รับมอบอำนาจ

     4.กรณีเป็นนิติบุคคล ให้นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนซึ่งนายทะเบียนรับรองมาแสดงด้วย

     5.กรณีวางทรัพย์โดยมีเงื่อนไขให้เจ้าหนี้แสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานว่าได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้ว

 

ผลของการวางทรัพย์

     1.ทำให้ท่านหยุดพ้นจากหนี้ที่ต้องชำระไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด และไม่ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ หลังจากวันที่ท่านวางทรัพย์

     2.เจ้าหนี้มีสิทธิมารับทรัพย์ที่วางภายใน 10 ปี นับแต่ได้รับคำบอกกล่าวการวางทรัพย์ หากเจ้าหนี้ไม่มารับสิทธิของเจ้าหนี้เหนือทรัพย์ที่วางเป็นอันระงับไป

     3.เมื่อเจ้าหนี้มารับเงินแล้ว ผู้วางทรัพย์ต้องมารับค่าใช้จ่ายที่วางประกันไว้คืน หากผู้วางทรัพย์ไม่มารับคืนภายใน 10 ปี เงินค่าใช้จ่ายวางประกันจะตกเป็นของแผ่นดิน