เลขที่ 919/541 อาคารจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ ชั้น49 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพ ฯ ไทย 10500
สาระสำคัญเกี่ยวกับคดีเรียกของหมั้นหรือสินสอดคืน
1. ของหมั้นมีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว ลักษณะ 1 การสมรส หมวด 1 ว่าด้วยเรื่อง การหมั้น
2. การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้วเท่านั้น มิิฉะนั้น การหมั้นที่ฝ่าฝืนข้อนี้จะมีผลตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1435
3. ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลดังต่อไปนี้
(1) บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา
(2) บิดาหรือมารดา ในกรณีที่มารดาหรือบิดาตายหรือถูกถอนอำนาจปกครองหรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้
(3) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม
(4) ผู้ปกครอง ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมตาม (1) , (2) และ (3) หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง
การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำไปโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าวเป็นโมฆียะ ตามมาตรา 1436 ดังนั้นผู้เยาว์ที่สามารถทำการหมั้นได้แล้วตามมาตรานี้ ก็คือ บุคคลที่มีอายุระหว่าง 17 ปี แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ นั้นเอง
4. การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็น "ของหมั้น" ให้แก่หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น ตามมาตรา 1437 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ของหมั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้สัญญาหมั้นเกิดขึ้นสมบูรณ์หรือไม่นั่นเอง โดยองค์ประกอบสำคัญคือ ต้องมีการส่งมอบให้แก่หญิงคู่หมั้นแล้ว
เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง ตามมาตรา 1437 หมายถึง เป็นสิทธิของผู้หญิงที่ทำการหมั้นด้วย หรือคู่สัญญามั่นนั้นเอง ซึ่งแตกต่างจาก "สินสอด" เป็นกรณีฝ่ายชายมอบให้แก่บิดามารดาของหญิง มิใช่มอบให้แก่ตัวหญิงคู่หมั้น
"สินสอด" เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำํคัญอันเกิดแก่หญิงหรือโดยพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ฝ่ายชายไม่สามารถหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียนสินสอดคืนได้ ตามมาตรา 1437 วรรคสาม
ถ้าจะต้องคืนของหมั้นหรือสินสอดตามหมวดนี้ให้นำบทบัญญัติมาตรา 412 ถึงมาตรา 418 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามมาตรา 1437 วรรคสี่
5. การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ ถ้าได้มีข้อตกลงกันไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับในเมื่อผิดสัญญาหมั้น ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1438
6. เมื่อมีการหมั้น ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้ใช้ค่าทดแทน และในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นให้แก่ฝ่ายชายด้วย ตามมาตรา 1439
7. ถ้าคู่หมั้นฝ่ายหนึ่งตายก่อนสมรส อีกฝ่ายหนึ่งจะเรียกร้องค่าทดแทนไม่ได้ ส่วนของหมั้นหรือสินสอดนั้นไม่ว่าชายหรือหญิงตาย หญิงหรือฝ่ายหญิงไม่ต้องคืนให้แก่ฝ่ายชาย ตามมาตรา 1441
8. ในกรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น ทำให้ชายไม่สมควรสมรสกับหญิงนั้น ชายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้ และให้หญิงคืนของหมั้นแก่ชาย ตามมาตรา 1442
"เหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น" ได้แก่ การที่หญิงไปร่วมประเวณีกับชายอื่น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องน่าอับอาย หรือหญิงไปทำการสมรสกับชายอื่น หรือประพฤติตนเสเพล เป็นต้น
9. ในกรณีที่มีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้นทำให้หญิงไม่สมควรสมรสกับชายนั้น หญิงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยมิต้องคืนของหมั้นให้แก่ชาย ตามมาตรา 1443
10. สิทธิเรียนคืนของหมั้นตามมาตรา 1439 ให้มีอายุวาม 6 เดือนนับแต่วันที่ผิดสัญญาหมั้น ตามมาตรา 1447/2 วรรคหนึ่ง คือกรณีมีการผิดสัญญาหมั้นทั่วไปต้องบอกเลิกก่อน
สิทธิเรียกคืนของหมั้นตามมาตรา 1442 ให้มีอายุความ 6 เดือนนับแต่วันที่ได้บอกเลิกสัญญาหมั้น ตามมาตรา 1447/2 วรรคสอง คือกรณีการเลิกสัญญาหมั้นเพราะเหตุหญิงคู่หมั้นมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้นทำให้ชายไม่สมควรสมรสกับหญิงนั้นนั่นเอง
***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์ 02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816 หรือ ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****
หน้าที่ของทนายความคดีเรียกของหมั้นหรือสินสอดคืน
1. เตรียมคดี โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งจากฝ่ายลูกความและบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
2. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารว่าลูกความว่ามีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพราะคดีเรียกของหมั้นหรือสินสอดคืน อาจต้องมีเอกสารหลักฐานหรือหนังสือสัญญาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น กรณีมีการทำสัญญาหมั้นไว้เป็นหนังสือ กรณีการตกลงทำสัญญากู้ไว้ว่าจะให้สินสอด หรือกรณีให้ฝ่ายหญิงทำหนังสือบันทึกว่าได้รับสิ่งใดเป็นของหมั้นหรือสินสอดไปจากฝ่ายชายบ้าง เป็นต้น
3. ตรวจสอบสิทธิ,หน้าที่ ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ให้ไว้แก่ฝ่ายหญิง ไม่ว่าจะเป็นของหมั้นหรือสินสอด ,ความเสียหายและดอกเบี้ยจำนวนโดยรวมทั้งหมดของลูกความและบุคคลฝ่ายอื่นที่เีกี่ยวข้องด้วย เช่น ฝ่ายบิดาหรือมารดาทั้งสองฝ่าย เป็นต้น ซึ่งจะนำมาคำนวณเพื่อเรียกค่าทดแทนได้ต่อไป
4. ค้นหาข้อกฎหมาย เช่น มีเหตุเลิกสัญญาหมั้นและสามารถเรียกคืนของหมั้นหรือสินสอด หรือฝ่ายหญิงมีสิทธิปฏิเสธการเรียกคืนตามกฎหมายหรือไม่ เป็นต้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง และอายุความหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีของลูกความ
5. ดูแลผลประโยชน์ของลูกความในผลความคืบหน้าของคดีอย่างสม่ำเสมอ
6. ให้คำแนะนำปรึกษาในทางกระบวนพิจารณาของศาลและข้อกฎหมายแก่ลูกความอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อประกอบการตัดสินใจของลูกความ