เลขที่ 919/541 อาคารจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ ชั้น49 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพ ฯ ไทย 10500
สาระสำคัญของสัญญา
- หลักสัญญาต้องเป็นสัญญา
- สัญญาคือนิติกรรมตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป
- สัญญาเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเสนอ และอีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาสนองรับ ซึ่งจะเกิดเป็นสัญญาได้ต้องเป็นกรณีที่การเสนอสนองจะต้องตรงกัน เช่น ทรัพย์สินในสัญญาตรงกันแน่นอน ราคาหรือค่าใช้จ่ายแน่นอน สถานที่ในการส่งมอบแน่นอน กำหนดเวลาในการปฏิบัติตามสัญญาแน่นอน เป็นต้น
- สัญญาเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้อย่างหนึ่ง แบ่งเป็น สัญญาต่างตอบแทน และสัญญาไม่ต่างตอบแทน , สัญญามีค่าตอบแทนและสัญญาไม่มีค่าตอบแทน
- สัญญาต่างตอบแทน หมายถึง สัญญาที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายต่างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อกัน เช่น สัญญาซื้อขาย ผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันนั้น ส่วนผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องชำระราคาทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นตามสัญญา เป็นต้น
- สัญญาไม่ต่างตอบแทน หมายถึง สัญญาที่คู่สัญญาแต่ฝ่ายเดียวต้องปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญา โดยอีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องกระทำการใดๆ เช่น สัญญายืม ผู้ยืมเท่านั้นที่ต้องส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมไปคืนผู้ให้ยืม เป็นต้น
- สัญญามีค่าตอบแทน หมายถึง สัญญาที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายต่างต้องให้ประโยชน์เป็นค่าตอบแทนซึ่้งกันและกัน โดยค่าตอบแทนนั้นจะเป็นทรัพย์สินหรือแรงงานก็ได้ เช่นสัญญาซื้อขาย ผู้ซื้อต้องชำระราคาค่าทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น ส่วนผู้ขายก็ต้องส่งมอบทรัพยฺ์สินของตนเป็นการตอบแทนราคาที่ผู้ซื้อชำระมา
- สัญญาไม่มีค่าตอบแทน หมายถึง สัญญาที่ทำแล้วคู่สัญญาไม่มีค่าตอบแทนใดๆ กลับมา เช่น สัญญาให้โดยเสน่หา เป็นต้น
***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์ 02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816 หรือ ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****
ผลของการผิดสัญญา
1. ทำให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเตือน หรือฟ้องร้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาได้
2. อาจถูกคู่สัญญาอีกฝ่ายริบมัดจำ หรือเรียกร้องให้ชำระเบี้ยปรับ หรือค่าปรับตามข้อตกลงในสัญญาได้
3. เกิดดอกเบี้ยผิดนัด ตั้งแต่เวลาที่คู่สัญญาผิดสัญญา
4. อาจถูกเรียกร้องค่าเสียหายอย่างอื่นที่เกิดขึ้นจริง และสามารถพิสูจน์ได้จากเหตุการผิดสัญญาได้
5. อาจมีผลร้ายแรงถึงขั้นอีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาและเรียกร้องค่าเสียหายได้
หน้าที่ของทนายความคดีผิดสัญญา
1. เตรียมคดี โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งจากฝ่ายลูกความและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
2. ตรวจสอบเอกสารว่าลูกความว่ามีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพราะคดีผิดสัญญาบางกรณีเป็นคดีที่ต้องมีเอกสารหรือหนังสือสัญญามาแสดงในการสืบพยานในคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เช่น สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่คู่สัญญามีเจตนาประสงค์จะทำหลักฐานเป็นหนังสือระหว่างกัน หรือสัญญาเช่าซื้อ เป็นต้น
3. ตรวจสอบยอดหนี้และดอกเบี้ยของลูกความจำนวนโดยรวมทั้งหมด
4. ตรวจค้นข้อกฎหมาย คำพิพากษศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง และตรวจสอบอายุความสัญญาในการดำเนินคดีของลูกความ
5. ดูแลผลประโยชน์ของลูกความในผลความคืบหน้าของคดีอย่างสม่ำเสมอ
6. ให้คำแนะนำปรึกษาในทางกระบวนพิจารณาของศาลและข้อกฎหมายแก่ลูกความอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อประกอบการตัดสินใจของลูกความ