ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
21/08/2567
15192777
383646


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  329 ราย


ทนายความคดีความผิดฐานชิงทรัพย์ 

สาระสำคัญของความผิดฐานชิงทรัพย์

1. ความผิดฐานชิงทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 2 ความผิดฐานกรรโชก รีดทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์

2. ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ

            (1) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป

            (2) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น

            (3) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้

            (4) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ

            (5) ให้พ้นจากการจับกุม

            ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาทถึง 20,000 บาท ตามมาตรา 339 วรรคหนึ่ง

           ดังนั้น จะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ได้ ผู้กระทำต้องกระทำเข้าองค์ประกอบความผิดฐาน ลักทรัพย์ ตามมาตรา 334 ก่อนนั่นเอง

            ถ้าความผิดนั้นเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดแห่งมาตรา 335 (การชิงทรัพย์ที่มีเหตุฉกรรจ์ต้องรับโทษหนักขึ้น) หรือเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกลหรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 30,000 บาท ตามมาตรา 339 วรรคสอง

            ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปีถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 40,000 บาท ตามมาตรา 339 วรรคสาม

            ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 15 ปีถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 30,000 บาท ถึง 40,000 บาท ตามมาตรา 339 วรรคสี่

            ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ตามมาตรา 339 วรรคท้าย

3. ถ้าการชิงทรัพย์ได้กระทำต่อทรัพย์ตามมาตรา 335 ทวิ วรรคแรก คือ กรณีเป็นการชิงทรัพย์ที่มีไว้เคารพบูชา) ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 30,000 บาท ตามมาตรา 339 ทวิ วรรคแรก

            ถ้าการชิงทรัพย์นั้นเป็นการกระทำในสถานที่ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 335 ทวิ วรรคสอง (ในสถานที่มีไว้เคารพบูชาและทรัพย์ที่ชิงนั้นเป็นทรัพย์ที่มีไว้เคารพบูชา) ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปีถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 40,000 บาท ตามมาตรา 339 ทวิ วรรคสอง

            ถ้าการชิงทรัพย์ตามวรรคแรกหรือวรรคสองเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 15 ปีถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 30,000 บาทถึง 40,000 บาท ตามมาตรา 339 ทวิ วรรคสาม

            ถ้าการชิงทรัพย์ตามวรรคแรกหรือวรรคสองเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่ 15 ปีถึง 20 ปี ตามมาตรา 339 ทวิ วรรคสี่ (สังเกตตามวรรคนี้ไม่มีโทษปรับ) ซึ่งคำว่า “อันตรายสาหัส” เป็นอย่างไร เป็นไปตามมาตรา 297 วรรคสอง โดยอันตรายสาหัสนั้น คือ

            (1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท (ความสามารถในการดมกลิ่น)

            (2) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์

            (3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด เช่น ฟันร่วงหมดปาก หรือจนไม่อาจเคี้ยวอาหารได้ เป็นต้น

            (4) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว (ถ้ารักษาหายได้ก็ไม่เข้าอนุมาตรานี้)

            (5) แท้งลูก

            (6) จิตพิการอย่างติดตัว

            (7) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต

            (8) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุขเวทนาเกินกว่า 20 วัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า20 วัน

            ถ้าการชิงทรัพย์ตามวรรคแรกหรือวรรคสองเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต ตามมาตรา 339 ทวิ วรรคท้าย (สังเกตโทษตามวรรคนี้มีสถานเดียวและเป็นโทษขั้นร้ายแรงที่สุด คือ ประหารชีวิต)

4. ความผิดฐานชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 วรรคสามถึงวรรคท้ายนั้น และมาตรา 339 ทวิ วรรคสามถึงวรรคท้าย เป็นกรณีที่ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะผลของการกระทำเป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ ตามมาตรา 63

5. ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 339(ความผิดฐานชิงทรัพย์) , มาตรา 339 ทวิ(ความผิดฐานชิงทรัพย์ที่มีไว้เพื่อเคารพบูชาหรือในสถานที่เคารพบูชา) , มาตรา 340(ความผิดฐานปล้นทรัพย์ หรือมาตรา 340 ทวิ (ความผิดฐานชิงทรัพย์ที่มีไว้เพื่อเคารพบูชาหรือในสถานที่เคารพบูชา) โดยแต่งเครื่องแบบทหารหรือตำรวจ หรือแต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจ หรือโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ต้องระวางโทษหนักขึ้นกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 340 ตรี 

 

 

**** หากท่านต้องการหาทนายความ ปรึกษาทนายความ ต้องการทนายความคดีชิงทรัพย์  บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด เป็นบริษัททนายความที่ยินดีให้บริการปรึกษากฎหมาย มีทนายความมืออาชีพพร้อมบริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ มีปัญหาเรื่องคดีชิงทรัพย์ โทรหาเราได้ที่เบอร์ 02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816     หรือ ทาง e-mail : smelawservice@hotmail.com               ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice       ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

 

 หน้าที่ของทนายความคดีความผิดฐานชิงทรัพย์

1. เตรียมคดีโดยการค้นหาข้อเท็จจริงจากบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้รอบด้านมากที่สุด

2. พบและให้คำปรึกษาลูกความเป็นการส่วนตัวในกรณีลูกความเป็นฝ่ายผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา ตามสิทธิในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1(1) และในชั้นศาล ไม่ว่าลูกความจะเป็นฝ่ายโจทก์ผู้เสียหายหรือจำเลย อย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อการตัดสินใจของลูกความได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. อยู่ร่วมในการสอบสวนกับลูกความกรณีเป็นฝ่ายผู้ต้องหา ตามสิทธิใน มาตรา 7/1(2) ประกอบมาตรา134/1 และมาตรา 134/3

4. ดำเนินการช่วยเหลือลูกความให้ได้รับการประกันตัวกรณีลูกความถูกจับอยู่ไม่ว่าจะในชั้นพนักงานสอบสวน หรือชั้นฝากขังต่อศาลทั้งกรณีการถูกคุมขังโดยชอบด้วยกฎหมายหรือโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา90 หรือมาตรา 106

5. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมให้แก่ลูกความเพื่อรักษาสิทธิต่างๆ กรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ตามมาตรา 30

6. กรณีเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ต้องดำเนินการขอให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอเรียกทรัพย์สินหรือใช้ราคาแทนทรัพย์สินของลูกความที่เสียหายไปจากการกระทำความผิดในฐานความผิดที่ระบุไว้ ตามมาตรา 43 หรือยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนให้แก่ลูกความ ตามมาตรา 44/1

7. ค้นหาพยานหลักฐานทั้งหลายที่เกี่ยวข้องเพื่อจะนำมาพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของจำเลย

8. ตรวจค้นข้อกฎหมาย และคำพิพากษาของศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตรวจสอบอายุความหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีของลูกความ

9. ติดตามผลคดีของลูกความอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาประโยชน์แก่ลูกความเป็นสำคัญ

10. ดำเนินการให้ลูกความที่เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดไว้เป็นของกลางให้ได้รับคืนของกลางกรณีเจ้าของไม่ได้รู้เห็นเป็นใจให้ทรัพย์นั้นได้ใช้ในการกระทำความผิดด้วย ตามมาตรา 49  ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 วรรคสองหรือมาตรา 34 วรรคสอง