ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
21/08/2567
15193509
383646


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  361 ราย


ทนายความคดีจัดการมรดก 

 

 

   สาระสำคัญของการจัดการมรดก

 

1. เรื่องการจัดการมรดกนั้น มีกฎหมายบัญญัติรับรองอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ว่าด้วยมรดก ลักษณะ 4 ว่าด้วยเรื่อง "วิธีจัดการและปันทรัพย์มรดก" มีอยู่ทั้งหมด 3 หมวด คือ หมวด 1 ผู้จัดการมรดก, หมวด 2 การรวบรวมจำหน่ายทรัพย์มรดกเป็นตัวเงินและการชำระหนี้กับแบ่งปันทรัพย์มรดก และหมวด 3 การแบ่งมรดก

2. เมื่อบุคคลธรรมดาถึงแก่ความตาย หรือกรณีกฎหมายถือว่าถึงแก่ความตาย บรรดาทรัพย์สิน สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ของเขาที่มีอยู่ก่อนตายจะกลายเป็นมรดก ตกทอดแก่ทายาท ตามมาตรา 1599 และมาตรา 1600  ซึ่งจะต้องมีผู้จัดการมรดกดังกล่าว เพื่อแบ่งปันแก่ทายาทต่อไป

3. ผู้จัดการมรดกนั้นอาจมีได้หลายกรณี เช่น ผู้จัดการมรดกที่ทายาทตกลงยินยอมตั้งกันเอง หรือกรณีผู้เป็นเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมตั้งไว้ รวมทั้งกรณีที่ทายาทไม่อาจตกลงกันได้ และไม่มีพินัยกรรมของผุ้เป็นเจ้ามรดกแต่งตั้งผุ้จัดการมรดกไว้จึงอาจแต่งตั้งโดยคำสั่งศาลได้ ตามมาตรา 1711

4. ผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมอาจตั้งขึ้นได้ (ตามมาตรา 1712)

    (1) โดยผู้ทำพินัยกรรมเอง

    (2) โดยบุคคลซึ่งระบุไว้ในพินัยกรรม (หมายความว่า เจ้ามรดกได้ระบุชื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคนให้ไปเลือกผู้ที่จะมาเป็นผู้จัดการมรดกอีกทีหนึ่ง)

5. ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (ตามมาตรา 1713 วรรคหนึ่ง)

    (1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์

    (2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือเต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก

    (3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใดๆ 

    การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดในพินัยกรรมพินัยกรรมนั้น และ้ถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชย์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร ตามมาตรา 1713 วรรคสอง

    ดังนั้น การจะร้องขอต่อศาลเพื่อตั้งผู้จัดการมรดกก็ไม่จำเป็นต้องมีเฉพาะทายาทอยางเดียว อาจเป็นบุคคลอื่นนอกจากทายาทซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียก็ได้ "ผู้มีส่วนได้เสีย" หมายถึง บุคคลที่จะได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์เนื่องจากการจัดการมรดกครั้งหนี้ ซึ่งได้แก่ สามีหรือภรรยาที่ไม่ชอบต้วยกฎหมาย แต่ได้อยู่กินด้วยกันมาเป็นเวลานานมีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิรวม (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3785-3787/2552) ,เจ้าหนี้กรณีที่เจ้ามรดกไม่มีทายาทและผู้จัดการมรดกเลย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2545,5644/2545)

    ส่วนกรณีทายาทนั้น ต้องเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกตามมาตรา 1629 ด้วย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5543/2551)

6. ถ้าศาลตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อการใดโดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่จำต้องทำบัญชีทรัพย์มรดก เว้นแต่จะจำเป็นเพื่อการนั้น หรือศาลสั่งให้ทำ ตามมาตรา 1714

7. ผู้ทำพินัยกรรมจะตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคนให้เป็นผู้จัดการมรดกก็ได้ ตามมาตรา 1715 วรรคหนึ่ง

    ถ้าผู้จัดการมรดกหลายคน แต่ผู้จัดการมรดกเหล่านั้นบางคนไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ และยังมีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่แต่คนเดียว ผู้นั้นมีสิทธิที่จะจัดการมรดกได้โดยลำพัง แต่ถ้ามีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่หลายคน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้จัดการมรดกเหล่านั้นแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้ เว้นแต่จะมีข้อกำหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ตามมาตรา 1715 วรรคสอง

     แต่ตามมาตราข้างต้นใช้บังคับแต่เฉพาะผู้จัดการมรดกที่ได้ระบุตั้งไว้โดยพินัยกรรมเท่านัน ไม่รวมถึงกรณีผู้จัดการมรดกหลายคนที่ศาลได้แต่งตั้งขึ้น ซึ่งถ้าหากผู้จัดการมรดกร่วมคนใดคนหนึ่งตาย ผู้จัดการมรดกทั้งหลายที่เหลือหมดอำนาจจัดการมรดกทันที ต้องร้องขอต่อศาลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6857/2553)

8. หน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ได้ฟังหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว ตามมาตรา 1716

9. ในเวลาใดๆ ภายในหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตาย แต่ต้องเป็นเวลาภายหลังที่เจ้ามรดกตายแล้ว 15 วัน ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่ง จะสอบถามไปยังผู้ที่ถูกตั้งเป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมว่าจะรับเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ก็ได้ ตามมาตรา 1717 วรรคหนึ่ง

    ถ้าผู้ที่ได้รับแจ้งความมิได้ตอบรับเป็นผู้จัดการมรดกภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันแจ้งความนั้น ให้ถือว่าผู้นั้นปฏิเสธ แต่การรับเป็นผู้จัดการมรดกนั้น จะทำภายหลังหนึ่งปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตายไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตามมาตรา 1717 วรรคสอง

10. บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ (ตามมาตรา 1718)

    (1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ

    (2) บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไรความสามารถ

    (3) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย

11. ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งที่ชัดแจ้งแล้วหรือคำสั่งโดยปริยายแห่งพนัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกทั่วไป หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ตามมาตรา 1719

12. ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 809 ถึง 812 , 819 , 823 แห่งประมวลกฎหมายนี้โดยอนุโลม และเมื่อเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ใช้มาตรา 831 บังคับโดยอนุโลม ตามมาตรา 1720 ซึ่งมาตราทั้งหลายดังกล่าวเป็นบทบัญญัติในเรื่องตัวแทน โดยถือเสมือนหนึ่งว่าผุ้จัดการมรดกนี้เป็นตัวแทนของเจ้ามรดกผู้วายชนม์ ซึ่งอาจต้องรับผิดต่อทายาทหรือบุคคลภายนอก หากผู้จัดการมรดกกระทำการผิดหน้าที่ของตนนั้นเอง

13. ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จจากกองมรดก เว้นแต่พินัยกรรม หรือทายาทโดยจำนวนข้างมากจะได้กำหนดให้ไว้ ตามมาตรา 1721 ดังนั้น โดยหลักผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิรับหรือไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนที่ตนได้เข้าดำเนินการจัดการมรดกแต่อย่างใด

 14. ถ้ามีพยานหลายคน ทายาทเหล่านั้นมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกร่วมกันจนกว่าจะได้แบ่งมรดกกันเสร็จแล้ว และให้ใช้มาตรา 1356 ถึงมาตรา 1366 แห่งประมวลกฎหมายนี้บังคับ เพียงเท่าที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติแห่งบรรพนี้ ตามมาตรา 1745

15. การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด หรือโดยการขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่้างทายาท ตามมาตรา 1750 วรรคหนึ่ง

    ถ้าการแบ่งปันมิได้เป็นไปตามวรรคก่อน แต่ได้ทำโดยสัญญาจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ เว้นแต่จะมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด ลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ในกรณีเช่นนี้ให้นำมาตรา 850 , 852 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยประนีประนอมยอมความมาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามมาตรา 1750 วรรคสอง

 

 

 

 ***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์   02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816   หรือ                          ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com  ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice    ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

 

 

 

 หน้าที่ของทนายความคดีจัดการมรดก

1. เตรียมคดี โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งจากฝ่ายลูกความและบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

2. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารว่าลูกความว่ามีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพราะคดีจัดการมรดกมรดก อาจต้องมีเอกสารหลักฐานหรือหนังสือสัญญาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และบางกรณีอาจต้องมีพยานเอกสารมาแสดงในการสืบพยานในศาลด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เช่น การตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรม เป็นต้น 

3. ตรวจสอบสิทธิ,หน้าที่ ทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องทั้งที่เป็นมรดกและทรัพย์สินของเจ้ามรดกที่ได้มาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้ว เช่น เงินประกันชีวิต หรือบำเหน็จบำนาญตกทอด เป็นต้น ซึ่งเงินดังกล่าวนำกฎหมายว่าด้วยมรดกมาเทียบเคียงใช้ด้วย รวมถึงคำนวณยอดหนี้ ค่าเสียหายที่ตกทอดเป็นมรดกโดยรวมทั้งหมด หรือกรณีที่เกิดจากการที่ผู้่จัดการมรดกทำผิดหน้า่ที่ด้วย

4. ค้นหาข้อกฎหมาย ค้นคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง และอายุความหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีของลูกความ

5. ดูแลผลประโยชน์ของลูกความในผลความคืบหน้าของคดีอย่างสม่ำเสมอ

6. ให้คำแนะนำปรึกษาในทางกระบวนพิจารณาของศาลและข้อกฎหมายแก่ลูกความอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อประกอบการตัดสินใจของลูกความ