ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
21/08/2567
13032375
382627


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  867 ราย


ทนายความคดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 

สาระสำคัญของคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

       เป็นไปตามกฎหมายต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

2. ระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์การอุทธรณ์คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในกรณีมีพยานหลักฐานใหม่ซึ่งอาจทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ พ.ศ. 2551

3. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542

 

      โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 

1. สาระสำคัญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

 1. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาหรือข้าราชการการเมืองอื่น ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่นให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ตามมาตรา 275 วรรคหนึ่ง

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

2. สาระสำคัญตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์การอุทธรณ์คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในกรณีมีพยานหลักฐานใหม่ซึ่งอาจทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ พ.ศ. 2551

 

1. คำนิยามศัพท์ที่สำคัญ (ตามข้อ 3)

“อุทธรณ์” หมายความว่า อุทธรณ์ของผู้ต้องคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ได้ยื่นต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา

ผู้พิพากษา” หมายความว่า ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา

 

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

 

 ***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์   02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816   หรือ                          ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com  ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice    ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

 

 

3. ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542

 

1. ในการพิจารณาคดี ให้ศาลยึดรายงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นหลักในการพิจารณาและไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง

                ในการปฏิบัติหน้าที่ ศาลมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ ตลอดจนให้ศาลอื่น พนักงานสอบสวน หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ดำเนินการใดเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาได้ ตามาตรา วรรคสอง

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

 

หน้าที่ของทนายความคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

1. เตรียมคดี โดยการตรวจสอบ และค้นหาข้อเท็จจริงจากบุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้รอบด้านมากที่สุด

2. รวบรวมและตรวจสอบความเรียบร้อย ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ของเอกสาร เพราะคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอาจต้องมีเอกสารที่เข้ามาเกี่ยวข้องจำนวนมาก เช่น บัญชีทรัพย์สิน หรือเอกสารเกี่ยวกับคำสั่งต่างๆ หรือสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ เป็นต้น

3. ตรวจค้นข้อกฎหมาย และคำวินิจฉัยของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เคยมีมาแล้ว รวมถึงตรวจสอบอายุความหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีของลูกความ

4. อาจเป็นทนายความได้ทั้งฝ่ายโจทก์ โดยกรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช.  แต่งตั้งให้ฟ้องคดีแทนตามมาตรา 11 วรรคสอง หรืออาจแก้ต่างให้แก่จำเลยผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือบุคคลผู้เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนก็ได้

5. ติดตามผลคดีอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาประโยชน์ของลูกความ

6. ให้ข้อมูลและคำปรึกษาอย่างถูกต้อง ครบถ้วนและเพียงพอสำหรับใช้ในการตัดสินใจแก่ลูกความ