ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6881594
375041


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  6 ราย


ทนายความคดีเกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากร 

สาระสำคัญเกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากร

    “ภาษี”  หมายความว่า เงินหรือสิ่งของอื่น หรือผลประโยชน์อย่างอื่นที่รัฐหรือสถาบันปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐเรียกเก็บจากผู้เสียภาษี ซึ่งอาจเป็นปัจเจกบุคคลคือบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ได้ โดยมีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการเรียกเก็บและจัดเก็บ อีกทั้งกฎหมายยังมีบทลงโทษผู้ที่ไม่เสียภาษีอีกด้วย เป็นการจัดเก็บโดยการที่ไม่เรียกว่าการ “บังคับ” โดยตรง แม้จะถือได้ว่าเป็นการจ่ายโดยที่ใจไม่สมัคร แต่เป็นการที่ถือว่า ประชาชนต้องจ่าย “อุดหนุน” รัฐ เพื่อนำมาใช้เป็นประโยชน์ส่วนรวม โดยจะไม่ได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษี แต่อาจจะดำเนินการออกมาในรูปที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิใช้สอยประโยชน์ได้ เช่น รถเมล์ฟรี ถนน หรือสิ่งสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น หรืออาจนิยามได้ว่า "เป็นภาระที่เป็นตัวเงินซึ่งตกแก่ปัจเจกบุคคลหรือเจ้าของทรัพย์สินเพื่อสนับสนุนรัฐบาล" ก็ได้

 

ประเภทของภาษีอากร

   ประเภทของภาษีอากร มี 2 ประเภท คือ

          1. ภาษีทางตรง   คือ ภาษีที่ผู้เสียภาษีไม่สามารถผลักภาระไปให้ผู้อื่น ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ภาษีเงินได้นิติบุคคล, ดอกเบี้ยเงินฝาก, ภาษีมรดก, ภาษีรถยนต์, ภาษีโรงเรือน, ภาษีเดินทางและภาษีเงินรางวัล เป็นต้น
          2. ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่ผู้เสียสามารถผลักภาระให้ผู้อื่น ได้แก่ ภาษีมูลคาเพิ่ม, ภาษีสรรพสามิต และภาษีศุลกากร เป็นต้น

 

ประเภทของการจัดเก็บภาษีในประเทศไทย

 

ภาษีอากรที่ทางกรมสรรพากรจัดเก็บ มี 5 ประเภท
1). ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2). ภาษีเงินได้นิติบุคคล
3). ภาษีมูลค่าเพิ่ม
4). ภาษีธุรกิจเฉพาะ
5). ภาษีอากรแสตมป์

 

  ภาษีส่วนที่จัดเก็บโดยส่วนท้องถิ่น(เช่น อบต., เทศบาล หรือ สำนักงานเขต) ได้แก่

1). ภาษีป้าย
2). ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
3). ภาษีบำรุงท้องที่
- กรมสรรพสามิตก็เรียกเก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้าและบริการประเภทที่ต้องการควบคุมตามกฎหมาย เช่น สุรา ยาสูบ ไพ่ เป็นต้น

       นอกจากนี้ กรมศุลกากรก็มีการเรียกเก็บภาษีศุลกากร เป็นค่าธรรมเนียมของการนำสินค้าบางชนิดเข้าประเทศอีกด้วย 

 

เรื่องภาษีที่น่าสนใจ

- เงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

 

                เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี มีอยู่หลายกรณีที่สำคัญๆ ได้แก่ การยกเว้นตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 การยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับต่างๆ เป็นต้น เงินได้ยกเว้นภาษี ดังนี้

                1. ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือ ค่าพาหนะ ซึ่งลูกจ้างหรือผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงาน ให้ได้จ่ายไปโดยสุจริต ตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมด ในการนั้น

               2. ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตรา ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทาง

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

 

 ***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์   02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816   หรือ                          ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com  ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice    ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

 

 

หน้าที่ของทนายความคดีภาษีอากร

1. เตรียมคดี ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

2. ตรวจสอบความเรียบร้อยและเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนถูกต้อง เพราะคดีเกี่ยวกับภาษีอากร เอกสารมีความจำเป็นอย่างมาก

3. ตรวจค้นข้อกฎหมาย พระราชกฤษฎีกา กฎ ระเบียบ ประกาศต่างๆ รวมถึงคำวินิจฉัยของกรมสรรพกร หรือกรมศุลกากร หนังสือตอบข้อหารือต่างๆ ที่เคยมีมาแล้ว และแนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรอย่างรอบด้าน

4. ให้คำปรึกษาแนะนำพร้อมข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนแก่ลูกความ เพื่อการตัดสินใจในการวางแผนภาษีหรือการดำเนินคดีของลูกความได้อย่างถูกต้อง

5. ติดตามผลคดีทั้งในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ภาษี และชั้นศาล เพื่อรักษาประโยชน์ของลูกความ