ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
21/08/2567
13031118
382627


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  893 ราย


ทนายความคดีจำนอง,จำนำ 

สาระสำคัญขอสัญญาจำนอง

1. ส้ัญญาจำนองมีกฎหมายรับรองซึ่งบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 12

2. เป็นนิติกรรมสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย ได้แก่ มีเจ้าหนี้ มีลูกหนี้(กรณีเป็นผู้จำนองทรัพย์สินของตนเอง) และอาจมีบุคคลภายนอก(กรณีจำนองเพื่อประกันหนี้ของบุคคลอื่น)

3. เป็นสัญญาีที่ต้องอาศัยมูลหนี้ประธาน เช่น สัญญาจำนองประกันหนี้เงินกู้ , สัญญาจำนองประกันการชำระค่าสินค้า หรือสัญญาจำนองประกันการโอนกรรมสิทธิ์ในสัญญาจะซื้อจะขาย เป็นต้น

4. เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน เพราะเจ้าหนี้ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องชำระหนี้หรือกระทำการใดต่อแทนผู้จำนองแต่อย่างใด

5. สัญญาจำนองมีได้เฉพาะทรัพย์สินบางประเภท คือ อสังหาริมทรัพท์ เช่น บ้าน ที่ดิน อาคารพาณิชย์ต่างๆ เป็นต้น และสังหาริมทรัพย์บางชนิด เช่น เรือที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป , แพที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย , สัตว์พาหนะ และสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้จำนองได้ เป็นต้น ตามมาตรา 702

6. สัญญาจำนองต้องมีการทำเป็นหนังสือคือ มีข้อความเป็นข้อตกลงว่ามีการจำนองทรัพย์สินกันและมีลายมือชื่อของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย กับทั้งนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา 714 

7. สัญญาจำนองเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นสิทธิที่ติดตัวทรัพย์ไป ดังนั้นไม่ว่าทรัพย์ที่จำนองจะโอนเปลี่ยนมือไปเป็นของผู้ใดเจ้าหนี้ผู้รับจำนองก็ตามไปบังคับได้อยู่ ตามมาตรา 702 วรรคสอง

8. ความรับผิดในสัญญาจำนองเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้ เช่น หนี้ประธานถึงกำหนด , ทรัพย์ที่จำนองบุบสลาย หรือสูญหาย เป็นเหตุให้ไม่เพียงพอแก่การประกันหนี้ และผู้จำนองไม่เสนอทรัพย์สินอื่นที่มีราคาเพียงพอแทนให้แก่ผู้รับจำนอง หรือเสนอซ่อมแซมแก้ไขความบุบสลายนั้นภายในเวลาอันสมควร ตามมาตรา 723 เป็นต้น

9. การจะบังคับจำนองได้ ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น เมื่อลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนองจะต้องฟ้องบังคับคดีต่อศาล เพื่อให้พิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองและให้ขายทอดตลาดต่อไปได้ ตามมาตรา 728

 

10. กรณีผู้จำนองเป็นบุคคลภายนอก ได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ชั้นต้นไป ผู้จำนองย่อมรับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้ ไปไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ต่อไปได้

11. สัญญาจำนองย่อมระงับไปด้วยเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้ (มาตรา 744)

 

(1) เมื่อหนี้ที่ประกันหรือหนี้ประธานระงับสิ้นไป

 (2) เมื่อผู้รับจำนองปลดจำนองให้แก่ผู้จำนองเด้วยหนังสือเป็นสำคัญ โดยไม่ต้องมีการไปจดทะเบียนก่อน

(3) เมื่อผู้จำนองหลุดพ้นความรับผิดตามกฎหมาย เช่น ตามมาตรา 727 ประกอบมาตรา 700 และ 701 เป็นต้น

(4) เมื่อมีการไถ่ถอนจำนอง

(5) เมื่อมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองตามคำสั่งศาลอันเนื่องมาจากการบังคับจำนองหรือถอนจำนองแล้ว

(6) เมื่อเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นหลุดเป็นสิทธิของผู้รับจำนองไปเลย

 

 

 

 ***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์   02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816   หรือ                          ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com  ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice    ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

 

 สาระสำคัญของสัญญาจำนำ

 

1. ส้ัญญาจำนองมีกฎหมายรับรองซึ่งบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 13

2. เป็นนิติกรรมสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย ได้แก่ มีเจ้าหนี้ มีลูกหนี้(กรณีเป็นผู้จำนำทรัพย์สินของตนเอง) และอาจมีบุคคลภายนอก(กรณีจำนำเพื่อประกันหนี้ของบุคคลอื่น)

3. เป็นสัญญาีที่ต้องอาศัยมูลหนี้ประธาน เช่น สัญญาจำนำประกันหนี้เงินกู้ , สัญญาจำนำประกันการชำระค่าสินค้า จำนำประกันการชำระค่าเสียหายจากการกระทำละเมิด หรือสัญญาจำนำประกันการโอนกรรมสิทธิ์ในสัญญาจะซื้อจะขาย เป็นต้น

 4. ผู้รับจำนำไม่มีสิทธินำทรัพย์ที่จำนำออกใช้สอย มีเพียงสิทธิยึดถือทรัพย์ดังกล่าวไว้เป็นประกันหนี้เท่านั้น เว้นแต่จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น

5. สัญญาจำนำจะระงับต่อเมื่อ หนี้ประธานระงับ หรือผู้รับจำนำส่งมอบทรัพย์ที่จำนำกลับคืนไปอยู่ในความครอบครองผู้จำนำ

 6. การบังคับจำนำ ผู้รับจำนำจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อ ผู้รับจำนำได้บอกกล่าวเป็นหนังสือว่าจะบังคับจำนำไปยังลูกหนี้หรือผู้จำนำกรณีผู้จำนำเป็นบุคคลภายนอกก่อน ว่าให้ชำระหนี้และอุปกรณ์ภายในเวลาอันควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น เมื่อลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนำสามารถบังคับจำนำโดยนำทรัพย์สินที่จำนำนั้นออกขายทอดตลาดได้เลย ไม่ต้องฟ้องศาลก่อน ตามมาตรา 764

 7. กรณีผู้จำนำเป็นบุคคลภายนอก ได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ชั้นต้นไป ผู้จำนำย่อมรับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้ ไปไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ต่อไปได้

 

 

หน้าที่ของทนายความคดีสัญญาจำนองและจำนำ

1. เตรียมคดี โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งจากฝ่ายลูกความและบุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

2. ตรวจสอบเอกสารว่าลูกความว่ามีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพราะคดีสัญญาจำนองเป็นคดีที่ต้องมีเอกสารหรือหนังสือสัญญามาแสดงในการสืบพยานในชั้นศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 714  ส่วนสัญญาจำนำบางกรณีมูลหนี้ประธานอาจต้องมีเอกสารมาแสดงในการสืบพยานด้วย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ เมื่อจำนำเป็นหนี้อุปกรณ์ที่ต้องอาศัยมูลหนี้ประธาน คำฟ้องนั้นมูลหนี้ประธานจะต้องบังคับได้ด้วย เมื่อมูลหนี้ประธานไม่อาจบังคับได้ สัญญาจำนำก็ไม่อาจบังคับได้ เช่น สัญญากู้ยืมเงินโดยลูกหนี้นำทรัพย์สินมาจำนำ แต่เมื่อเจ้าหนี้ไม่มีเอกสารหลักฐานสัญญากู้มาแสดงก็ไม่อาจฟ้องหรือต่อสู้คดีสัญญาจำนำได้ เป็นต้น

3. ตรวจสอบยอดหนี้ ค่าเสียหาย หรือเบี้ยปรับและดอกเบี้ยของลูกความ และบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้จำนองหรือผู้จำนำในจำนวนโดยรวมทั้งหมด ประกอบกับตรวจสอบยอดหนี้ของลูกหนี้ชั้นต้นโดยรวมทั้งหมดด้วย

4. ค้นหาข้อกฎหมาย คำพิพากษาของศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งตรวจสอบอายุความในการดำเนินดคีของลูกความ

5. ดูแลผลประโยชน์ของลูกความในผลความคืบหน้าของคดีอย่างสม่ำเสมอ

6. ให้คำแนะนำปรึกษาในทางกระบวนพิจารณาของศาลและข้อกฎหมายแก่ลูกความอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อประกอบการตัดสินใจของลูกความ