เลขที่ 919/541 อาคารจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ ชั้น49 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพ ฯ ไทย 10500
สาระสำคัญของการเพิกถอนนิติกรรม
1. นิติกรรม มีกฎหมายรับรองอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 หลักทั่วไป ลักษณะ 4 ว่าด้วยนิติกรรม
2. นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลียนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ ตามมาตรา 149
3. การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ ตามมาตรา 150
4. การใดเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย ถ้ามิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นไม่เป็นโมฆะ ตามมาตรา 151
5. การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆะ ตามมาตรา 152 เช่น การซื้อขายสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์พิเศษ อาทิ ซื้อขายเรือที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตั้นขึ้นไป ,แพที่อยู่อาศัย และสัตว์พาหนะต่างๆ เป็นต้น จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 456 เป็นต้น
6. การใดมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล การนั้นเป็นโมฆียะ ตามมาตรา 153
7. เจ้าหนี้ชอบจะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใดๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งที่รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้มิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฎว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทำให้โดยเสน่หา ท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้
บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับแต่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน ตามมาตรา 237
***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์ 02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816 หรือ ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****
สาระสำคัญของการเพิกถอนการให้
1. สัญญาให้มีกฎหมายรับรองอยู่่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 3 เรื่องให้
2. การให้ คือ สัญญาหนึ่งซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น ตามมาตรา 521
3. สัญญาให้เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน เพราะมีผู้ให้ฝ่ายเดียวที่จะดำเนินการส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับ โดยผู้รับไม่ต้องมีหน้าที่กระทำการใดตอบแทนทั้งสิ้น มิฉะนั้นอาจเป็นสัญญาอย่างอื่นไป เช่น สัญญาแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายไป เป็นต้น
4. การให้นั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ มาตรา 523
5. การให้ทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณ๊เช่นนี้ การให้ย่อมสมบูรณ์โดยมิพักต้องส่งมอบ ตามมาตรา 525 เช่น การยกที่ดินให้ การยกบ้านให้ เป็นต้น ซึ่งนำมาตรา 456 มาประกอบด้วย
6. อันผู้ให้จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณนั้น ท่านว่าอาจจะเรียกได้แต่เพียงในกรณ๊ดังกล่าวต่อไปนี้ (มาตรา 531)
(1) ถ้าผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา เช่น ผู้่รับได้กระทำการพยายามฆ่า หรือทำร้ายร่างกายผู้ให้จนได้รับบาดเจ็บสาหัส เป็นต้น หรือ
(2) ผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง เช่น ผู้รับไปบอกเล่ากับบุคคลที่สามว่าผู้ให้มีพฤติกรรมทางเพศในทางสำส่อน ทำให้ผู้อื่นดูถูกเกลียดชังผู้ให้ เป็นต้น
(3) ถ้าผู้ได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผูั้ให้ ในเวลาที่ผู้ให้ยากไรและผู้รับสามารถจะให้ได้
7. ทายาทของผู้ให้อาจเรียกให้ถอนคืนการให้ได้แต่เฉพาะในเหตุที่ผู้ได้ฆ่าผู้ให้ตายโดยเจตนาและไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือได้กีดกันผู้ให้ไว้มิให้ถอนคืนการให้
วรรคสอง แต่ว่าผู้ให้ได้ฟ้องคดีไว้แล้วอย่างใดโดยชอบ ทายาทของผู้ให้จะว่าคดีนั้นต่อไปก็ได้ ตามมาตรา 532
8. เมื่อผู้ให้ได้ให้อภัยแก่ผู้รับในเหตุประพฤติเนรคุณนั้นแ้ล้วก็ดี หรือเมื่อเวลาได้ล่วงไปแล้วหกเดือนนับแต่เหตุเช่นนั้นได้ทราบถึงบุคคลผู้ชอบที่จะเรียกถอนคืนการให้ได้นั้นก็ดี ท่านว่าหากอาจจะถอนคืนการให้ได้ไม่
อนึ่งท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาสิบปีภายหลังเหตุการณ์เช่นว่านั้น ตามมาตรา 533
9. การให้อันจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านว่าจะถอนคือเพราะเหตุเนรคุณไม่ได้ คือ (มาตรา 535)
(1) ให้เป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้
(2) ให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน
(3) ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา
(4) ให้ในการสมรส
หน้าที่ของทนายความคดีเพิกถอนนิติกรรม, เพิกถอนการให้
1. เตรียมคดี โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งจากฝ่ายลูกความและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
2. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารว่าลูกความว่ามีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพราะคดีเกี่ยวกับการเพิกถอนนิติกรรมหรือเพิกถอนการให้นั้นบางกรณีอาจต้องมีเอกสารหลักฐานหรือหนังสือเพื่อแสดงต่อศาลในการสืบพยานด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เช่น การโอนหรือการยกที่ดินให้ หรือการโอนหรือยกบ้านให้ในรูปแบบที่ไม่ต้องรื้อถอนออกไปจากที่ดิน เป็นต้น
3. กรณีการทำนิติกรรมหรือการได้รับการยกให้อสังหาริมทรัพย์มา เช่น ที่ดิน หรือบ้าน หรืออาคารพาณิชย์ เป็นต้น โดยหลักจะต้องมีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้นจึงอาจจะต้องมีเอกสารราชการหรือเอกสารมหาชนเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งกฎหมายได้กำหนดว่าเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นหรือรับรอง หรือสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง และเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องมีภาระการพิสูจน์ความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 127 ดังนั้นทนายความจึงต้องตรวจสอบเอกสารในส่วนนี้อย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วย
4. ตรวจสอบยอดหนี้ ความเสียหายของที่ดินและสิทธิต่างๆในที่ดินที่พิพาทและดอกเบี้ยจำนวนโดยรวมทั้งหมด รวมถึงสิทธิและหน้าที่ของลูกความ
5. ค้นหาข้อกฎหมาย คำพิพากษศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง และอายุความหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีของลูกความ
6. ดูแลผลประโยชน์ของลูกความในผลความคืบหน้าของคดีอย่างสม่ำเสมอ
7. ให้คำแนะนำปรึกษาในทางกระบวนพิจารณาของศาลและข้อกฎหมายแก่ลูกความอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อประกอบการตัดสินใจของลูกความ