ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6881544
375025


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  7 ราย


ทนายความคดีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ 

สาระสำคัญของความผิดฐานยักยอกทรัพย์

1. ความผิดฐานชิงทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 5 ความผิดฐานยักยอก

2. ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบงเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 352 วรรคหนึ่ง

          ดังนั้น ความผิดฐานนี้แตกต่างจากความผิดฐานลักทรัพย์ คือ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ผู้กระทำต้องมีการครอบครองทรัพย์ที่ยักยอกนั้นก่อนกระทำความผิด ซึ่งเป็นการทำร้ายกรรมสิทธิ์ แต่ความผิดฐานลักทรัพย์ ผู้กระทำต้องไม่มีการครอบครองทรัพย์ที่ลักนั้นมาก่อน อันเป็นการทำร้ายกรรมสิทธิ์และการครอบครองนั่นเอง

            ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใดหรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียงกึ่งเดียว ตามมาตรา 352 วรรคสอง “ผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไป” เช่น การทอนเงินให้ผิดแล้วผู้รับเงินทอนรู้อยู่แล้วว่าตนไม่ควรรับ แต่ก็นำเงินทอนผิดที่ได้นั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนหรือผู้อื่นต่อไปก็เป็นความผิดอาญาได้แล้ว เป็นต้น

2. ผู้ใดได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น หรือทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใดๆ โดยทุจริตจนเป็นเหตุได้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท ทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 353

3. ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 352(ฐานยักยอกทรัพย์ธรรมดา) หรือมาตรา 353(ฐานยักยอกทรัพย์มีเหตุให้รับโทษหนักขึ้นเพราะฐานะของผู้กระทำความผิด) ได้กระทำในฐานที่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งของศาล หรือตามพินัยกรรม หรือในฐานเป็นผู้อื่นตามคำสั่งของศาล หรือตามพินัยกรรม หรือในฐานะเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจ อันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 354

4. ผู้ใดเก็บได้ซึ่งสังหาริมทรัพย์อันมีค่า อันซ่อนหรือฝังไว้โดยพฤติการณ์ซึ่งไม่มีผู้ใดอ้างว่าเป็นเจ้าของได้ แล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับเกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

5. ความผิดในหมวด 5 ว่าด้วยเรื่องความผิดฐานยักยอกนี้ เป็นความผิดอันยอมความได้ ตามมาตรา 356  หมายความว่า ความผิดในฐานยักยอกทรัพย์นี้จะเป็นความผิดต่อส่วนตัว ซึ่งสามารถตกลงยอมความกันระหว่างผู้เสียหายกับผู้กระทำความผิดได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง เมื่อมีการยอมความกันแล้วจะมีผลให้สิทธิที่จะนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามมาตรา 39 (2)

 

 

 **** หากท่านต้องการหาทนายความ ปรึกษาทนายความ ต้องการทนายความคดียักยอกทรัพย์  บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด เป็นบริษัททนายความที่ยินดีให้บริการปรึกษากฎหมาย มีทนายความมืออาชีพพร้อมบริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ มีปัญหาเรื่องคดียักยอกทรัพย์โทรหาเราได้ที่เบอร์  02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816                   ทาง e-mail : smelawservice@hotmail.com               ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice       ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****


 

 

หน้าที่ของทนายความคดีความผิดฐานยักยอกทรัพย์

1. เตรียมคดีโดยการค้นหาข้อเท็จจริงจากบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้รอบด้านมากที่สุด

2. พบและให้คำปรึกษาลูกความเป็นการส่วนตัวในกรณีลูกความเป็นฝ่ายผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา ตามสิทธิในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1(1) และในชั้นศาล ไม่ว่าลูกความจะเป็นฝ่ายโจทก์ผู้เสียหายหรือจำเลย อย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อการตัดสินใจของลูกความได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. อยู่ร่วมในการสอบสวนกับลูกความกรณีเป็นฝ่ายผู้ต้องหา ตามสิทธิใน มาตรา 7/1(2) ประกอบมาตรา134/1 และมาตรา 134/3

4. ดำเนินการช่วยเหลือลูกความให้ได้รับการประกันตัวกรณีลูกความถูกจับอยู่ไม่ว่าจะในชั้นพนักงานสอบสวน หรือชั้นฝากขังต่อศาลทั้งกรณีการถูกคุมขังโดยชอบด้วยกฎหมายหรือโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา90 หรือมาตรา 106

5. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมให้แก่ลูกความเพื่อรักษาสิทธิต่างๆ กรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ตามมาตรา 30

6. กรณีเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ต้องดำเนินการขอให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอเรียกทรัพย์สินหรือใช้ราคาแทนทรัพย์สินของลูกความที่เสียหายไปจากการกระทำความผิดในฐานความผิดที่ระบุไว้ ตามมาตรา 43 หรือยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนให้แก่ลูกความ ตามมาตรา 44/1

7. ค้นหาพยานหลักฐานทั้งหลายที่เกี่ยวข้องเพื่อจะนำมาพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของจำเลย

8. ตรวจค้นข้อกฎหมาย และคำพิพากษาของศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตรวจสอบอายุความหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีของลูกความ

9. ติดตามผลคดีของลูกความอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาประโยชน์แก่ลูกความเป็นสำคัญ

10. ดำเนินการให้ลูกความที่เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดไว้เป็นของกลางให้ได้รับคืนของกลางกรณีเจ้าของไม่ได้รู้เห็นเป็นใจให้ทรัพย์นั้นได้ใช้ในการกระทำความผิดด้วย ตามมาตรา 49  ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 วรรคสองหรือมาตรา 34 วรรคสอง