ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
10/10/2567
17120043
387263


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  7 ราย


ทนายความคดีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ 

สาระสำคัญความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์

 

1. ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 1 ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์

2.. ผู้ใดลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ผู้นั้นกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 336 วรรคหนึ่ง สังเกตว่า ความผิดตามวรรคนี้เป็นบทลงโทษทั้งจำและปรับศาลจะไม่ลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

            ดังนั้น ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์นั้นผู้กระทำจะต้องมีการกระทำครบองค์ประกอบซึ่งเป็นความผิดฐานลักทรัพย์มาแล้ว ตามมาตรา 334 คือ ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตเสียก่อน จึงจะมาปรับเข้ากับบทความผิดฐานนี้ต่อไปได้

            ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 4,000 บาท ถึง 14,000 บาท ตามมาตรา 336 วรรคสอง

            ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ตามมาตรา 336 วรรคสาม

            ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาทถึง 30,000 บาท ตามมาตรา 336 วรรคท้าย

            โดยความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตามมาตรา 336 วรรคสองถึงวรรคท้ายนี้ เป็นความผิดที่ต้องการผลอันทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น โดยอาศัยผลตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ ตามมาตรา 63 ด้วย

3. ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 334 , มาตรา 335 , มาตรา 335 ทวิ หรือมาตรา 336(ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์) โดยแต่งเครื่องแบบทหาร หรือตำรวจ หรือแต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจ หรือโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อความสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 336 ทวิ


 

 

**** หากท่านต้องการหาทนายความ ปรึกษาทนายความ ต้องการทนายความคดีวิ่งราวทรัพย์  บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด เป็นบริษัททนายความที่ยินดีให้บริการปรึกษากฎหมาย มีทนายความมืออาชีพพร้อมบริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ มีปัญหาเรื่องคดีวิ่งราวทรัพย์โทรหาเราได้ที่เบอร์ 02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816                   ทาง e-mail : smelawservice@hotmail.com               ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice       ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

 

หน้าที่ของทนายความคดีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์

1. เตรียมคดีโดยการค้นหาข้อเท็จจริงจากบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้รอบด้านมากที่สุด

2. พบและให้คำปรึกษาลูกความเป็นการส่วนตัวในกรณีลูกความเป็นฝ่ายผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา ตามสิทธิในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1(1) และในชั้นศาล ไม่ว่าลูกความจะเป็นฝ่ายโจทก์ผู้เสียหายหรือจำเลย อย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อการตัดสินใจของลูกความได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. อยู่ร่วมในการสอบสวนกับลูกความกรณีเป็นฝ่ายผู้ต้องหา ตามสิทธิใน มาตรา 7/1(2) ประกอบมาตรา 134/1 และมาตรา 134/3

4. ดำเนินการช่วยเหลือลูกความให้ได้รับการประกันตัวกรณีลูกความถูกจับอยู่ไม่ว่าจะในชั้นพนักงานสอบสวน หรือชั้นฝากขังต่อศาลทั้งกรณีการถูกคุมขังโดยชอบด้วยกฎหมายหรือโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 90 หรือมาตรา 106

5. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมให้แก่ลูกความเพื่อรักษาสิทธิต่างๆ กรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ตามมาตรา 30

6. กรณีเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ต้องดำเนินการขอให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอเรียกทรัพย์สินหรือใช้ราคาแทนทรัพย์สินของลูกความที่เสียหายไปจากการกระทำความผิดในฐานความผิดที่ระบุไว้ ตามมาตรา 43 หรือยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนให้แก่ลูกความ ตามมาตรา 44/1

7. ค้นหาพยานหลักฐานทั้งหลายที่เกี่ยวข้องเพื่อจะนำมาพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของจำเลย

8. ตรวจค้นข้อกฎหมาย และคำพิพากษาของศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตรวจสอบอายุความหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีของลูกความ

9. ติดตามผลคดีของลูกความอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาประโยชน์แก่ลูกความเป็นสำคัญ

10. ดำเนินการให้ลูกความที่เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดไว้เป็นของกลางให้ได้รับคืนของกลางกรณีเจ้าของไม่ได้รู้เห็นเป็นใจให้ทรัพย์นั้นได้ใช้ในการกระทำความผิดด้วย ตามมาตรา 49  ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 วรรคสองหรือมาตรา 34 วรรคสอง