เลขที่ 919/541 อาคารจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ ชั้น49 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพ ฯ ไทย 10500
สาระสำคัญของความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
1. ความผิดฐานชิงทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 7 ว่าด้วยเรื่องความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
2. ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชนซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 358
3. ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 358 ได้กระทำต่อ
(1) เครื่องกลหรือเครื่องจักรที่ใช้ในการประกอบกสิกรรมหรืออุตสาหกรรม
(2) ปศุสัตว์
(3) ยวดยานหรือสัตว์พาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะหรือในการประกอบกสิกรรมหรืออุตสาหกรรม หรือ
(4) พืชหรือพืชผลของกสิกร
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 359
4. ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 360
5. ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ตามมาตรา 335 ทวิ วรรคหนึ่ง (ทรัพย์ที่ทำให้เสียเป็นทรัพย์ที่มีไว้เพื่อให้ประชาชนเคารพบูชา) ที่ประดิษฐานอยู่ในสถานที่ตามมาตรา 335 ทวิ(การทำให้เสียทรัพย์ได้กระทำในสถานที่ที่มีไว้เพื่อให้ประชาชนเคารพบูชา) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 360 ทวิ
6. ความผิดตามมาตรา 358(กรณีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ธรรมดา) และมาตรา 359(กรณีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ที่มีเหตุฉกรรจ์ที่เป็นทรัพย์ที่มิใช่มีไว้ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือทรัพย์ที่มีไว้เพื่อให้ประชาชนเคารพบูชา หรือการกระทำต่อทรัพย์ที่มีไว้เพื่อให้ประชาชนเคารพบูชาและกระทำในสถานที่เพื่อให้ประชาชนเคารพบูชา) เป็นความผิดอันยอมความได้
ดังนั้น ความผิดในฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามมาตรา 358 และมาตรา 359 ที่กล่าวมาแล้วเป็นความผิดต่อส่วนตัว ซึ่งสามารถตกลงยอมความกันระหว่างผู้เสียหาย และผู้กระทำความผิดได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง เมื่อมีการยอมความกันแล้วจะมีผลให้สิทธิที่จะนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามมาตรา 39 (2) ยกเว้นแต่ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 (กรณีทรัพย์เป็นทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์) หรือมาตรา 360 ทวิ (กรณีทรัพย์เป็นทรัพย์ที่มีไว้เพื่อให้ประชาชนเคารพบูชา หรือทำให้เสียทรัพย์ที่มีไว้เพื่อประชาชนเคารพบูชาและกระทำในสถานที่ที่มีไว้เพื่อให้ประชาชนเคารพบูชา) เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่อาจตกลงยอมกันเองระหว่างคู่กรณีไม่ได้ แม้จะมีการตกลงกันคดีอาญาก็ไม่ระงับตามไปด้วย
***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์ 02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816 หรือ ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****
หน้าที่ของทนายความคดีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
1. เตรียมคดีโดยการค้นหาข้อเท็จจริงจากบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้รอบด้านมากที่สุด
2. พบและให้คำปรึกษาลูกความเป็นการส่วนตัวในกรณีลูกความเป็นฝ่ายผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา ตามสิทธิในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1(1) และในชั้นศาล ไม่ว่าลูกความจะเป็นฝ่ายโจทก์ผู้เสียหายหรือจำเลย อย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อการตัดสินใจของลูกความได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. อยู่ร่วมในการสอบสวนกับลูกความกรณีเป็นฝ่ายผู้ต้องหา ตามสิทธิใน มาตรา 7/1(2) ประกอบมาตรา134/1 และมาตรา 134/3
4. ดำเนินการช่วยเหลือลูกความให้ได้รับการประกันตัวกรณีลูกความถูกจับอยู่ไม่ว่าจะในชั้นพนักงานสอบสวน หรือชั้นฝากขังต่อศาลทั้งกรณีการถูกคุมขังโดยชอบด้วยกฎหมายหรือโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา90 หรือมาตรา 106
5. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมให้แก่ลูกความเพื่อรักษาสิทธิต่างๆ กรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ตามมาตรา 30
6. กรณีเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ต้องดำเนินการยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนให้แก่ลูกความ ตามมาตรา 44/1
7. ค้นหาพยานหลักฐานทั้งหลายที่เกี่ยวข้องเพื่อจะนำมาพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของจำเลย
8. ตรวจค้นข้อกฎหมาย และคำพิพากษาของศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตรวจสอบอายุความหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีของลูกความ
9. ติดตามผลคดีของลูกความอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาประโยชน์แก่ลูกความเป็นสำคัญ
10. ดำเนินการให้ลูกความที่เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดไว้เป็นของกลางให้ได้รับคืนของกลางกรณีเจ้าของไม่ได้รู้เห็นเป็นใจให้ทรัพย์นั้นได้ใช้ในการกระทำความผิดด้วย ตามมาตรา 49 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 วรรคสองหรือมาตรา 34 วรรคสอง