ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
21/08/2567
13036186
382629


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  886 ราย


ทนายความคดีแรงงาน 

 

 สาระสำคัญของคดีแรงงาน

*คดีแรงงานมีกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ 

    1. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

    2. พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518

    3. พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537

    4. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาค

 

 

สาระสำคัญตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

 1. นิยามศัพท์ที่สำคัญ มีดังต่อไปนี้ (ตามมาตรา 5)

         "นายจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และหมายความรวมถึง 

         (1) ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง

         (2) ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลและซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้ทำการแทนด้วย

2. "ลูกจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร  

....อ่านต่อ คลิ๊ก....

 

    

สาระสำคัญตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518

    1. คำนิยามศัพท์ที่สำคัญ มีดังต่อไปนี้ (ตามมาตรา 5)

                “สภาพการจ้าง” หมายความว่า เงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน กำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้างหรือประโยชน์อื่นของนาย

                “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง” หมายความว่า ข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

....อ่านต่อ คลิ๊ก....

 

 

 

 ***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์  02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816   หรือ                          ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com  ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice    ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

 

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537

 

 1. คำนิยามศัพท์ที่สำคัญ (ตามมาตรา 5)

                “ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร แต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย

                ดังนั้น นิยามคำว่าลูกจ้างตามพระราชบัญญัตินี้จะแตกต่างจากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งได้กำหนดบุคคลที่ไม่มีสิทธิรับค่าทดแทนตามพระราชบัญญัตินี้ไว้ คือ ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน ที่ไม่มีการประกอบเป็นธุรกิจรวมอยู่ด้วย เช่น ทำงานเป็นแม่บ้านทั่วไป เป็นต้น

....อ่านต่อ คลิ๊ก....

 

 

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522

 

1. ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้ (ตามมาตรา 8)

                (1) คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

                (2) คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม หรือกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน

....อ่านต่อ คลิ๊ก....

 

 

 

 

หน้าที่ของทนายความคดีแรงงาน 

1. เตรียมคดี รวบรวมเอกสาร และสอบถามข้อเท็จจริงจากบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อที่จะหาประเด็นแห่งคดีที่แท้จริง

2. ดำเนินกระบวนการพิจารณาในชั้นศาล ดูแลผลประโยชน์ของลูกความและติดตามผลคดี คำสั่งและคำพิพากษาของศาลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของลูกความให้ได้อย่างสูงสุด

3. ร่างสัญญาจ้างแรงงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย ตามแนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกาและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

4.ที่ปรึกษากฎหมายให้ปรึกษาเกี่ยวกับการจ้างแรงงาน