ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
21/08/2567
15192752
383646


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  331 ราย


ทนายความคดีจัดทำพินัยกรรม 

  สาระสำคัญของพินัยกรรม

1. พนัยกรรมมีกฎหมายบัญญัติรับรองอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 มรดก ลักษณะ 3 ว่าด้วยเรื่อง "พินัยกรรม" มีอยู่ทั้งสิ้น 6 หมวด คือ หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป , หมวด 2 แบบพินัยกรรม , หมวด 3 ผลและการตีความแห่งพินัยกรรม , หมวด 4 พินัยกรรมที่ตั้งผู้ปกครองทรัพย์ , หมวด 5 การเพิกถอนและการตกไปแห่งพินัยกรรมทหรือข้อกำหนดพินัยกรรม , หมวด 6 ความเสียเปล่าแห่งพินัยกรรมหรือข้อกำหนดพินัยกรรม

2.บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตายก็ได้ ตามมาตรา 1646 ดังนั้น การทำพินัย คือการแสดงเจตนาทำนิติกรรมอย่างหนึ่ง เป็นการแสดงเจตนาเผื่อตายนั้นเอง

3. การทำทำพินัยกรรมเป็นการทำนิติกรรมฝ่ายเดียวโดยเคร่งครัด หมายความว่า นิติกรรมฝ่ายเดียวที่ไม่จำต้องมีผู้รับการแสดงเจตนานั่นเอง

4. การแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายนั้นย่อมทำได้ด้วยคำสั่งสุดท้ายกำหนดไว้ในพินัยกรรม ตามมาตรา 1647

5. พินัยกรรมต้องทำตามแบบซึ่งระบุไว้ในหมวด 2 แห่งลักษณะนี้ ตามมาตรา 1648

    5.1 พินัยกรรมนั้น จะทำตามแบบธรรมดา โดยต้องทำเป็นหนังสือ ลงวัน เดือน ปี ในขณะทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน ซึ่งพยาน 2 คนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้นด้วย ตามมาตรา 1656 วรรคหนึ่ง

    การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไข เปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมสมบูรณ์ เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามแบบอย่างเดียวกับการทำพินัยกรรมตามมาตรานี้ ตามมาตรา 1656 วรรคสอง นั่นก็คือมีการลงวัน เดือน ปี ขณะทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน ซึ่งพยาน 2 คนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้นด้วย เช่นเดียวกับวรรคหนึ่งนั่นเอง

    5.2 พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับก็ได้ กล่าวคือผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยมือของตนเอง ซึ่งข้อความทั้งหมด วัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตน ตามมาตรา 1657 วรรคหนึ่ง

     การขูด ลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ทำด้วยลายมือตนเอง และลงลายมือชื่อกำกับไว้ ตามมาตรา 1657 วรรคสอง

     บทบัญญัติมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มิให้นำมาใช้บังคับแก่พินัยกรรมที่ทำขึ้นตามมาตรานี้ ตามมาตรา 1657 วรรคท้าย  นั้นคือ จะใช้วิธีที่ผู้ทำพินัยกรรม จะไม่เขียนเองเ่พียงแต่ลงลายมือชื่อไม่ได้ หรือจะพิมพ์ลายนิ้วมือ ตราประทับ หรือแกงได แล้วมีพยานสองคนลงลายมือชื่อรับรองไม่ได้นั่นเอง

    5.3 พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารฝ่ายเมืองก็ได้ กล่าวคือ (ตามมาตรา 1658 วรรคหนึ่ง)

      (1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่กรมการอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกั

      (2) กรมการอำเภอต้องจดข้อความข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบนั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้นให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง

      (3) เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่า ข้อความที่กรมการอำเภอจดนั้นเป็นการถูกต้องตรงกันกับที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งไว้แล้ว ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ

      (4) ข้อความที่กรมการอำเภอจดไว้นั้น ให้กรมการอำเภอลงลายมือชื่อและลงวัน เดือน ปี ทั้งจดลงไว้ด้วยตนเองเป็นสำคัญว่าพินัยกรรมนั้นได้ทำขึ้นถูกต้องตามบทบัญญัติอนุมาตรา 1 ถึง 3 ข้างต้น แล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ

      การขูด ลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เ้ว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม พยาน และกรมการอำเภอจะได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้

     5.4 พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารลับก็ได้ กล่าวคือ (ตามมาตรา 1660 วรรคหนึ่ง)

      (1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม

      (2) ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรมนั้น แล้วลงลายมือชื่อคาบรอยผนึกนั้น

      (3) ผู้ืทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้นไปแสดงต่อกรมการอำเภอ และพยานอีกอย่างน้อยสองคน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดเหล่านั้น ว่าด้วยพินัยกรรมของตน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดเหล่านั้น ว่าเป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมมิได้เป็นผู้เขียนเองโดยตลอด ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งนามและภูมิลำเนาของผู้เขียนให้ทราบด้วย

     (4) เมื่อกรมการอำเภอจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรมและวัน เดือน ปี ที่นำพินัยกรรมมาแสดงไว้บนซองนั้นและประทับตราตำแหน่งแล้ว ให้กรมการอำเภอผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น

      การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ซึ่งพินัยกรรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ืทำพินัยกรรมจะได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ ตามมาตรา 1661 วรรคสอง

     - ถ้าบุคคลผู้ทั้งใบและหูหนวกหรือผู้ที่พูดไม่ได้ มีความประสงค์จะทำพินัียกรรมเป็นแบบเอกสารลั ให้ผู้นั้นเขียนด้วยตนเองบนซองพินัียกรรมต่อหน้ากรมการอำเภอและพยานซึ่งข้อความว่าพินัยกรรมที่ผนึกไว้นั้นเป็นของตนแทนการให้ถ้อยคำดังที่กำหนดไว้ในมาตรา 1660 (3) และถ้าหากมีผู้เขียนก็ให้เขียนชื่อกับภูมิลำเนาของผู้เขียนพินัยกรรมนั้นไว้ด้วย ตามมาตรา 1661 วรรคหนึ่ง

      ให้กรมการอำเภอจดลงไว้บนซองเป็นสำคัญว่า ผู้ทำพินัยกรรมได้ปฏิบัติตามข้อความในวรรคก่อนแล้ว แทนการจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม ตามมาตรา 1661 วรรคสอง

    - พินัียกรรมซึ่งได้ทำแบบเอกสารฝ่ายเมืองหรือเอกสารลับนั้น กรมการอำเภอจะเปิดเผยแก่บุคคลอื่นใดไมได้ ในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ และผู้ทำพินัยกรรมจะเรียกให้กรมการอำเภอส่งมอบพินัยกรรมนั้นแก่ตนในเวลาใดๆ กรมการอำเภอจำต้องส่งมอบให้ ตามมาตรา 1662 วรรคหนึ่ง

      ถ้าพินัยกรรมนั้นทำเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมือง ก่อนส่งมอบพินัยกรรม ให้กรมการอำเภอคัดสำเนาพินัยกรรมไว้แล้วลงลายมือชื่อประทับตราตำแหน่งเป็นสำคัญ สำเนาพินัยกรรมนั้นจะเปิดเผยแก่บุคคลอื่นใดไม่ได้ ในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ ตามมาตรา 1662 วรรคสอง

    5.5 เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษซึ่งบุคคลใดไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้ เช่นตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม บุคคลนั้นจะทำพินัยกรรมด้วยวาจาก็ได้ ตามมาตรา 1663 วรรคหนึ่ง

     เพื่อการนี้ ผู้ทำพินัียกรรมต้องแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น ตามมาตรา 1663 วรรคสอง

     พยาน 2 คนนั้นต้องไปแสดงตนต่อกรมการอำเภอโดยมิชักช้าและแจ้งข้อควาทมที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจานั้น ทั้งต้องแจ้งวัน เดือน ปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรมและพฤติการณ์พิเศษนั้นไว้ด้วย ตามมาตรา 1663 วรรคสาม

     ให้กรมการอำเภอจดข้อความที่พยานแจ้งนั้นไว้ และพยาน 2 คนนั้นต้องลงลายมือชื่อไว้ หรือมิฉะนั้น จะให้เสมอกับการลงลายมือชื่อได้ก็แต่ด้วยลงลายพิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คน ตามมาตรา 1663 วรรคท้าย

     - ความสมบูรณ์แห่งพินัยกรรมซึ่งทำขึ้นตามมาตราก่อนนั้นย่อมสิ้นไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่เวลาผู้ทำพินัยกรรมกลับมาสู่ฐานะที่จะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้ ตามมาตรา 1664

6. ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องลงลายมือชื่อตามมาตรา 1656 , 1658 , 1660 จะให้เสมอกับลงลายมือชื่อได้ก็แต่ด้วยลงลายพิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนในขณะนั้น ตามมาตรา 1665 ซึ่งไม่รวมมาตรา 1657 พินัยกรรมแบบเขียนเอง ซึ่งผู้ทำพินัยกรรมจะต้องลงลายมือชื่อของตนเองเท่านั้นจะพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ได้

7. บทบัญญัติมาตรา 9 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายนี้ มิให้ใช้บังคับแก่พยานผู้ที่จะต้องลงลายมือชื่อตามมาตรา 1656 , 1658 , 1660 (ตามมาตรา 1666) หมายความว่า พยานในพินัยกรรมจะลงลายพิมพ์นิ้วมือแล้วให้พยานอีกสองคนรับรองลายพิมพ์นิ้วมือเหมือนผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้นั่นเอง

8. บุคคลต่อไปนี้จะเป็นพยานในการทำพินัยกรรมไม่ได้ (ตามมาตรา 1670)

    (1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ

    (2) บุคคลวิกลจริตหรือบุั่คคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไรความสามารถ

    (3) บุึคคลที่หูหนวก เป็นใบ้ หรือจักษุบอดทั้งสองข้าง

9. ผู้เขียน หรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้ ตามมาตรา 1653 วรรคหนึ่ง

    ให้ใช้บทบัญญัติในวรรคก่อนบังคับแก่คู่สมรสของผู้เขียนหรือพยานในพนัยกรรมด้วย ตามมาตรา 1653 วรรคสอง

10. พินัยกรรมซึ่งบุคคลที่มีอายุยังไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์ทำขึ้นนั้น เป็นโมฆะ ตามมาตรา 1703

11. พินัยกรรมซึ่งบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไรความสามารถทำขึ้น เป็นโมฆะ ตามมาตรา 1704 วรรคหนึ่ง

    พินัยกรรมซึ่งบุคคลผู้ถูกอ้างว่าเป็นคนวิกลจริต แต่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทำขึ้นนั้น จะเป็นอันเสียเปล่าก็แต่เมื่อพิสูจน์ได้ว่าในเวลาที่ทำนั้นผู้ทำจริตวิกลอยู่ ตามมาตรา 1704 วรรคสอง

    ดังนั้น พินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถไม่ตกเป็นโมฆะ คือสมบูรณ์มีผลตามกฎหมายได้

12. พินัยกรรมหรือข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นถ้าได้ทำขึ้นขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1652 , 1653 , 1656 , 1567 , 1658 , 1660 , 1661 หรือ 1663 ย่อมเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1705 นั่นคือ กรณีผู้อยู่ในความปกครองทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ผู้ปกครอง หรือคู่สมรสหรือผู้สืบสันดาหรือพี่น้องของผู้ปกครอง , กรณีผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมหรือคู่สมรสของผู้เขียนหรือของพยานในพินัยกรรมเป็นผู้รับพินัยกรรมด้วย หรือพินัยกรรมทำไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ตามแต่ละแบบต่างๆ นั่นเอง

 

 

 

 ***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์   02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816  หรือ                          ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com  ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice    ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

 

 

หน้าที่ของทนายความคดีจัดทำพินัยกรรม

1. เตรียมคดี โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งจากฝ่ายลูกความและบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

2. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารว่าลูกความว่ามีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพราะคดีจัดทำพินัยกรรมต้องมีพยานเอกสารมาแสดงในการสืบพยานในศาลด้วยตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เพราะการทำพินัยกรรมมีแบบกำหนดไว้ตามกฎหมายจึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย

3. ตรวจสอบสิทธิ,หน้าที่ ทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องทั้งที่เป็นมรดกและทรัพย์สินของเจ้ามรดกที่ได้มาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้ว เช่น เงินประกันชีวิต หรือบำเหน็จบำนาญตกทอด เป็นต้น ซึ่ง เงินดังกล่าวนำกฎหมายว่าด้วยมรดกมาเทียบเคียงใช้ด้วย รวมถึงคำนวณยอดหนี้ ค่าเสียหายที่ตกทอดเป็นมรดกโดยรวมทั้งหมด หรือกรณีที่เกิดจากการที่ผู้่จัดการมรดกทำผิดหน้า่ที่ด้วย

4. ตรวจดูพินัยกรรมทั้งฉบับหรือข้อกำหนดแต่ละข้อว่ามีผลบังคับตามกฎหมายหรือไม่ หรือตกไปด้วยสาเหตุใด และพินัยกรรมสมบูรณ์ในแบบใดตามกฎหมาย

5. ค้นหาข้อกฎหมาย ค้นคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง และอายุความหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีของลูกความ

6. ดูแลผลประโยชน์ของลูกความในผลความคืบหน้าของคดีอย่างสม่ำเสมอ

7. ให้คำแนะนำปรึกษาในทางกระบวนพิจารณาของศาลและข้อกฎหมายแก่ลูกความอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อประกอบการตัดสินใจของลูกความ