เลขที่ 919/541 อาคารจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ ชั้น49 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพ ฯ ไทย 10500
ทนายความคดีหย่า ที่ต้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู บุตรหรือคู่สมรส
ทนายความคดีหย่า สาระสำคัญของค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ทนายความคดีหย่าต้องดำเนินการ
1. ค่าอุปการะเลี้ยงดู มีกฎหมายบัญญัติรับรองอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยเรื่องครอบครัว ลักษณะ 3
2. ค่าอุปการะเลี้ยงดู ไม่มีนิยามศัพท์เฉพาะในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงอาจพอสรุปได้ว่า "ค่าอุปการะเลี้ยงดู" หรือเรียกทั่วไปว่า "ค่าเลี้ยงดู" คือ เงินที่จ่ายเป็นครั้งคราวเพื่ออุปการะกันระหว่างบุคคลที่เกี่ยวพันกันในทางครอบครัวและตามกฎหมาย ได้แก่ สามีภริยา บิดามารดา และบุตร มีอยู่ 2 ประเภท คือ ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา และค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างบิดามารดากับบุตร
3. ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยาหรือระหว่างบิดามารดากับบุตรนั้นย่อมเรียกจากกันได้ในเมื่อฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะเลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่พียงพอแก่อัตภาพ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี ตามมาตรา 1598/38
4. เมื่อผู้มีส่วนได้เสียแสดงว่าพฤติการณ์รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลจะสั่งแก้ไขในเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยให้เพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับได้ ค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกก็ได้ ตามมาตรา 1598/39 วรรคหนึ่ง
ในกรณีที่ศาลไม่พิพากษาให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู เพราะเหตุแต่เพียงอีกฝ่ายหนึ่งไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ในขณะนั้น หากพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป และพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของผู้เรียกร้องอยู่ในสภาพที่ควรได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู ผู้เรียกร้องอาจร้องขอให้ศาลเปลี่ยนแหลงคำสั่งในคดีนั้นใหม่ได้ ตามมาตรา 1598/39 วรรคสอง
5. ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นให้ชำระเป็นเงินโดยวิธีชำระหนี้เป็นครั้งคราวตามกำหนด เว้นแต่คู่กรณีจะตกลงกันให้ชำระเป็นอย่างอื่นหรือโดยวิธีอื่น ถ้าไม่มีการตกลงกันและมีเหตุพิเศษ เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอและศาลเห็นสมควร จะกำหนดให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นอย่างอื่นหรือโดยวิธีการอื่น โดยจะให้ชำระเป็นเงินด้วยหรือไม่ก็ได้ ตามมาตรา 1598/40 วรรคหนึ่ง
ในกรณีขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร เมื่อมีเหตุพิเศษและศาลเห็นเป็นการสมควรเพื่อประโยชน์แก่บุตร จะกำหนดให้บุตรได้รับการอุปการะเลี้ยงดูโดยประการใดๆ นอกจากที่คู่กรณีตกลงกันหรือนอกจากที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอก็๋ได้ เช่นให้ไปอยู่ในสถานการศึกษาหรือวิชาชีพ โดยให้ผู้ที่มีหน้าที่ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูออกค่าใช้จ่ายในการนี้ ตามมาตรา 1598/40 วรรคสอง
7. สิทธิที่จะได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นจะสละหรือโอนมิได้และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี ตามมาตรา 1598/41 ดังนั้นถือว่าค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้จึงถือว่าเป็นทรัียพ์นอกพาณิชย์ ห้ามโอนสิทธิกันเด็ดขาด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 143
***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์ 02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816 หรือ ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****
หน้าที่ของทนายความคดีหย่าต้องดำเนินการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู
1. เตรียมคดี โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งจากฝ่ายลูกความและบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
2. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารว่าลูกความว่ามีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพราะคดีเกี่ยวกับการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูอาจมีเอกสารราชการหรือเอกสารมหาชนเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ทะเบียนสมรส เอกสารการจดทะเบียนรับรองบุตร เป็นต้น
3. ตรวจสอบสิทธิ,หน้าที่ ทั้งหมดของลูกความและบุคคลฝ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น เหตุที่ทำให้มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู เหตุที่ทำให้ศาลสั่งให้ไม่ต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู หรือเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจำนวนค่าอุปการะเลี้ยงดู เป็นต้น
4. ค้นหาข้อกฎหมาย ตรวจสอบคำพิพากษศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง และอายุความหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีของลูกความ
5. ดูแลผลประโยชน์ของลูกความในผลความคืบหน้าของคดีอย่างสม่ำเสมอ
6. ให้คำแนะนำปรึกษาในทางกระบวนพิจารณาของศาลและข้อกฎหมายแก่ลูกความอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อประกอบการตัดสินใจของลูกความ
การใช้ทนายความคดีหย่า จะทำให้ท่านได้ประโยชน์แก่บุตร และตัวท่าน เนื่องจากมีประสบการณ์ด้านคดีหย่าโดยตรง เพราะกฎหมายครอบครัวจะมีเนื้อหามากและเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จึงต้องอาศัยผู้ชำนาญด้านกฎหมายครอบครัวเฉพาะด้านอีกด้วย