ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6881463
375003


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  4 ราย


ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา 

สาระสำคัญของนิติกรรม

 

1. นิติกรรม มีกฎหมายรับรองอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 หลักทั่วไป ลักษณะ 4 ว่าด้วยนิติกรรม

2. นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลียนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ  ตามมาตรา 149

3. นิติกรรมคือการเจตนาแต่ฝ่ายเดียวหรือหลายฝ่าย ถ้าเป็นการแสดงเจตนาตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป จะกลายเป็นสัญญาขึ้นได้ เช่น สัญญาซื้อขาย มีฝ่ายผู้ซื้อและฝ่ายผู้ขาย สัญญาแลกเปลี่ยน เป็นต้น

4. นิติกรรมฝ่ายเดียวมี 2 ประเภท คือ นิติกรรมฝ่ายเีดียวแบบเคร่งครัด และนิติกรรมฝ่ายเดียวที่ต้องการฝ่ายผู้รับการแสดงเจตนา

    - นิติกรรมฝ่ายเดียวแบบเคร่งครัด เช่น พินัยกรรม เป็นต้น

    - นิติกรรมฝ่ายเีดียวที่ต้องมีผู้รับการแสดงเจตนา เช่น การบอกเลิกสัญญา การบอกล้างโมฆยะกรรม เป็นต้น

 

สาระสำคัญของสัญญา

 

1. หลักสัญญาต้องเป็นสัญญา ดังนั้น ก่อนทำสัญญาผูกพันตนเอง จำเป็นต้องตรวจสอบและึคิดวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนถึงข้อดี ข้อเสีย ข้อได้เปรียบ หรือเสียเปรียบบให้ดีเสียก่อน

2. สัญญาคือนิติกรรมตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป

3. สัญญาเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเสนอ และอีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาสนองรับ ซึ่งจะเกิดเป็นสัญญาได้ต้องเป็นกรณีที่การเสนอสนองจะต้องตรงกัน เช่น ทรัพย์สินในสัญญาตรงกันแน่นอน ราคาหรือค่าใช้จ่ายแน่นอน สถานที่ในการส่งมอบแน่นอน กำหนดเวลาในการปฏิบัติตามสัญญาแน่นอน เป็นต้น

4. สัญญาเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้อย่างหนึ่ง แบ่งเป็น สัญญาต่างตอบแทน และสัญญาไม่ต่างตอบแทน , สัญญามีค่าตอบแทนและสัญญาไม่มีค่าตอบแทน

5. สัญญาแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้

 

 

 

 ***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์ 02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816  หรือ                          ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com  ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice    ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

 

 

    - สัญญาต่างตอบแทน หมายถึง สัญญาที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายต่างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อกัน เช่น สัญญาซื้อขาย ผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันนั้น ส่วนผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องชำระราคาทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นตามสัญญา เป็นต้น

    -  สัญญาไม่ต่างตอบแทน หมายถึง สัญญาที่คู่สัญญาแต่ฝ่ายเดียวต้องปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญา โดยอีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องกระทำการใดๆ เช่น สัญญายืม ผู้ยืมเท่านั้นที่ต้องส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมไปคืนผู้ให้ยืม เป็นต้น

    - สัญญามีค่าตอบแทน หมายถึง สัญญาที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายต่างต้องให้ประโยชน์เป็นค่าตอบแทนซึ่้งกันและกัน โดยค่าตอบแทนนั้นจะเป็นทรัพย์สินหรือแรงงานก็ได้ เช่นสัญญาซื้อขาย ผู้ซื้อต้องชำระราคาค่าทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น ส่วนผู้ขายก็ต้องส่งมอบทรัพยฺ์สินของตนเป็นการตอบแทนราคาที่ผู้ซื้อชำระมา

    - สัญญาไม่มีค่าตอบแทน หมายถึง สัญญาที่ทำแล้วคู่สัญญาไม่มีค่าตอบแทนใดๆ กลับมา เช่น สัญญาให้โดยเสน่หา เป็นต้น