ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
21/08/2567
13030361
382627


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  867 ราย


ทนายความ ทนาย ที่ปรึกษากฎหมาย 

ทางสำนักงานเราสามารถจัดหาทนายความในคดีประเภทต่างๆ ให้แก่ท่าน ได้แก่ทนายความในคดีที่มีข้อพิพาทตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในสาขาคดีต่างๆ ดังต่อไปนี้

 

1. ทนายความคดีกู้ยืมเงิน, ทนายความคดีเงินกู้

สาระสำคัญในคดีกู้ยืมเงิน

- การกู้ยืมเงินกันกว่า 2,000 บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้เป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะนำคดีมาฟ้องร้องผู้กู้ต่อศาลให้บังคับดคีไม่ได้

....อ่านต่อ คลิ๊ก....

 

2. ทนายความคดีผิดสัญญา

สาระสำคัญของสัญญา

- หลักสัญญาต้องเป็นสัญญา

- สัญญาคือนิติกรรมตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป

....อ่านต่อ คลิ๊ก....

 

3. ทนายความคดีซื้อขาย ทนายความคดีผิดสัญญาซื้อขาย

สาระสำคัญของสัญญาซื้อขาย

1. เป็นสัญญาประเภทหนึ่ง มีกฎหมายรับรองอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3

ลักษณะ 1

2. เป็นนิติกรรมประเภท สองฝ่ายหรือนิติกรรมหลายฝ่าย

....อ่านต่อ คลิ๊ก....

 

4. ทนายความคดีเช่าทรัพย์, คดีเช่าซื้อ

สาระสำคัญของสัญญาเช่าทรัพย์

1. เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่มีกฎหมายรองรับไว้ บัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 4

2. เป็นนิติกรรมประเภท นิติกรรมสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย เช่น มีผู้ให้เช่า ผู้เช่า และผู้เช่าช่วง เป็นต้น

....อ่านต่อ คลิ๊ก....

 

5. ทนายความคดีค้ำประกัน

สาระสำคัญของสัญญาค้ำประกัน

1. เป็นสัญญาที่มีบทบัญญัติของกฎหมายรองรับไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 11
2. เป็นสัญญาอุปกรณ์ ซึ่งจะต้องมีสัญญาประธานหรือมูลหนี้หลักอยู่ก่อน เช่น สัญญาค้ำประกันในหนี้เงินกู้ , สัญญาค้ำประกันการชำระค่าสินค้า สัญญาค้ำประกันค่าเสียหายจากการกระทำละเมิด หรือสัญญาค้ำประกันการก่อสร้างของผู้รับจ้าง เป็นต้น

....อ่านต่อ คลิ๊ก....

 

6. ทนายความคดีจำนอง, ทนายความคดีจำนำ

สาระสำคัญขอสัญญาจำนอง

1. ส้ัญญาจำนองมีกฎหมายรับรองซึ่งบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 12

2. เป็นนิติกรรมสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย ได้แก่ มีเจ้าหนี้ มีลูกหนี้(กรณีเป็นผู้จำนองทรัพย์สินของ ตนเอง) และอาจมีบุคคลภายนอก(กรณีจำนองเพื่อประกันหนี้ของบุคคลอื่น)

....อ่านต่อ คลิ๊ก....

 

7. ทนายความคดีประกันภัย

สาระสำคัญของสัญญาประกันภัย

1. สัญญาประกันภัยมีกฎหมายรองรับอยู่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 20

2. เป็นนิติกรรมประเภท นิติกรรมสองฝ่าย หรือหลายฝ่าย เช่น มี ผู้เอาประกันภัย , ผู้รับประกันภัยและผู้รับประโยชน์(ซึ่งอาจเป็นบุคคลภายนอกบุคคลได้ก็ได้แล้วแต่ผู้เอาประกันจะกำหนดไว้) เป็นต้น

....อ่านต่อ คลิ๊ก....

 

8. ทนายความคดีเช็ค, คดีตั๋วแลกเงิน, คดีตั๋วสัญญาใช้เงิน

สาระสำคัญของกฎหมายตั๋วเงิน

1. ตั๋วเงินมีกฎหมายรับรองอยู่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ลักษณะ 21

2. ตั๋วเงินมี 3 ประเภท คือ ตัวแลกเงิน ตั๋วสัญญาใ้ช้เงิน และเช็ค ตามมาตรา 898

....อ่านต่อ คลิ๊ก....

 

9. ทนายความคดีทรัพย์สิน

สาระสำคัญเกี่ยวทรัพย์สิน

1. ทรัพสินนั้นมีกฎหมายรับรองอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 บทเบ็ดเสร็จ ทั่วไป ลักษณะ 3 ทรัพย์ และ บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน

2. คำนิยามศัพท์ตามกฎหมายมีอยู่ในบรรพ 1 ลักษณะ 3 มีดังนี้

2.1 ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง ตามมาตรา 137

....อ่านต่อ คลิ๊ก....

 

10. ทนายความคดีบัตรเครดิต

สาระสำคัญของบัตรเครดิต

1. บัตรเครดิต หรือ บัตรสินเชื่อ คือบัตรอิเล็กทรอนิกส์ประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นบริการที่สถาบันการเงิน ต่างๆ ออกให้แก่ลูกค้า เพื่อใช้จ่ายแทนเงินสด บัตรเครดิตที่รู้จักกันทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น บัตรวีซ่า , มาสเตอร์การ์ด , เจบีซี , อเมริกันเอกซ์เพรส , ดิสคับเวอร์ และไดเนอร์สคลับ

2. บัตรเครดิตสามารถใช้ได้ตามจำนวนวงเงินในบัตร ที่อนุมัติหักออกด้วยค่าสินค้าและบริการที่ ลูกค้านำไปใช้จ่ายผ่านบัตรดังกล่าว รวมค่าธรมเนียม ดอกเบี้ย และหนี้สินคงค้างที่ยังไม่ได้ชำระต่อ สถาบันการเงินผู้ออกบัตร

....อ่านต่อ คลิ๊ก....

 

11. ทนายความคดีที่ดิน กรรมสิทธิ์ที่ดิน ครอบครองปรปักษ์ บุกรุก เรียกที่ดินคืน

สาระสำคัญของที่ดินและสิทธิต่างๆ เกี่ยวกับที่ดิน

1. ที่ดินเป็นอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 139

2. ที่ดินอาจมีได้ประเภท เช่น ที่ดินมีกรรมสิทธิ์ สังเกตุได้จากที่ดินจะมีโฉนดที่ดิน หรือที่ดินมีเพียงสิทธิครอบครอง สังเกตุได้จากที่ดินจะมีเอกสารสำคัญแสดงสิทธิการครอบครองคือ น.ส.3 , น.ส.3 หรือ ส.ค.1 หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประชาชนไม่อาจอ้างสิทธิใดๆ ต่อสู้กับรัฐได้เลยเป็นต้น

....อ่านต่อ คลิ๊ก....

 

12. ทนายความดคีเพิกถอนการให้ เพิกถอนนิติกรรม

สาระสำคัญของการเพิกถอนนิติกรรม

1. นิติกรรม มีกฎหมายรับรองอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 หลักทั่วไป ลักษณะ 4 ว่าด้วยนิติกรรม

2. นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลียนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ ตามมาตรา 149

....อ่านต่อ คลิ๊ก....

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทนายความอาญา ทนายความคดีอาญา

1. ทนายคดีความผิดต่อชีวิต

 

สาระสำคัญของคดีความผิดต่อชีวิต

1. ความผิดต่อชีวิตมีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 10 ว่าด้วยเรื่อง ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย หมวด 1 ความผิดต่อชีวิต มีฐานความผิดที่เกี่ยวข้องต่างๆ ดังต่อไปนี้

- ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตามมาตรา 288 และมาตรา 289

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

2. ทนายความคดีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา

 

สาระสำคัญของความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา

1. ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา มีบัญญัติอยู่ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 10 ว่าด้วยเรื่อง ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย หมวด 1 ความผิดต่อชีวิต

2. ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี ตามมาตรา288 สังเกตว่าความผิดฐานนี้ไม่มีโทษปรับ

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

3. ทนายความคดีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา

 

สาระสำคัญของคดีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา

1. ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา มีบัญญัติอยู่ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 10 ว่าด้วยเรื่อง ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย หมวด 1 ความผิดต่อชีวิต

2. ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี ตามมาตรา 290 วรรคหนึ่ง

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

4. ทนายความคดีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

 

สาระสำคัญของคดีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

1. ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีบัญญัติอยู่ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 10 ว่าด้วยเรื่อง ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย หมวด 1 ความผิดต่อชีวิต

2. ผู้ใดกระทำการโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ตามมาตรา 291

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

 

 ***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์ 02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816                   

 หรือทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com  ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice       ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

 

 

5. ทนายความคดีความผิดต่อร่างกาย

 

สาระสำคัญของคดีความผิดต่อร่างกาย

1. ความผิดต่อชีวิตมีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 10 ว่าด้วยเรื่อง ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย หมวด 2 ความผิดต่อร่างกาย มีฐานความผิดที่เกี่ยวข้องต่างๆ ดังต่อไปนี้

- ความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจโดยเจตนา ตามมาตรา 295 และมาตรา 296 ประกอบมาตรา 289

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

6. ทนายความคดีฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยเจตนา

 

สาระสำคัญของคดีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยเจตนา

1. ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยเจตนา มีบัญญัติอยู่ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 10 ว่าด้วยเรื่อง ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย หมวด 2 ความผิดต่อร่างกาย

2. ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย หรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 295

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

7. ทนายความคดีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

 

สาระสำคัญของคดีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

1. ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ มีบัญญัติอยู่ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 3 ลหุโทษ

2. ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

8. ทนายความคดีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส

 

สาระสำคัญของความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส

1. ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส มีบัญญัติอยู่ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 10 ว่าด้วยเรื่อง ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย หมวด 2 ความผิดต่อร่างกาย

2. ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 300

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

9. ทนายความคดีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจ

 

สาระสำคัญของคดีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจ

1. ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจ มีบัญญัติอยู่ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 3 ลหุโทษ

2. ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

10. ทนายความคดีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับอันตรายสาหัส

สาระสำคัญของคดีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับอันตรายสาหัส

1. ความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับอันตรายสาหัส มีบัญญัติอยู่ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 10 ว่าด้วยเรื่อง ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย หมวด 2 ความผิดต่อร่างกาย

2. ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี (ไม่มีโทษปรับ) ตามมาตรา 297 วรรคหนึ่ง)

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....


 

11. ทนายความคดีความผิดต่อทรัพย์สิน

 

สาระสำคัญของคดีความผิดต่อทรัพย์สิน

1. ความผิดต่อทรัพย์มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 12 มีีทั้งหมด 8 หมวด 1 มีดังต่อไปนี้

- ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์ ตามมาตรา 334 ถึงมาตรา 336 ทวิ

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

12. ทนายความคดีความผิดฐานลักทรัพย์

 

สาระสำคัญของความผิดฐานลักทรัพย์

1. ความผิดฐานลักทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 1 ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์

2. ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท ตามมาตรา 334

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

13. ทนายความคดีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์

 

สาระสำคัญความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์

1. ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 1 ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์

2.. ผู้ใดลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ผู้นั้นกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 336 วรรคหนึ่ง สังเกตว่า ความผิดตามวรรคนี้เป็นบทลงโทษทั้งจำและปรับศาลจะไม่ลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

14. ทนายความคดีความผิดฐานชิงทรัพย์

 

สาระสำคัญของความผิดฐานชิงทรัพย์

1. ความผิดฐานชิงทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 2 ความผิดฐานกรรโชก รีดทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์

2. ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

15. ทนายความคดีความผิดฐานปล้นทรัพย์

 

สาระสำคัญของความผิดฐานปล้นทรัพย์

1. ความผิดฐานปล้นทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 2 ความผิดฐานกรรโชก รีดทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์

2. ผู้ใดชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 30,000 บาท ตามมาตรา 340วรรคแรก

 

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

16. ทนายความคดีความผิดฐานกรรโชกทรัพย์

 

สาระสำคัญของความผิดฐานกรรโชกทรัพย์

1. ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 2 ความผิดฐานกรรโชก รีดทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์

2. ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกรรโชก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 337 วรรคหนึ่ง

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

17. ทนายความคดีความผิดฐานฉ้อโกง

 

สาระสำคัญของความผิดฐานฉ้อโกง

1. ความผิดฐานชิงทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 3 ความผิดฐานฉ้อโกง

2. ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 341

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

 

18. ทนายความคดีความผิดฐานยักยอกทรัพย์

 

สาระสำคัญของความผิดฐานยักยอกทรัพย์

1. ความผิดฐานชิงทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ภาความผิด ลักษณะ 12 ค</