ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
21/08/2567
13036845
382629


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  869 ราย


ทนายความคดีอาญา ทนายคดีอาญาเก่งๆดูอย่างไร 

 ทนายความคดีอาญา (ทนายความ)  ( 1/5/55 )

ระบบกฎหมายของประเทศไทยเป็นระบบกล่าวหา คือผู้เสียหายจะกล่าวหาว่าผู้ต้องหา ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือนิติบุคคล มีความผิดทางกฎหมายหรือไม่อย่างไร

ผู้ถูกกล่าวหาจะต้องหาหลักฐานทำให้ปรากฎแก่ศาลในชั้นศาล สถานีตำรวจในชั้นสอบสวน หรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจสอบสวน ว่าตนเองไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด

โดยจะใช้พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานทางวิทยาศาสตร์ พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์และการทำลายน้ำหนักความหน้าที่เชื่อถือของพยานฝ่ายเสียหาย หรือไม่

ถ้าเป็นผู้กระทำผิดก็จะถูกตัดสินลงโทษ ไม่ว่าจะเป็นโทษ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์

แต่เนื่องจากศาลก็เป็นหนึ่งของหน่วยงานของรัฐเช่นเดียวกับ พนักงานอัยการ ตำรวจ พนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่อื่นใด การชั่งน้ำหนักของศาลย่อมทำให้รู้สึกว่ามีความโน้มเอียงไปทางเจ้าหน้าที่ของรัฐบ้างเล็กน้อยปรากฎในคำพิพากษาฎีกาบ่อยๆ ว่า เจ้าพนักงานไม่มีเหตุโกรธเคืองจำเลย ดังนั้นย่อมไม่มีเหตุกลั่นแกล้งจำเลย การกล่าวหาจำเลยย่อมเชื่อได้ว่า จำเลยเป็นผู้กระทำผิด

การกล่าวอ้างหลักฐานอย่างใดที่เป็นหลักฐานของบุคคลที่ตกเป็นจำเลยว่าอยู่ในเกิดเหตุในช่วงเวลากระทำความผิดตนเองอยู่ในพื้นที่ขององค์กรเอกชนเช่นการอ้างฐานที่อยู่ว่าอยู่กับญาติพี่น้อง , การตอกบัตรทำงานในบริษัทเอกชน , การลงชื่อเข้าทำงานของบุคคลที่ตกเป็นจำเลยในบริษัทเอกชนย่อม ไม่มีน้าหนักให้ศาลรับฟังซึ่งปรากฎเสมอมาในแนวคำพิพากษาของศาลฎีกา ซึ่งประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้เรียนด้านกฎหมายอย่างลึกซึ้งส่วนใหญ่ของประเทศย่อมไม่รู้ถึงแนวทางคำพิพากษาดังกล่าว

โดยประชาชนเมื่อถูกฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาล อาจหลงใช้ข้อต่อสู้ว่าตนเองอยู่กับบุคคลในครอครัวในเวลาเกิดเหตุ โดยคิดว่าจะทำให้ศาลเชื่อว่าไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุ ย่อมไม่มีน้ำหนักให้ศาลรับฟังและเชื่อถือ

 ดังนั้นการที่จะพิสูจน์ตัวเองของจำเลยในชั้นศาล จึงต้องมีผู้ช่วยแนะนำทางกฎหมายโดยมีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน คดีอาญา ได้แก่ทนายความคดีอาญา ซึ่งบุคคลที่เป็นทนายความ และมีประสบการณ์ว่าความด้านคดีอาญามาก่อน

ทนายความในคดีอาญาสามารถทำหน้าที่แทนจำเลยได้หลายกรณี เช่น การยื่นขอประกันตัว การเขียนคำร้องเพื่อแถลงต่อศาลแทนจำเลย การถามพยานและการซักค้านพยานโจทก์ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการเป็นทนายความคดีอาญาที่ดี

ทนายความคดีอาญาที่เก่งนั้นย่อมมีความสามารถในการทำลายน้ำหนักของพยานหลักฐานพยานโจทก์ได้ดีถ้าทานได้เจอทนายความคดีอาญาแต่ไม่รู้ถึงวิธีทำลายน้ำหนักพยานโจทก์ แสดงว่าทนายความท่านนั้น ยังไม่เป็นมวย หรือเรียกว่ามือไม่ถึง

ความสามารถในการซักค้านเพื่อทำลายน้ำหนักพยานโจทก์นั้นเป็นเรื่องที่ทนายความอาญาเก่งๆ จะมีความสามารถในการซักค้านได้ เป็นเรื่องของทนายความแต่ละคนไป เป็นเรื่องศาสตร์และศิลป์เฉพาะตัวบุคคลที่ต้องฝึกฝน โดยไม่มีการสอนในชั้นมหาวิทยาลัย ขึ้นอยู่กับทนายความท่านนั้นๆว่าความเรื่องคดีอาญามามากหรือน้อย ผลของคดีชนะหรือแพ้มากน้อยอย่างไร  และมีความละเอียดในการทำคดีเพียงใดทนายความคดีอาญาที่ดี ต้องมีความสามารถ เก่งกว่าผู้พิพากษา อัยการ พนักงานตำรวจ

 

 

...........................................................................................................................................

 

             โดยทางสำนักงานเราสามารถจัดหาทนายความในคดีประเภทต่างๆ ให้แก่ท่าน  ได้แก่ทนายความในคดีที่มีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายอาญาในสาขาคดีต่างๆ ดังต่อไปนี้

 

1. ทนายความคดีความผิดต่อชีวิต

 

สาระสำคัญของคดีความผิดต่อชีวิต

1. ความผิดต่อชีวิตมีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 10 ว่าด้วยเรื่อง ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย หมวด 1 ความผิดต่อชีวิต มีฐานความผิดที่เกี่ยวข้องต่างๆ ดังต่อไปนี้

           - ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตามมาตรา 288 และมาตรา 289

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

2. ทนายความคดีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา

 

สาระสำคัญของความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา

1. ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา มีบัญญัติอยู่ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 10 ว่าด้วยเรื่อง ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย หมวด 1 ความผิดต่อชีวิต

2. ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี ตามมาตรา288 สังเกตว่าความผิดฐานนี้ไม่มีโทษปรับ

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

3. ทนายความคดีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา

 

สาระสำคัญของคดีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา

1. ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา มีบัญญัติอยู่ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 10 ว่าด้วยเรื่อง ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย หมวด 1  ความผิดต่อชีวิต

2. ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี ตามมาตรา 290 วรรคหนึ่ง

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

4. ทนายความคดีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

 

สาระสำคัญของคดีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

1. ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีบัญญัติอยู่ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 10 ว่าด้วยเรื่อง ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย หมวด 1 ความผิดต่อชีวิต

2. ผู้ใดกระทำการโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ตามมาตรา 291

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

 

 **** หากท่านต้องการหาทนายความ ปรึกษาทนายความ ต้องการทนายความคดีอาญา บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด เป็นบริษัททนายความที่ยินดีให้บริการปรึกษากฎหมาย มีทนายความมืออาชีพพร้อมบริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราได้ที่เบอร์ 02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816                                           ทาง e-mail : smelawservice@hotmail.com          ทาง facebook : ww.facebook.com/smelawservice                     ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

 

5. ทนายความคดีความผิดต่อร่างกาย

 

สาระสำคัญของคดีความผิดต่อร่างกาย

1. ความผิดต่อชีวิตมีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 10 ว่าด้วยเรื่อง ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย หมวด 2  ความผิดต่อร่างกาย มีฐานความผิดที่เกี่ยวข้องต่างๆ ดังต่อไปนี้

           - ความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจโดยเจตนา ตามมาตรา 295 และมาตรา 296 ประกอบมาตรา 289

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

6. ทนายความคดีฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยเจตนา

 

สาระสำคัญของคดีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยเจตนา

1. ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยเจตนา มีบัญญัติอยู่ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 10 ว่าด้วยเรื่อง ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย หมวด 2 ความผิดต่อร่างกาย

2. ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย หรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 295

 ....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

7. ทนายความคดีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

 

สาระสำคัญของคดีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

1. ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ มีบัญญัติอยู่ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 3 ลหุโทษ

2. ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  ....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

8. ทนายความคดีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส

 

สาระสำคัญของความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส

1. ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส มีบัญญัติอยู่ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 10 ว่าด้วยเรื่อง ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย หมวด 2 ความผิดต่อร่างกาย

2. ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 300

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

9. ทนายความคดีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจ

 

สาระสำคัญของคดีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจ

1. ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจ มีบัญญัติอยู่ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 3 ลหุโทษ

2. ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 ....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

10. ทนายความคดีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับอันตรายสาหัส

สาระสำคัญของคดีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับอันตรายสาหัส

1. ความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับอันตรายสาหัส มีบัญญัติอยู่ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 10 ว่าด้วยเรื่อง ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย หมวด 2 ความผิดต่อร่างกาย

2. ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี (ไม่มีโทษปรับ) ตามมาตรา 297 วรรคหนึ่ง)

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....


 

11. ทนายความคดีความผิดต่อทรัพย์สิน

 

สาระสำคัญของคดีความผิดต่อทรัพย์สิน

1. ความผิดต่อทรัพย์มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 12 มีีทั้งหมด 8 หมวด 1 มีดังต่อไปนี้

           - ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์ ตามมาตรา 334 ถึงมาตรา 336 ทวิ

 ....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

12. ทนายความคดีความผิดฐานลักทรัพย์

 

สาระสำคัญของความผิดฐานลักทรัพย์ 

1. ความผิดฐานลักทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 1 ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์

2. ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท ตามมาตรา 334

 ....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

13. ทนายความคดีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์

 

สาระสำคัญความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์

1. ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 1 ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์

2.. ผู้ใดลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ผู้นั้นกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 336 วรรคหนึ่ง สังเกตว่า ความผิดตามวรรคนี้เป็นบทลงโทษทั้งจำและปรับศาลจะไม่ลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

 ....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

14. ทนายความคดีความผิดฐานชิงทรัพย์

 

สาระสำคัญของความผิดฐานชิงทรัพย์

1. ความผิดฐานชิงทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 2 ความผิดฐานกรรโชก รีดทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์

2. ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย

 ....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

 15. ทนายความดคีความผิดฐานปล้นทรัพย์

 

สาระสำคัญของความผิดฐานปล้นทรัพย์

1. ความผิดฐานปล้นทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 2 ความผิดฐานกรรโชก รีดทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์

2. ผู้ใดชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 30,000 บาท ตามมาตรา 340วรรคแรก

 

  ....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

16. ทนายความคดีความผิดฐานกรรโชกทรัพย์

 

สาระสำคัญของความผิดฐานกรรโชกทรัพย์

1. ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 2 ความผิดฐานกรรโชก รีดทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์

2. ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกรรโชก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 337 วรรคหนึ่ง

  ....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

17. ทนายความคดีความผิดฐานฉ้อโกง

 

สาระสำคัญของความผิดฐานฉ้อโกง

1. ความผิดฐานชิงทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 3 ความผิดฐานฉ้อโกง

2. ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 341

  ....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

 

18. ทนายความคดีความผิดฐานยักยอกทรัพย์

 

สาระสำคัญของความผิดฐานยักยอกทรัพย์

1. ความผิดฐานชิงทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 5 ความผิดฐานยักยอก

2. ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบงเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 352 วรรคหนึ่ง

  ....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

19. ทนายความคดีความผิดฐานรับของโจร

 

สาระสำคัญของความผิดฐานรับของโจร

1. ความผิดฐานชิงทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 6 ความผิดฐานรับของโจร

2. ผู้ใด “ช่วย” ซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอกหรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 357 วรรคหนึ่ง

....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....

 

 

20. ทนายความดคีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

 

สาระสำคัญของความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

1. ความผิดฐานชิงทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 7 ว่าด้วยเรื่องความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

2. ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชนซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 358

  ....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....