เลขที่ 919/541 อาคารจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ ชั้น49 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพ ฯ ไทย 10500
สาระสำคัีญของคดีล้มละลายและคดีฟื้นฟูกิจการ
คดีล้มละลายมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องบัญญัติรับรองไว้ คือ
(1) พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
(2) พระราชบํญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542
(3) ประมวลกฎหมายวิธ๊พิจารณาความแพ่งและประมวลกฎหมายวิธีพิจากรณาความคดีอาญา (ซึ่งต้องนำมาอนุโลมใช้ในบางกรณี)
- ส่วนคดีล้มละลาย
เป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ยกเว้น หมวด 3/1 กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจกิจการของลูกหนี้
1. คำนิยามศัพท์ที่สำคัญ (ตามมาตรา 6)
“เจ้าหนี้มีประกัน” หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนอง จำนำ หรือสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ
....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....
- ส่วนคดีฟื้นฟูกิจการ
เป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 หมวด 3/1 กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจกิจการของลูกหนี้
1. คำนิยามศัพท์ที่สำคัญ (ตามมาตรา 90/1)
“เจ้าหนี้” หมายความว่า เจ้าหนี้มีประกันหรือเจ้าหนี้ไม่มีประกัน
“ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ที่เป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
....อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก....
***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์ 02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816 หรือ ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****
หน้าที่ของทนายความคดีล้มละลายและคดีฟื้นฟูกิจการ
1. เตรียมคดี ตรวจสอบและค้นหาข้อเท็จจริงจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้รอบด้านมากที่สุด
2. รวบรวมและตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสาร เพราะมูลหนี้บางกรณีที่เจ้าหนี้นำมาฟ้องลูกหนี้ อาจเป็นกรณีที่มีเอกสารจำนวนมากเนื่องจากมีเจ้าหนี้หลายราย, มูลหนี้หลายรายการ หรือกรณีที่กฎหมายต้องการเอกสารมาแสดงในการสืบพยานในชั้นศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เช่น หนี้กู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป หรือหนี้ตามสัญญาเชาซื้อ เป็นต้น
3. ตรวจค้นข้อกฎหมาย และคำพิพากษาศาลของศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงอายุความหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีของลูกความด้วย
4. ตรวจสอบสิทธิหน้าที่ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ทั้งหมดที่มีตามกฎหมาย
5. คำนวณและคำนวณยอดหนี้พร้อมดอกเบี้ยทั้งหมด
6. ติดตามผลคดีของลูกความอย่างต่อเนื่อง ทั้งในชั้นศาล ชั้นประนอมหนี้ และชั้นการดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักทรัพย์จนกว่าจะเสร็จสิ้นคดีล้มละลาย เพื่อรักษาประโยชน์ของลูกความ
7. ให้คำปรึกษาและข้อมูลต่างๆ แก่ลูกความอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้ลูกความนำไปใช้ในการตัดสินใจต่อไป