เลขที่ 919/541 อาคารจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ ชั้น49 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพ ฯ ไทย 10500
สาระสำคัญของทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส
1. เรื่องทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสมีบัญญัติรับรองอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ลักษณะ 1 การสมรส ในหมวด 4 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
2. การจะเกิดผลทางกฎหมายในเรื่องทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามหมวดนี้ได้จะต้องมีการจดทะเบียนสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายเสียก่อน ตามมาตรา 1457 และด้วยความสมัครใจยินยอมของทั้งสองฝ่ายโดยให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย ตามมาตรา 1458
3. ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ สินสมรส กับสินส่วนตัว ซึ่งได้กล่าวแล้วว่า การจะทำให้เป็นสินสมรสได้ จะต้องมีการจดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลทั้งสองฝ่ายเสียก่อน
4. ทรัพยฺ์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัว ย่อมเป็นสินสมรส ตามมาตรา 1470
5. สินส่วนตัวได้แก่ (ตามมาตรา 1471)
(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช่ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดยการให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น
6. สินสมรส ได้แก่ทรัพย์สิน (ตามมาตรา 1474)
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
7. ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือไม่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส ตามมาตรา 1474 วรรคสอง
8. สินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี ซื้อทรัพย์สินอื่นมาก็ดี หรือขายได้เป็นเงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว ตามมาตรา 1472 วรรคหนึ่ง
สินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แต่ได้ทรัพย์อื่นหรือเงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว ตามมาตรา 1472 วรรคสอง
9. สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใด ให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ ตามมาตรา 1473
10 ถ้าสินสมรสใดเป็นจำพวกที่ระบุไว้ใน มาตรา 456 แห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือที่มีเอกสารเป็นสำคัญ สามีหรือภริยาจะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมกันในเอกสารนั้นก็ได้ ตามมาตรา 1475 โดยมาตรา 456 คือการซื้อขายทรัพย์สินประเภทที่มีทะเบียน คือ อสังหาริมทรัพย์ และสงหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น เรือที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้น แพที่คนอยู่อาศัย สัตว์พาหนะต่างๆ เป็นต้น
11. ถ้าสามีภริยามิได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในเรื่องทรัพย์สินนั้น ก็ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในหมวด 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ลักษณะ 1 นี้ ตามมาตรา 1464 วรรคหนึ่ง
***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์ 02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816 หรือ ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****
ถ้าข้อความใดในสัญญาก่อนสมรสขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือระบุให้ใช้กฎหมายประเทศอื่นบังคับเรื่องทรัพย์สิน ข้อความนั้นๆ เป็นโมฆะ ตามมาตรา 1465 วรรคสอง
12. สัญญาก่อนสมรสเป็นโมฆะ ถ้ามิได้จดแจ้งข้อตกลงกันเป็นสัญญาก่อนสมรสนั้นไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรส หรือมิได้ทำเป้นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สมรสและพยานอย่างน้อยสองคนแนบไว้ท้ายทะเบียนสมรส และได้จดไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรสว่าได้มีสัญญานั้นแนบไว้ ตามมาตรา 1466
13. เมื่อสมรสแล้วจะเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสนั้นไม่ได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากศาล ตามมาตรา 1467 วรรคหนึ่ง
เมื่ได้มีคำสั่งของศาลถึงที่สุดให้เปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสแล้ว ให้ศาลแจ้งไปยังนายทะเบียนสมรสเพื่อจดแจ้งไว้ในทะเบียนสมรส ล ตามมาตรา 1467 วรรคสอง
14. ข้อความในสัญญาก่อนสมรสไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ว่าจะได้เปลี่ยนแปลงเพิกถอนโดยคำสั่งของศาลหรือไม่ก็ตาม ตามมาตรา 1468
15. สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต ตามมาตรา 1469
หน้าที่ของทนายความคดีแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส
1. เตรียมคดี โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งจากฝ่ายลูกความและบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
2. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารว่าลูกความว่ามีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพราะคดีแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสบางกรณีอาจต้องมีเอกสารหลักฐานหรือหนังสือ เพื่อแสดงต่อศาลในการสืบพยานด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เช่น สัญญาก่อนสมรสเกี่ยวกับทรัพย์สินของคู่สมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิขย์มาตรา 1466 เป็นต้น
3. ตรวจสอบสิทธิ,หน้าที่ ทรัพย์สินทั้งสินสมรสและสินส่วนตัว , คำนวณความเสียหายและดอกเบี้ยจำนวนโดยรวมทั้งหมดของลูกความและบุคคลฝ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง , บุตร หรือบุคคลอื่นที่มาเป็นคู่สมรสซ้อน หรือบุคคลอื่นๆ ซึ่งอาจถูกเรียกค่าทดแทนได้ เป็นต้น
4. ค้นหาข้อกฎหมาย เช่น เป็นสินสมรสหรือไม่ เป็นต้น คำพิพากษศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง และอายุความหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีของลูกความ
5. ดูแลผลประโยชน์ของลูกความในผลความคืบหน้าของคดีอย่างสม่ำเสมอ
6. ให้คำแนะนำปรึกษาในทางกระบวนพิจารณาของศาลและข้อกฎหมายแก่ลูกความอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อประกอบการตัดสินใจของลูกความ