เลขที่ 919/541 อาคารจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ ชั้น49 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพ ฯ ไทย 10500
สาระสำคัญของความผิดฐานรับของโจร
1. ความผิดฐานชิงทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 6 ความผิดฐานรับของโจร
2. ผู้ใด “ช่วย” ซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอกหรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 357 วรรคหนึ่ง
ความผิดฐานรับของโจรนี้ แม้ลักษณะการกระทำจะคล้ายกับว่าเป็นการสนับสนุนผู้กระทำความผิด โดยการให้ความช่วยเหลือในประการต่างๆ เพื่อให้ทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดมานั้น เป็นการยากแก่การที่จะได้รับกลับคืนไปยังผู้เสียหายต่อไป แต่ไม่ถือว่าเป็นความผิดในฐานเป็นผู้สนับสนุนผู้กระทำความผิดตามมาตรา 86 เพราะไม่ได้เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์นั้นก่อนหรือขณะที่มีการกระทำความผิดแต่อย่างใด แต่เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกภายหลังจากเกิดมีการกระทำความผิดขึ้นแล้ว กฎหมายจึงบัญญัติขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อเอาผิดกับบุคคลเหล่านี้นั่นเอง
ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำเพื่อค้ากำไรหรือได้กระทำต่อทรัพย์อันไดมาโดยการลักทรัพย์ ตามมาตรา 335(10) (คือ ความผิดฐานลักทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์) , ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาทถึง 20,000 บาท ตามมาตรา 357 วรรคสอง
***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์ 02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816 หรือ ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****
ถ้าการกระทำความผิดฐานรบของโจรนั้น ได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา 335 ทวิ(คือกรณีการลักทรัพย์ที่มีไว้เพื่อประชาชนเคารพบูชาหรือในสถานที่มีไว้เพื่อให้ประชาชนใช้เคารพบูชา) การชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 ทวิ(คือกรณีการชิงทรัพย์ที่มีไว้เพื่อประชาชนเคารพบูชาหรือในสถานที่มีไว้เพื่อให้ประชาชนใช้เคารพบูชา) หรือการปล้นทรัพย์ตามมาตรา 340 ทวิ(คือกรณีการปล้นทรัพย์ที่มีไว้เพื่อประชาชนเคารพบูชาหรือในสถานที่มีไว้เพื่อให้ประชาชนใช้เคารพบูชา) ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 30,000 บาท ตามมาตรา 357 วรรคท้าย
3. กรณีความผิดตามมาตรา 357 วรรคสองและวรรคท้าย เป็นกรณีที่ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะมีเหตุฉกรรจ์ ซึ่งผู้กระทำจะต้องรับโทษหนักขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงใดได้นั้น ผู้กระทำต้องได้รู้ข้อเท็จจริงที่จะทำให้ตนต้องรับโทษหนักขึ้นตามองค์ประกอบที่เพิ่มมาในแต่ละมาตรานั้นๆ ด้วย ตามมาตรา 62 วรรคท้ายเช่น ผู้กระทำจะต้องรับโทษฐานรับของโจรอันเป็นทรัพย์ที่ได้มีการปล้นมา ตามมาตรา 357 วรรคสอง ผู้กระทำก็ต้องรู้ข้อเท็จจริงด้วยว่าทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ที่ถูกปล้นมา เป็นต้น
4. ความผิดฐานรับของโจรนี้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ผู้เสียหายและผู้กระทำความผิดไม่อาจยอมความให้สิทธิที่จะนำคดีอาญามาฟ้องระงับลงได้
หน้าที่ของทนายความคดีความผิดฐานรับของโจร
1. เตรียมคดีโดยการค้นหาข้อเท็จจริงจากบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้รอบด้านมากที่สุด
2. พบและให้คำปรึกษาลูกความเป็นการส่วนตัวในกรณีลูกความเป็นฝ่ายผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา ตามสิทธิในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1(1) และในชั้นศาล ไม่ว่าลูกความจะเป็นฝ่ายโจทก์ผู้เสียหายหรือจำเลย อย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อการตัดสินใจของลูกความได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. อยู่ร่วมในการสอบสวนกับลูกความกรณีเป็นฝ่ายผู้ต้องหา ตามสิทธิใน มาตรา 7/1(2) ประกอบมาตรา134/1 และมาตรา 134/3
4. ดำเนินการช่วยเหลือลูกความให้ได้รับการประกันตัวกรณีลูกความถูกจับอยู่ไม่ว่าจะในชั้นพนักงานสอบสวน หรือชั้นฝากขังต่อศาลทั้งกรณีการถูกคุมขังโดยชอบด้วยกฎหมายหรือโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา90 หรือมาตรา 106
5. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมให้แก่ลูกความเพื่อรักษาสิทธิต่างๆ กรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ตามมาตรา 30
6. กรณีเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ต้องดำเนินการขอให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอเรียกทรัพย์สินหรือใช้ราคาแทนทรัพย์สินของลูกความที่เสียหายไปจากการกระทำความผิดในฐานความผิดที่ระบุไว้ ตามมาตรา 43 หรือยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนให้แก่ลูกความ ตามมาตรา 44/1
7. ค้นหาพยานหลักฐานทั้งหลายที่เกี่ยวข้องเพื่อจะนำมาพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของจำเลย
8. ตรวจค้นข้อกฎหมาย และคำพิพากษาของศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตรวจสอบอายุความหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีของลูกความ
9. ติดตามผลคดีของลูกความอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาประโยชน์แก่ลูกความเป็นสำคัญ
10. ดำเนินการให้ลูกความที่เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดไว้เป็นของกลางให้ได้รับคืนของกลางกรณีเจ้าของไม่ได้รู้เห็นเป็นใจให้ทรัพย์นั้นได้ใช้ในการกระทำความผิดด้วย ตามมาตรา 49 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 วรรคสองหรือมาตรา 34 วรรคสอง