ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6881586
375039


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  9 ราย


ทนายความคดีผิดสัญญาหมั้น 

สาระสำคัญของสัญญาหมั้น

 

1. สัญญาหมั้นมีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว ลักษณะ 1 การสมรส หมวด 1 ว่าด้วยเรื่อง การหมั้น 

2. การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้วเท่านั้น มิิฉะนั้น การหมั้นที่ฝ่าฝืนข้อนี้จะมีผลตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1435

3. ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลดังต่อไปนี้

    (1) บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา

    (2) บิดาหรือมารดา ในกรณีที่มารดาหรือบิดาตายหรือถูกถอนอำนาจปกครองหรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้

    (3) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม

    (4) ผู้ปกครอง ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมตาม (1) , (2) และ (3) หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง

   การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำไปโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าวเป็นโมฆียะ ตามมาตรา 1436 ดังนั้นผู้เยาว์ที่สามารถทำการหมั้นได้แล้วตามมาตรานี้ ก็คือ บุคคลที่มีอายุระหว่าง 17 ปี แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ นั้นเอง

4. การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็น "ของหมั้น" ให้แก่หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น ตามมาตรา 1437 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ของหมั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้สัญญาหมั้นเกิดขึ้นสมบูรณ์หรือไม่นั่นเอง โดยองค์ประกอบสำคัญคือ ต้องมีการส่งมอบให้แก่หญิงคู่หมั้นแล้ว

    เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง ตามมาตรา 1437 หมายถึง เป็นสิทธิของผู้หญิงที่ทำการหมั้นด้วย หรือคู่สัญญามั่นนั้นเอง ซึ่งแตกต่างจาก "สินสอด" เป็นกรณีฝ่ายชายมอบให้แก่บิดามารดาของหญิง มิใช่มอบให้แก่ตัวหญิงคู่หมั้น

    "สินสอด" เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำํคัญอันเกิดแก่หญิงหรือโดยพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ฝ่ายชายไม่สามารถหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียนสินสอดคืนได้ ตามมาตรา 1437 วรรคสาม

    ถ้าจะต้องคืนของหมั้นหรือสินสอดตามหมวดนี้ให้นำบทบัญญัติมาตรา 412 ถึงมาตรา 418 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามมาตรา 1437 วรรคสี่

5. การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ ถ้าได้มีข้อตกลงกันไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับในเมื่อผิดสัญญาหมั้น ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1438

6. เมื่อมีการหมั้น ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้ใช้ค่าทดแทน และในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นให้แก่ฝ่ายชายด้วย ตามมาตรา 1439

    ดังนั้นหากมีการผิดสัญญาหมั้น อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ และถ้าหากฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายชายจะมีสิทธิเพิ่มขึ้นมานอกจากค่าทดแทนแล้ว ก็คือ เรียกคืนของหมั้นหรือสินสอดได้ด้วย

7. ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้ (ตามมาตรา 1440 วรรคหนึ่ง)

    (1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น

    (2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดา มารดา หรือบุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร

    (3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สินหรือการอื่นเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส

    ในกรณีที่หญิงเป็นผู้มีสิทธิได้ค่าทดแทน ศาลอาจชี้ขาดว่าของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นเป็นค่าทดแทนทั้งหมดหรือเป็นส่วนหนึ่งของค่าทดแทนที่หญิงพึงได้รับ หรือศาลอาจให้ค่าทดแทนโดยไม่คำนึงถึงของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นก็ได้ ตามมาตรา 1440 วรรคสอง

8. ถ้าคู่หมั้นฝ่ายหนึ่งตายก่อนสมรส อีกฝ่ายหนึ่งจะเรียกร้องค่าทดแทนไม่ได้ ส่วนของหมั้นหรือสินสอดนั้นไม่ว่าชายหรือหญิงตาย หญิงหรือฝ่ายหญิงไม่ต้องคืนให้แก่ฝ่ายชาย ตามมาตรา 1441

9. ในกรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น ทำให้ชายไม่สมควรสมรสกับหญิงนั้น ชายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้ และให้หญิงคืนของหมั้นแก่ชาย ตามมาตรา 1442

    "เหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น" ได้แก่ การที่หญิงไปร่วมประเวณีกับชายอื่น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องน่าอับอาย หรือหญิงไปทำการสมรสกับชายอื่น หรือประพฤติตนเสเพล เป็นต้น

10. ในกรณีที่มีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้นทำให้หญิงไม่สมควรสมรสกับชายนั้น หญิงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยมิต้องคืนของหมั้นให้แก่ชาย ตามมาตรา 1443

11. ถ้าเหตุอันทำให้คู่หมั้นบอกเลิกสัญญาหมั้น เป็นเพราะการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งได้กระทำภายหลังการหมั้น คู่หมั้นผู้กระทำชั่วอย่างร้ายแรงนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนแก่คู่หมั้นผู้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นเสมือนเป็นผู้ผิดสัญญาหมั้น ตามมาตรา 1444 ข้อสำคัญของมาตรานี้ คือ จะต้องเป็นการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงที่คู่หมั้นผู้กระทำได้กระทำหลังทำสัญญาหมั้นแล้ว มิใช่กรณีเคยกระทำชั่วมาก่อน เช่น หลังทำสัญญาหมั้นฝ่ายชายค้ายาเสพติดจนติดคุก แม้การกระทำจะไม่เกี่ยวกับการผิดสัญญาหมั้นโดยตรง แต่กฎหมายก็ให้ฝ่ายชายผู้กระทำชั่วนั้นรับผิดใช้ค่าทดแทนเสมือนหนึ่งเป็นผู้ผิดสัญญาหมั้นนั่นเอง เป็นต้น  แต่มิใช่กรณีที่ฝ่ายชายเคยกระทำความผิดมาก่อน แล้วต่อมาทำสัญญาหมั้นกับหญิง เมื่อหญิงคู่หมั้นมาทราบทีหลังจะมาอ้างเป็นเหตุเรียกค่าทดแทนจากฝ่ายชายไม่ได้

12. ชายหรือหญิงคู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งได้ร่วมประเวณีกับคู่หมั้นของโดยรู้หรือควรจะรู้ถึงการหมั้นนั้น เมื่อได้บอกเลิกสัญญาหมั้นตามมาตรา 1442 หรือมาตรา 14443 แล้วแต่กรณี (ตามมาตรา 1445)

13. ชายหรือหญิงคู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งได้ข่มขืนกระทำชำเราหรือพยายามข่มขืนกระทำชำเราคู่หมั้นของตนโดยรู้หรือควรจะรู้ถึงการหมั้นนั้นโดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาหมั้น ตามมาตรา 1446 ซึ่งแตกต่างกับมาตรา 1445 ที่จะต้องบอกเิลิกสัญญาก่อน

14. ค่าทดแทนอันจะพึงชดใช้แก่กันตามหมวดนี้ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์ ตามมาตรา 1447 วรรคหนึ่ง

    สิทธฺเรียกร้องค่าทดแทนตามหมวดนี้ นอกจากค่าทดแทนตามมาตรา 1440 (2) ไม่อาจโอนกันได้และไม่ตกทอดไปถึงทายาท เว้นแต่สิทธินั้นจะได้รับสภาพกันไว้เป็นหนังสือหรือผู้เสียหายได้เริ่มฟ้องคดีตามสิทธินั้นแล้ว ตามมาตรา 1447 วรรคสอง

15. สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตามมาตรา 1439 ให้มีอายุความ 6 เดือนนับแต่วันที่ผิดสัญญาหมั้น ตามมาตรา 1447/1 วรรคหนึ่ง

    สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตามมาตรา 1444 ให้มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันรู้หรือควรรู้ถึงการกระทำ

 

 

 

 ***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์   02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816  หรือ                          ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com  ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice    ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

 

 

 

หน้าที่ของทนายความคดีผิดสัญญาหมั้น

1. เตรียมคดี โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งจากฝ่ายลูกความและบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

2. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารว่าลูกความว่ามีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพราะคดีผิดสัญญาหมั้น อาจต้องมีเอกสารหลักฐานหรือหนังสือสัญญาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น กรณีมีการทำสัญญาหมั้นไว้เป็นหนังสือ กรณีการตกลงทำสัญญากู้ไว้ว่าจะให้สินสอด หรือกรณีให้ฝ่ายหญิงทำหนังสือบันทึกว่าได้รับสิ่งใดเป็นของหมั้นหรือสินสอดไปจากฝ่ายชายบ้าง หรือกรณีมีความรับผิดในค่าทดแทนขึ้นและฝ่ายที่ต้องรับผิดได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ เป็นต้น 

3. ตรวจสอบสิทธิ,หน้าที่ ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ให้ไว้แก่ฝ่ายหญิง ไม่ว่าจะเป็นของหมั้นหรือสินสอด ,ความเสียหายและดอกเบี้ยจำนวนโดยรวมทั้งหมดของลูกความและบุคคลฝ่ายอื่นที่เีกี่ยวข้องด้วย เช่น ฝ่ายบิดาหรือมารดาทั้งสองฝ่าย เป็นต้น ซึ่งจะนำมาคำนวณเพื่อเรียกค่าทดแทนได้ต่อไป

4. ค้นหาข้อกฎหมาย เช่น มีเหตุเลิกสัญญาหมั้นและสามารถเรียกค่าทดแทนรวมถึงเรียกให้คืนของหมั้นหรือสินสอดได้หรือไม่ หรือฝ่ายหญิงมีสิทธิปฏิเสธการเรียกคืนตามกฎหมายหรือไม่ เป็นต้น ค้นคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง และอายุความหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีของลูกความ

5. ดูแลผลประโยชน์ของลูกความในผลความคืบหน้าของคดีอย่างสม่ำเสมอ

6. ให้คำแนะนำปรึกษาในทางกระบวนพิจารณาของศาลและข้อกฎหมายแก่ลูกความอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อประกอบการตัดสินใจของลูกความ