ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
21/08/2567
15193080
383646


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  349 ราย


ทนายความคดีกู้ยืมเงิน 

สาระสำคัญในคดีกู้ยืมเงิน

- การกู้ยืมเงินกันกว่า 2,000 บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้เป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะนำคดีมาฟ้องร้องผู้กู้ต่อศาลให้บังคับดคีไม่ได้

 

- การกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้ว ลูกหนี้ได้ชำระหนี้แล้วควรจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้กู้ หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นเวนคืนมายังฝ่ายผู้กู้แล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารแห่งการกู้ยืมเงินนั้นแล้วด้วย เพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์ว่าหนี้ได้ชำระไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปแล้ว

 

- การกู้ยืมเงินจะคิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 หรือ 15 % ไม่ได้มิฉะนั้น ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยจะตกเป็นโมฆะ

 

- ถ้ามีดอกเบี้ยค้างชำระ จะเอาดอกเบี้ยนั้นทบกับต้นเงิน แล้วคิดดอกเบี้ยจากผลรวมนั้นไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และคู่สัญญากู้ยืมเงินตกลงกันให้ทำได้เป็นหนังสือ

 

- คดีกู้ยืมเงินโดยส่วนใหญ่เป็นคดีที่ต้องมีเอกสารหรือหนังสือสัญญากู้มาแสดงในการสืบพยาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653

 

 

 **** หากท่านต้องการหาทนายความ ปรึกษาทนายความ ต้องการทนายความคดีสัญญากู้ยืม บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด เป็นบริษัททนายความที่ยินดีให้บริการปรึกษากฎหมาย มีทนายความมืออาชีพพร้อมบริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ มีปัญหาเรื่องคดีกู้ยืมเงินโทรหาเราได้ที่เบอร์  02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816          หรือทาง e-mail : smelawservice@hotmail.com          ทาง facebook : ww.facebook.com/smelawservice                     ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

หน้าที่ของทนายความคดีกู้ยืมเงิน

1. เตรียมคดี โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งจากฝ่ายลูกความและบุคคลที่เกี่ยวข้อง

2. ตรวจสอบเอกสารว่าลูกความว่ามีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพราะคดีกู้ยืมเงินโดยส่วนใหญ่เป็นคดีที่ต้องมีเอกสารหรือหนังสือสัญญากู้มาแสดงในการสืบพยาน

3. ตรวจสอบยอดหนี้และดอกเบี้ยของลูกความจำนวนโดยรวมทั้งหมด

4. ค้นข้อกฎหมาย และคำพิพากษาของศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งตรวจสอบอายุความหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีของลูกความ

5. ดูแลผลประโยชน์ของลูกความในผลความคืบหน้าของคดีอย่างสม่ำเสมอ

6. ให้คำแนะนำปรึกษาในทางกระบวนพิจารณาของศาลและข้อกฎหมายแก่ลูกความอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อประกอบการตัดสินใจของลูกความ