เลขที่ 919/541 อาคารจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ ชั้น49 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพ ฯ ไทย 10500
สาระสำคัญของคดีร้องขอถอดถอนผู้จัดการมรดก
1. เรื่องการร้องขอถอดถอนผู้จัดการมรดกนั้น มีกฎหมายบัญญัติรับรองอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 มรดก ลักษณะ 4 วิธีการจัดการและปันทรัพย์มรดก หมวด 1 ว่าด้วยเรื่องผู้จัดการมรดก
2. ผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมใดๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่ เว้นแต่พนัยกรรมจะอนุญาตไว้ หรือได้รับอนุญาตจากศาล ตามมาตรา 1722
**ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ถือว่าเป็นการกระทำปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10738/2551 กรณีจึงต้องถือว่าขณะจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองในฐานะส่วนตัวทั้งที่ตนไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมที่อ้าง เป็นการทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของ บ. อันเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1722 นิติกรรมการโอนตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ....อ่านต่อ คลิ๊ก....
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2550 การที่ ว. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ถ. และเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้ร้องไปรับโอนที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกของ ถ. ซึ่งตกทอดแก่ผู้ร้องมาเป็นของตนเองในฐานะส่วนตัว ย่อมไม่เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดในพินัยกรรม แต่เป็นการทำนิติกรรม ให้ ว. มีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของ ถ. อันเป็นการต้องห้ามโดยแจ้งชัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1722 นิติกรรมการโอนตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ....อ่านต่อ คลิ๊ก....
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9295/2547 การ ที่ ป. ในฐานะผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมโอนทรัพย์มรดกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่ตน เองซึ่งไม่ใช่ทายาท แม้จะเป็นการตอบแทนการเอาเงินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแทนกองมรดก อันเป็นการจัดการมรดกทั่วไป ก็ไม่มีอำนาจกระทำเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก เมื่อผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมอนุญาตและ ป. ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลจึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1722ย่อมตกเป็นโมฆะ ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจึงยังคงเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ....อ่านต่อ คลิ๊ก....
**ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ไม่ถือว่าเป็นการกระทำปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2220/2552 การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกของ ส. บางส่วนให้แก่ตนเองเป็นการส่วนตัว ในฐานนะที่ตนเป็นทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรสของ ส. และให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ซึ่งเป็นทายาทอีกคนหนึ่ง การกระทำเช่นนี้ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1722 ....อ่านต่อ คลิ๊ก....
3. ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง ตามมาตรา 1727 วรรคหนึ่ง
ถึงแม้ว่าจะได้เข้ารับตำแหน่งแล้วก็ดี ผู้จัดการมรดกจะลาออกจากตำแหน่งโดยมีเหตุอันสมควรก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล ตามมาตรา 1727 วรรคสอง
***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์ 02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816 หรือ ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****
หน้าที่ของทนายความคดีร้องขอถอดถอนผู้จัดการมรดก
1. เตรียมคดี โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งจากฝ่ายลูกความและบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
2. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารว่าลูกความว่ามีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพราะคดีร้องขอถอดถอนจัดการมรดกอาจต้องมีเอกสารหลักฐานหรือหนังสือสัญญาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น การตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรม เป็นต้น
3. ตรวจสอบสิทธิ,หน้าที่ ทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องทั้งที่เป็นมรดกและทรัพย์สินของเจ้ามรดกที่ได้มาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้ว เช่น เงินประกันชีวิต หรือบำเหน็จบำนาญตกทอด เป็นต้น ซึ่งเงินดังกล่าวนำกฎหมายว่าด้วยมรดกมาเทียบเคียงใช้ด้วย รวมถึงคำนวณยอดหนี้ ค่าเสียหายที่ตกทอดเป็นมรดกโดยรวมทั้งหมด หรือกรณีที่เกิดจากการที่ผู้่จัดการมรดกทำผิดหน้า่ที่ด้วย
4. ค้นหาข้อกฎหมาย ค้นคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง และอายุความหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีของลูกความ
5. ดูแลผลประโยชน์ของลูกความในผลความคืบหน้าของคดีอย่างสม่ำเสมอ
6. ให้คำแนะนำปรึกษาในทางกระบวนพิจารณาของศาลและข้อกฎหมายแก่ลูกความอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อประกอบการตัดสินใจของลูกความ