ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6812168
374252


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  2 ราย


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9295/2547 

               ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ...พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้งกันรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่าโจทก์เป็น บุตรนอกกฎหมายที่นายสมพงษ์ผู้ตายได้รับรองแล้วส่วนเรือตรีประสิทธิ์ซึ่งเป็น บิดาของจำเลยที่ 1 และเป็นสามีของจำเลยที่ 2 นั้นเป็นพี่ของผู้ตาย เดิมที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 3648 และ 10583 ตำบลโกรกกราก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มีชื่อผู้ตายเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2531 นายสมพงษ์ถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งเรือตรีประสิทธิ์เป็นผู้จัดการมรดก ต่อมาในปี 2532 เรือตรีประสิทธิ์ได้ปลูกสร้างบ้านเลขที่ 50 ก. ลงบนที่ดินโฉนดเลขที่ 3648 และเรือตรีประสิทธิ์กับจำเลยทั้งสองได้เข้าอยู่อาศัยในบ้านหลังดังกล่าว ปี 2534 เรือตรีประสิทธิ์ในฐานะผู้จัดการมรดกได้โอนที่ดินทั้งสองแปลงเป็นของตน จากนั้นในปี 2537 เรือตรีประสิทธิ์ถึงแก่ความตาย จำเลยทั้งสองยังคงพักอาศัยอยู่ที่บ้านหลังดังกล่าว และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ยึดถือโฉนดที่ดินพิพาททั้งสองแปลงไว้ ต่อมาปี 2540 ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายสมพงษ์โจทก์ในฐานะผู้จัดการ มรดกได้บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดิน พิพาทโฉนดเลขที่ 3648 และให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาททั้งสองแปลงคืนโจทก์ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการแรกว่า ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงยังคงเป็นทรัพย์มรดกของนายสมพงษ์หรือไม่ เห็นว่าเมื่อผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมไว้ทรัพย์มรดกย่อมตกแก่ทายาทโดยธรรม แม้โจทก์จะเป็นบุตรนอกกฎหมายของนายสมพงษ์ แต่นายสมพงษ์ก็ได้รับรองแล้ว ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 ให้ถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ (1) มีสิทธิได้รับมรดกก่อนเรือตรีประสิทธิ์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ (3) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 และย่อมส่งผลให้เรือตรีประสิทธิ์ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของนายสมพงษ์ผู้ตาย เลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1630 วรรคหนึ่ง เรือตรีประสิทธิ์ในฐานะผู้จัดการมรดกมีเพียงสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำ เป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 ซึ่งจะต้องแบ่งส่วนมรดกให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิในมรดกตามที่กฎหมายบัญญัติเท่า นั้น การที่เรือตรีประสิทธิ์ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่ ตนเองทั้งที่ไม่มีสิทธิรับมรดกดังกล่าว จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจไม่มีผลผูกพันแต่ประการใด ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การที่เรือตรีประสิทธิ์โอนที่ดินมรดกทั้งสองแปลงให้แก่ตนเองเป็นสัญญาต่าง ตอบแทนที่เรือตรีประสิทธิ์เอาเงินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแทนกองมรดกอัน เป็นการจัดการมรดกทั่วไป ซึ่งผู้จัดการมรดกมีอำนาจทำได้ ไม่ใช่การแบ่งปันทรัพย์มรดก ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจึงเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของเรือตรีประสิทธิ์ มิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายนั้น เห็นว่า โจทก์มีนางสาวลักษณา ซึ่งเป็นบุตรของเรือตรีประสิทธิ์กับนางสุมลเป็นพยานเบิกความว่า เรือตรีประสิทธิ์ได้ขายที่ดินมรดกไป 1 แปลงเพื่อเอาเงินมาไถ่ถอนจำนองที่ดินมรดกอีก 2 แปลง ซึ่งตามสารบัญจดทะเบียนที่ดินทั้งสองแปลง ก็ปรากฏว่าเรือตรีประสิทธิ์ได้โอนที่ดินมรดกทั้งสองแปลงให้เป็นของตนเองใน ระหว่างจำนอง ต่อมาในปี 2535 จึงไถ่ถอนจำนอง หากเรือตรีประสิทธิ์เอาเงินส่วนตัวไถ่ถอนจำนองจริง ก็น่าจะจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองก่อนที่จะมีการโอนที่ดินมรดกเป็นของตน กรณีจึงน่าเชื่อตามคำเบิกความของนางสาวลักษณาว่าที่เรือตรีประสิทธิ์เอาเงิน ที่ขายที่ดินมรดกไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงนอกจากนี้ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722 ยังห้ามผู้จัดการมรดกมิให้ทำนิติกรรมใดๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก เว้นแต่จะมีพินัยกรรมอนุญาตหรือได้รับอนุญาตจากศาล การที่เรือตรีประสิทธิ์ทำนิติกรรมโอนทรัพย์มรดกให้แก่ตนเองซึ่งไม่ใช่ทายาท ถึงแม้จะเป็นการตอบแทนการเอาเงินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแทนกองมรดกอัน เป็นการจัดการมรดกทั่วไปตามที่จำเลยทั้งสองอ้างมาในฎีกา ก็ไม่มีอำนาจกระทำเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกเมื่อผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรม อนุญาตและไม่ได้รับอนุญาตจากศาลย่อมตกเป็นโมฆะจึงไม่ทำให้เรือตรีประสิทธิ์ ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกทั้งสองแปลงโดยนิติกรรมแต่ประการใด ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงยังคงเป็นมรดกของผู้ตายและโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดก มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

 

 

 

 ***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์  02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816   หรือ                          ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com  ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice    ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****