ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6835431
374439


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  196 ราย


บุตรนอกสมรสกับสิทธิในการรับมรดกของบิดา


บุตรนอกสมรสกับสิทธิในการรับมรดกของบิดา

หากบิดามารดาจดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ต่อมาได้ให้กำเนิดบุตร บุตรคนดังกล่าวนั้นย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาซึ่งส่งผลให้บุตรนั้นมีสิทธิรับมรดกของบิดาในฐานะผู้สืบสันดานของบิดา

 

 

 แต่หากบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรที่เกิดมานั้นจะเป็นบุตรนอกสมรสของบิดา ซึ่งบุตรนอกสมรสนั้นไม่มีสิทธิรับมรดกของบิดา แต่อย่างไรก็ตามบุตรนอกสมรสก็อาจเกิดสิทธิรับมรดกของบิดาได้ในกรณีต่าง ๆ ดังนี้
 

                    1. กรณีที่บิดารับรองว่าบุตรคนดังกล่าวนั้นเป็นบุตรของตนเอง ซึ่งการรับรองนั้นอาจเป็นการรับรองโดยพฤตินัย เช่น การเเสดงออกต่อบุคคลอื่นว่าเป็นบุตรของตนเอง การออกค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียนของบุตร การที่บิดาให้บุตรใช้นามสกุล การพามารดาที่ตั้งครรภ์ไปพบเเพทย์ที่โรงพยาบาล

                     กรณีที่บิดารับรองบุตรนี้เพียงมีพฤติการณ์ที่เเสดงว่าบิดารับว่าเป็นบุตรของตน บุตรก็มีสิทธิรับมรดกของบิดาเเล้วโดยไม่ต้องมีการฟ้องให้รับเป็นบุตรเเต่อย่างใด (คำพิพากษาฎีกาที่ 677/2537) แต่ผู้ที่จะรับรองบุตรได้นั้นต้องเป็นบิดาตามความเป็นจริงด้วย หากมิได้เป็นบิดาตามความเป็นจริงเเล้วเเม้จะมีการรับรองบุตร บุตรนั้นก็จะไม่เกิดสิทธิรับมรดกของบิดาเเต่อย่างใด เช่น นาย ก.     เเสดงออกต่อผู้อื่นว่า ด.ช. ข. เป็นบุตรของตนเเต่ความจริงเเล้ว ด.ช. ข. มิได้บุตรของนาย ก. เเต่อย่างใด ดังนั้นเเม้นาย ก. แสดงพฤติกรรมที่เป็นการรับรองว่า ด.ช. ข. เป็นบุตรของตนก็ไม่ทำให้ ด.ช. ข. เกิดสิทธิรับมรดกของนาย ก. เเต่อย่างใด  (คำพิพากษาฎีกาที่ 4791/2542)

 

                   2. กรณีที่บิดารับเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งการรับเป็นบุตรบุญธรรมนั้นจะต้องมีการปฎิบัติตามกฎหมาย กล่าวคือจะต้องมีการจดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายเเพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/27

                      กรณีของบุตรที่บิดารับรองและกรณีของบุตรที่บิดารับเป็นบุตรบุญธรรมนั้น กฎหมายให้ถือว่าบุตรดังกล่าวนั้นเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งทำให้บุตรนั้นเกิดสิทธิในการรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายเเพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627 และมาตรา 1629

 

                   3. กรณีที่บิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสกันหลังจากที่บุตรนั้นกำเนิดขึ้นมาเเล้ว กล่าวคือเเม้ตอนที่เด็กเกิดนั้นบิดาและมารดายังมิได้จดทะเบียนสมรสกัน เเต่ต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกันภายหลังจากที่บุตรนั้นเกิดขึ้นเเล้ว  บุตรนั้นก็มีสิทธิรับมรดกของบิดานั้น

                   4. กรณีที่บิดาจดทะเบียนว่าบุตรนั้นเป็นบุตรของตนซึ่งจะต้องดำเนินการต่อนายทะเบียนและต้องได้รับความยินยอมจากเด็กและมารดาของเด็ก

 

                   5. กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาว่าบุตรนั้นเป็นบุตรของบิดา 

 

                   กรณีที่บิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสกันภายหลัง, การที่บิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร และการที่ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรนั้น บุตรจะมีฐานะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา ตามประมวลกฎหมายเเพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 และทำให้เกิดสิทธิรับมรดกในฐานะผู้สืบสันดาน ซึ่งการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดานั้นจะมีผลย้อนไปนับตั้งเเต่วันที่บุตรนั้นเกิด เช่น กรณีที่มีการฟ้องต่อศาลเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา และศาลได้มีคำพิพากษาหลังจากที่บิดาถึงเเก่ความตายไปเเล้ว บุตรคนดังกล่าวนั้นก็มีสิทธิรับมรดกของบิดา เพราะผลจากคำพิพากษาจะทำให้บุตรนั้นเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาตั้งเเต่วันที่บุตรนั้นเกิด บุตรจึงมีฐานะเป็นผู้สืบสันดานอยู่ในขณะที่บิดาถึงเเก่ความตาย