ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6877204
374657


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  1 ราย


ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย


เลขที่หนังสือ : กค. 0702/1063
วันที่   : 15 กุมภาพันธ์ 2554
เรื่อง   : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย

ข้อกฎหมาย : มาตรา 42(17) และประกาศอธิบดีกรมสรรพกร เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 178 ) ลงวันที่ 29 พฤษภาคม  2552

 

ข้อหารือ

วันที่ 6 มิถุนายน 2551 นางสาว ย. ได้ทำสัญญาจองซื้อที่ดินพร้อมบ้านกับบริษัท ว. จำกัด  (บริษัท ว.) โดยปรากฎรายละเอียดในสัญญาจองสรุปได้ว่า จะซื้อที่ดินในโครงการ เป็นเงิน 840,000 บาท พร้อมบ้านแบบ 1 หลัง ราคาหลังละ 1,280,000 บาทรวมเป็นเงินค่าที่ดินและค่าบ้าน 2,120,000 บาท โดยวางมัดจำไว้เป็นเงิน 5,000 บาท

วันที่ 14 มิถุนายน 2551 นางสาว ย. ผู้จะซื้อได้ตกลงทำสัญญากับบริษัท ว. ผู้จะขาย เพื่อจะซื้อจะขายที่ดินในโครงการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อมา บริษํท ว. ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าว ให้แก่นางสาว ย. เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2551

วันที่ 21 กรกฎาคม 2551 นางสาว ย. ได้ทำสัญญาว่าจ้าง บริษัท ว. ให้ปลูกสร้างบ้านแบบซากุระลงบนที่ดินที่บริษัท ว. ได้โอนกรรมสิทธิ์ให้นางสาว ย. โดยกำหนดจ่ายค่าก่อสร้างเป็นงวดๆ รวม 7 งวด บริษัท ว. ได้ส่งมอบบ้านให้นางสาว ย. เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2552 พร้อมกับออกหนังสือรับรองจำนวนเงินที่ชำระค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ในปี พ.ศ. 2552 จำนวน 1,039,000 บาท ให้แก่นางสาว ย. เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2552

นางสาว ย. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 90 ) ปีภาษี 2552  เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้ออาคารจำนวนเงิน 300,000 และได้แจ้งความประสงค์ขอคืนเงินภาษีที่ชำระไว้เกิน จำนวนเงิน 142,592.72 บาท และ สท. ได้สั่งอนุมัติจ่ายคืนเงินภาษีจำนวนเงิน 52,592.72 บาท ซึ่งน้อยกว่าที่ได้ยื่นคำร้องขอคืน เนื่องจาก "หักลดหย่อนและยกเว้นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้ออาคารไม่ถูกต้อง ตามมาตรา 47 (1) (ซ)  แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 2 (53) ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร" จึงขอหารือว่า

เงินค่าซื้ออาคารจำนวนเงิน 1,039,000 บาท ที่นางสาว ย. จ่ายให้แก่บริษัท ว. ในปี พ.ศ. 2552 ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 271 (พ.ศ. 2552) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรและประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 178) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู๋อาศัย ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ได้หรือไม่

 

แนววินิจฉัย กรณีนางสาว ย. ได้ซื้อที่ดินจากบริษัท ว. พร้อมว่าจ้างให้บริษัท ว. ปลูกสร้างบ้านลงบนที่ดินดังกล่าว โดยแยกเป็นสัญญาซื้อขายที่ดินและสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้าน แต่เป็นการทำสัญญากับนิติบุคคลเดียวกัน ประกอบกับข้อเท็จจริง ปรากฎว่า นางสาว ย. ได้ทำสัญยาจองซื้อที่ดินพร้อมบ้านแบบ ซ. ในโครงการ กับบริษัท ว. เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2551  แต่บริษัท ว. ผู้ขาย ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่นางสาว ย. ในวันที่ 30 มิถุนายน 2551  และส่งมอบบ้านให้แก่นางสาว ย. เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2552  จึงไม่เข้าเงื่อนไขกรณีต้องมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อให้แล้วเสร็จในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552  ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และต้องไม่เคยผ่านการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาก่อนไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ดังนั้น นางสาว ย. ย่อมไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ตามมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 271 (พ.ศ. 2552) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 178) ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เลขตู้ : 74/37672

ที่มา : http://www.rd.go.th/