ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6879938
374873


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  130 ราย


ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินชดใช้ค่าเสียหาย


 

เลขที่หนังสือ : กค 0811/5268

วันที่ : 28 พฤษภาคม 2544

เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินชดใช้ค่าเสียหาย

ข้อกฎหมาย : มาตรา 77/1(8) แลมาตรา 77/2

ข้อหารือ :

                  1. บริษัทฯ ประกอบกิจการผลิตสินค้าประเภทยางรถยนต์และอุปกรณ์ภายในรถยนต์เพื่อขาย บริษัทฯ สั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าจากผู้ขายหลายรายด้วยกันซึ่งในการสั่งซื้อวัตถุดิบจะมีข้อตกลงว่าหากวัตถุดิบไม่เป้นไปตามคุณภาพที่กำหนดและทำให้บริษัทฯ เสียหายบริษัทฯ จะเรียกร้องคาเสียหายจากผู้ขายวัตถุดิบ

                  2. การเรียกร้องค่าเสียหายจำแนกเป็น 3 กรณี

                      (1) กรณีบริษัทฯ ตรวจพบว่าวัตถุดิบไม่ได้คุณภาพก่อนการผลิต บริษัทฯจะส่งคืนวัตถุดิบให้แก่ผู้ขายวัตถุดิบให้แก่ผู้ขายวัตถุดิบ โดยผู้ขายวัตถุดิบจะออกใบลดหนี้ให้แก่บริษัทฯ

                      (2) กรณีบริษัทฯ ตรวจพบว่าวัตถุดิบไม่ได้คุณภาพในขั้นตอนการผลิต บริษัทฯจะให้ผู้ขายวัตถุดิบชดใช้ค่าเสียหายโดยคำนวณจากค่าวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายในการผลิต ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทฯ ตรวจพบในช่วงการผลิตใด โดยคำนวณชั่วโมงที่ใช้ในการผลิตจริง คูณด้วยอัตราค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงตามสัญญา

                      (3) กรณีบริษัทฯ ตรวจพบว่าวัตถุดิบไม่ได้คุณภาพเมื่อได้จัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าแล้ว

                           (ก) กรณีอยู่ในช่วงการประกันรถยนต์ (WARRANITY CLAIM) เมื่อบริษัทฯ ได้รับแจ้งจากลูกค้าไม่ได้คุณภาพและบริษัทฯตรวจสอบพบว่าเกิดจากวัตถุดิบที่ซื้อจากผู้ขายวัตถุดิบ บริษัทฯจะคิดค่าเสียหายจากผู้ขายวัตถุดิบในจำนวนเงินเดียวกับที่ลูกค้าคิดกับบริษัทฯ ซึ่งลูกค้าของบริษัทฯ จะคิดค่าเสียหายจากบริษัทฯ โดยรวมค่าแรงที่ตัวแทนจำหน่ายของลูกค้าเปลี่ยนยางรถยนต์หรืออุปกรณ์ภายในรถยนต์ให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์

                           (ข) กรณีลูกค้าส่งคืนก่อนการประกอบรถยนต์ ลูกค้าของบริษัทฯ อาจตรวจพบว่าสินค้าของบริษัทฯ ไม่ได้คุณภาพก่อนการนำไปประกอบรถยนต์ ก็จะส่งคืนให้แก่บริษัท บริษัทฯ จะคืนค่าเสียหายจากผู้ขายวัตถุดิบในราคาขายวัตถุดิบ บริษัทฯ หารือว่าในกรณีบริษัทฯ เรียกเก็บเงินชดใช้ค่าเสียหายจากผู้ขายวัตถุดิบ บริษัทฯ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

 

แนววินิจฉัย

            1. กรณีบริษัทฯ ตรวจพบว่าวัตถุดิบไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดก่อนการผลิตสินค้า บริษัทฯ จะส่งคืนวัตถุดิบดังกล่าวให้แก่ผู้ขายวัตถุดิบโดยผู้ขายวัตถุดิบโดยผู้ขายวัตถุดิบจัดทำใบลดหนี้แก่บริษัทฯ บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฎตามใบลดหนี้มาหักออกจากภาษีซื้อของบริษัทฯ ในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้นั้น ตามมาตรา 82/10 และบริษัท 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร

            2. กรณีบริษัทฯ ตรวจพบว่าวัตถุดิบไม่ได้คุณภาพในขั้นตอนการผลิตสินค้าซึ่งบริษัทฯ ไม่สามารถส่งคืนวัตถุดิบให้แก่ผู้ขายวัตถุดิบ บริษัทฯ จึงเรียกเก็บเงินจำนวนหนึ่งจากผู้ขายวัตถุดิบ โดยคำนวณจากค่าวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายในการผลิตจำนวนเงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นค่าเสียหายจากการขายวัตถุดิบ มิใช่มูลค่าที่บริษัทฯ ได้รับจากการขายวัตถุดิบคืนให้แก่ผู้ขายวัตถุดิบ ตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร

            3. กรณีบริษัทฯ ตรวจพบว่าวัตถุดิบไม่ได้คุณภาพเมื่อได้ส่งสินค้าสำเร็จรูปให้แก่ลูกค้าของบริษัทฯ แล้ว บริษัทฯ จึงเรียกเก็บเงินจำนวนหนึ่งจากผู้ขายวัตถุดิบในจำนวนเดียวกันกับที่ลูกค้าของบริษัทฯ ได้เรียกเก็บจากบริษัทฯ หรือในราคาขายวัตถุดิบ จำนวนเงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นค่าเสียหายจากการขายวัตถุดิบ มิใช่มูลค่าที่บริษัทฯ ได้รับจากการขายวัตถุดิบคืนให้แก่ผู้ขายวัตถุดิบ ตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร

 

ที่มา : เรื่องการไล่สายทางกฎหมายภาษีสรรพกร