ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6877581
374692


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  5 ราย


ภาษีเงินได้และภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีภาระภาษีการจัดคอนเสิร์ต


เลขที่หนังสือ : กค 0706/3078 

วันที่ : 29 มีนาคม 2547

เรื่อง : ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีภาระภาษีในการจัดคอนเสิร์ต

ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(8)

ข้อหารือ : ภาระภาษีในการจัดงานคอนเสิร์ตของชมรมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยในประเทศไทย เพื่อนำรายได้ทูลเกล้าถวายโดยเสร็จพระราชกุศาลเข้ามูลนิธิ ช. และมูลนิธิ ร. เนื่องในโอกาสที่ทางมหาวิทยาลัย A ประเทศสหรัฐอเมริกาจะทูลเกล้าฯถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านดนตรีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติให้เลื่องลือสืบไป

แนววินิจฉัย

1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีชมรมฯมีเงินได้จากการจัดงานคอนเสิร์ตดังกล่าว ชมรมต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของคณะบุคคลซิ่งมิใช่นิติบุคคล โดยเงินได้จากการจัดงานคอนเสิร์ตดังกล่าวซึ่งได้แก่รายได้จากการจำหน่ายบัตรเข้าชมคอนเสิร์ตและรายได้จากเงินสนับสนุนของหน่วยงานองค์กรต่างๆถือเป็นเงินได้ที่พึงประเมิน ตามมาตรา 40(8)  แห่งประมวลรัษฎากร ชมรมฯจึงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังนี้

(1.1)ครั้งที่ 1 จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายนไปยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 94 ) ภายในเดือนกันยายนของปีภาษีนั้นทั้งนี้ ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร ตามมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่  11 )  พ.ศ. 2502

 (1.2)ครั้งที่ 2  จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคมไปยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 90) ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป ทั้งนี้ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร โดยในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหัหักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร ตามมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ(ฉบับที่ 11)  พ.ศ.2502 ทั้งนี้ให้นำภาษีที่ชำระไว้แล้วในครั้งที่ 1 มาถือเป็นเครดิตหักออกจากภาษีที่จะต้องชำระในครั้งที่ 2 อนึ่ง ชมรมฯจะต้องยื่นคำร้องขอมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีเงินได้พึงประเมินโดยให้ยื่นแบบ ล.ป. 10 เพื่อขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีในนามคณะบุคคล ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่ผู้ยื่นคำร้องมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ ทั้งนี้ตามมาตรา 3 เอกาทศ แห่งประมวลรัษฎากรประกอบกับการประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่องกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545

2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากชมรมฯนำเงินได้จากการจัดงานคอนเสิร์ตดังกล่าวทูลเกล้าฯถวายโดยเสร็จพระราชกุศลเข้ามูลนิธิ ช. และมูลนิธิ ร. ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวโดยมิได้นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่นนอกจากเพื่อประโยชน์แก่การสาธารณกุศลภายในประเทศ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การสาธารณกุศล ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น จึงได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ธ) แห่งประมวลรัษฎากร

3.ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายชมรมฯมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหากมีการจ่ายเงินได้ซึ่งได้มีการกำหนดให้มีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร และตามมาตรา 3  เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน  พ.ศ. 2528

ที่มา : เรื่องการไล่สายทางกฎหมายภาษีสรรพากร