ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6879992
374888


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  6 ราย


การเลือกทนายความคดีแพ่ง หาทนายความคดีแพ่ง ความหมายของคดีแพ่ง ปรึกษาทนายออนไลน์ ได้ที่


             ทนาย ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย คุณภาพ มีปัญหากฎหมายเรื่องด่วน ทันเหตุการณ์ 083-492-5816

           ปรึกษาทนายออนไลน์ ได้ที่ Line id : chommatat   หรือโทร 02-236-5722 , 02-6300-460

           

         การเลือกทนายความคดีแพ่ง หาทนายความคดีแพ่ง เมื่อมีข้อพิพาท มีข้อสงสัย หรือต้องทำนิติกรรมใดๆในชีวิตประจำวัน หรือเหตุทางกฎหมายทางด้านกฎหมายแพ่งที่จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาล  ท่านต้องใช้ความรู้ทางกฎหมาย ซึ่งบางท่านมีความรู้ดีอยู่แล้วย่อมไม่เกิดปัญหา แต่บางท่านไม่ค่อยมีความรู้กฎหมายดังกล่าว หรือมีความรู้แต่ไม่แน่ใจว่าความรู้ดังกล่าวของตนเองถูกต้องหรือไม่ อย่างไร ท่านจำเป็นต้องปรึกษาผู้รู้ทางกฎหมายหรือทนายความคดีแพ่ง ทนายความ หรือ ที่ปรึกษากฎหมาย เพื่อเป็นข้อมูลก่อนตัดสินใจดำเนินการ

 

    ทนาย ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย แบบไหนที่ท่านจะให้ความไว้วางใจในการปรึกษาเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการรับฟังความเห็นทางกฎหมาย เพื่อเอาความเห็นทางกฎหมายนั้นไว้ประกอบการตัดสินใจ ซึงการให้ความเห็นทางกฎหมายผิดพลาด เนื่องจากการไม่รู้กฎหมาย หรือ การเข้าใจในการรับฟังข้อมูลความเห็นทางกฎหมาย ย่อมเป็นเรื่องสำคัญ เพราะรายละเอียดในข้อเท็จจริงต่างกัน การวินิจฉัยของศาล ทนายความ และข้อกฎหมายที่ใช้บังคับย่อมต่างกันไปด้วย 

 

  1. ต้องเลือกทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย จากความน่าเชื่อถือ เช่นเป็นบริษัท เป็นสำนักงานมีที่ตั้งแน่นอนเชื่อถือได้ เนื่องจากหากเกิดปัญหา หรือมีข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ท่านสามารถเข้าพบ หรือ เอาเอกสารเพื่อให้ทนาย หรือที่ปรึกษากฎหมายตรวจสอบได้ทันที ไม่ทิ้งงาน ติดตามตรวจสอบง่าย ท่านอาจขอเข้าพบที่ที่ตั้งของบริษัทหรือสำนักงาน เพื่อดูความน่าเชื่อถือเบื้องต้น
  2. เลือกทนาย ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย ที่ทำงานเป็นรูปแบบขององกร เช่น จัดตั้งเป็นบริษัทจำกัด หรือ เป็นสำนักกฎหมาย หรือมีทีมทนายความ เพราะ สามารถติดต่อทนายความหรือทีมงานได้แม้ทนายความที่ท่านติดต่อประจำเข้าว่าความในศาล หรือทำงานอื่นๆ เป็นเหตุให้ไม่สามารถติดต่อได้
  3. ควรให้ทนาย หรือที่ปรึกษาทางกฎหมายทำความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรดีกว่าให้ความเห็นทางทำพูดหรือโทรศัพท์

 

     การใช้สิทธิทางแพ่งต่อศาล บุคคลย่อมใช้สิทธิได้หลายฐานะ เช่นเป็นโจทก์ในคดีแพ่ง(ผู้ฟ้อง) จำเลย(ผู้ถูกฟ้อง) ผู้ร้องในคดีจัดการมรดก  ร้องขอรับรองบุตร ผู้ถูกร้องกรณีขอกันส่วน จำเลยร่วม โจทก์ร่วม ผู้แทนโดยชอบธรรม บุพการี เป็นต้น

     เมื่อท่านจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลแล้ว แต่ท่านไม่มีความรู้ทางกฎหมายท่านจำเป็นต้องมีทนายความ ที่มีความรู้ทางกฎหมายในเรื่องนั้นๆเช่นกฎหมายแพ่ง ที่กฎหมายให้สิทธิทนายความดำเนินการแทนท่านในการใช้สิทธิทางศาลเพื่อช่วยเหลือ ท่านให้ได้รับความยุติธรรม ความสะดวกในการต่อสู้คดี และความเป็นมืออาชีพและประสบการณ์โดยตรงของทนายความเพื่อแบ่งเบาภาระของท่านในการใช้สิทธิทางศาล

 

     วิธีการเลือกทนายความเบื้องต้นก่อนแต่งตั้งทนายความในคดี คู่ความในศาลต้องการหาทนายความเก่งๆ ทนายที่สามารถว่าความให้ชนะคดีได้ หรือคู่ความบางคนอาจจะมีเหตุในการเลือกทนายความของตนด้วยเหตุอื่นๆ เช่นความน่าเชื่อถือ ชื่อเสียงของทนายความ ขนาดของกิจการ การมีสำนักงานหรือเปิดกิจการในรูปของบริษัท บางคนอาจเลือกเพราะมีการแนะนำ หาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต หนังสือ หรือการไว้ใจ ฯลฯ ซึ่งการเลือกย่อมเป็นตามความพึงพอใจของคู่ความเอง เมื่อคู่ความเลือกทนายความแล้วก็ต้องมีการแต่งตั้งทนายความตามกฎหมาย

 

     วิธีการแต่งตั้งทนายความคดีแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 61 บัญญัติว่า การตั้งทนายความนั้นต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ ตัวความและทนายความแล้ว ยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวนใบแต่ง ทนายนี้ให้ได้เฉพาะคดีเรื่องหนึ่งๆ ตามที่ได้ยื่นไว้เท่านั้น เมื่อทนายความผู้ใดได้รับมอบอำนาจทั่วไปที่จะแทนบุคคลอื่นไม่ว่าในคดีใดๆ  ให้ทนายความผู้นั้นแสดงใบมอบอำนาจทั่วไปแล้วคัดสำเนา ยี่นต่อศาลแทนใบแต่งทนาย เพื่อดำเนินคดีเป็นเรื่องๆ ไปตาม ความในมาตรานี้

     สิทธิและหน้าที่ของทนายความในคดีแพ่งหลังจากถูกแต่งตั้งจากตัวความในคดี ตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความแพ่งมาตรา 62 บัญญัติว่าทนายความซึ่งคู่ความได้ตั้งแต่งนั้นมีอำนาจว่าความ และดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความนั้น แต่ถ้ากระบวนพิจารณาใด เป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ เช่น การยอมรับตามที่คู่ความ อีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา หรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ ทนายความไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นว่านี้ได้  โดยมิได้รับอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง อำนาจโดยชัดแจ้งเช่นว่านี้จะระบุให้ไว้ในใบแต่งทนายความสำหรับคดี เรื่องนั้น หรือทำเป็นใบมอบอำนาจต่างหากในภายหลังใบเดียว หรือหลายใบก็ได้และในกรณีหลังนี้ให้ใช้บัญญัติมาตรา 61 บังคับ

     ดังนั้นก่อนที่ท่านจะลงชื่อในใบแต่งตั้งทนายทั้งคดีแพ่ง และคดีอาญา ท่านต้องอ่านใบแต่งทนายความให้ชัดเจนก่อน โดยท่านสามารถจำกัดอำนาจหน้าที่ของทนายความได้ แล้วแต่ความต้องการของลูกความ

 

     ปรึกษาทนายออนไลน์ ได้โดยแจ้งทางอีเมล เฟซบุ๊ค หรือโทรศัพท์ ยังหมายเลขของสำนักงาน02-236-5722 เรามีทีมทนายความพร้อมให้คำปรึกษา และตอบปัญหากฎหมายเบื้องต้นให้แก่ท่าน กรณีมีเอกสารหรือปัญหาที่ซับซ้อน ขอให้ท่านนำเอกสารและสำนวนที่เกี่ยวข้องมาปรึกษาที่บริษัท เพราะจะได้พิจารณาโดยละเอียดก่อนให้คำปรึกษาแก่ท่าน  เพื่อความถูกต้องชัดเจน สมบูรณ์ในการแก้ปัญหากฎหมายของท่านต่อไป

 

     ปรึกษาทนายออนไลน์ ได้ที่ Line id : chommatat  

ทนายความ ทนาย ที่ปรึกษากฎหมาย เราพร้อมดำเนินการช่วยเหลือทุกท่านที่มีปัญหาครับ

 




  ความคิดเห็น : 1

เป็นประโยชน์ อ่านง่ายมากครับ ตรงประเด็น จากทนายความให้ความรู้เยอะมากครับ
ไอพี แอดเดรส : 58.8.104.xxx   วันที่ : 08/03/2556 23:29:53