ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6878409
374735


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  5 ราย


อย.เผยผลผู้กระทำความผิดเฉพาะ พ.ร.บ. อาหาร 

อย. เผยผลผู้กระทำความผิดเฉพาะ พ.ร.บ. อาหาร เพียง 1 ปี กว่า 500 ราย

อย.เผยผลดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.อาหารตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2552 - 30 กันยายน 2553  ได้ดำเนินคดีกับผู้ฝ่าฝืนในลักษณะความต่างๆ รวมแล้ว 553 ราย รวมเป็นเงินกว่า 3 ล้านบาท โดยส่วนมากที่พบคือความผิดฐานโฆษณาคุณประโยชน์ในทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. นำเข้าเพื่อจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน และนำเข้าเพื่อจำหน่ายอาหารฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำผิดซ้ำซ้อนจนต้องปรับเพิ่มอีกหลายแห่ง สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดของผู้กระทำความผิดได้ในเว็นไซด์ www.fda.moph.go.th เข้าไปที่ข่าวผลการดำเนินคดี

 

 

 

 ***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์   02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816   หรือ                          ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com  ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice    ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

 

น.พ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินการกับผู้กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประจำปีงบประมาณ 2553 (กันยายน 2522 - ตุลาคม 2553) ได้ดำเนินคดีกับผู้ฝ่าฝืนในลักษณะความผิดต่างๆ รวม 553 ราย รวมเป็นเงิน 3,169,400 บาท โดยความผิดทีพบมากที่สุดคือโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารเพื่อประโยชน์ในทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. รวม 119 คดีรองลงมาคือ นำเข้าเพื่อจำหน่ายอาหารผิดมาตราฐาน รวม 44 คดี นำเข้าเพื่อจำหน่ายอาหารฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารณสุข รวม 36 คดี และอื่นๆ และในจำนวนนี้ยังมีผู้ที่ถูกดำเนินคดีซ้ำซากรวมอยู่ด้วยซึ่งพบมากที่สุดถึง 13 ครั้งในรอบปี ซึ่งจะต้องเปรียบเทียบปรับในอัตราโทษที่เพิ่มขึ้น

รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า ความผิดฐานโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารเพื่อประโยชน์ในทางการค้าไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. เช่นการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสารสกัดจากดอกดาวเรือง อาหารสูตรโปรตีนถั่วเหลือง กาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง เครื่องดื่มธัญญาหาร เป็นต้น ความผิดฐานนำเข้าเพื่อจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน ซึ่งนำเข้าจากประเทศต่างๆ โดยพบสารปรอทในเห็ดหอม , เห็ดมัญรูมแช่แข็ง , ปลาดหิมะสดแช่แข็ง  พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์เห็ดหูหนูขาว , พบเชื้อรา พบยีสต์ สารเคมีในกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ สารกำจัดศัตรูพีช และวัตถุเจือปนอาหารต่างๆ เป็นต้น ความผิดฐานนำเข้าเพื่อจำหน่ายอาหารฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งนำเข้าจากประเทศต่างๆ พบโซเดียมซัยคลาเมต จากส้มหั่นเป็นแผ่นแช่อิ่ม ลูกแพร์แช่อิ่ม , ขนามหวานรสนมรูปบาสเก็ตบอล , เบย์เบอร์รี่แช่อิ่ม , พบซัคคารินในลูกพลัมหวาน , วัถตุเจือปนในอาหาร ได้แก่ สีซันเซตเย็ลโลว์เอฟซีเอฟ และสีตาร์ตราซีน ในไข่ปลาเคปปลินแช่แข็ง และพบกรดซอร์บิก ในลูกพลัมหวาน เป็นต้น

สำหรับโทษของผลการดำเนินคดีในข้อหาต่างๆ  คือ ความผิดฐานโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพหรือสรรพคุณของอาหารเพื่อประโยชน์ในทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท นำเข้าเพื่อจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน มีโทษคือปรับไม่เกิน 50,000 บาท และนำเข้าเพื่อจำหน่ายอาหารฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งออกตามมาตรา 6(4)(5) มีโทษคือปรับไม่เกิน 20,000 บาท

รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ผู้บริโภคสามารถเข้าไปดูรายละเอียดของผู้กระทำความผิดได้ในเว็บไซด์ www.fda.moph.go.th เข้าไปที่ข่าวผลการดำเนินคดี ทั้งนี้ อย. จะมีการนำเสนอข่าวผลการดำเนินคดีเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อแจ้งให้ผู้บริโภคได้ทราบและเป็นประโยชน์ในการเฝ้าระวังต่อไป

การผลิตอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษตามกฎหมายทั้งจำคุก และปรับ ถ้าท่านผู้ประกอบการท่านใดยังไม่ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถติดต่อสอบถามจากบริษัทของเรา เพื่อเราดำเนินการให้ท่านได้รับ อย. อาหารโดยถูกต้องตามกฎหมายต่อไป

                            กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th