ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6842902
374507


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  3 ราย


ทนายความคดีผู้จัดการมรดกเฉพาะส่วน 

สาระสำคัญของผู้จัดการมรดกเฉพาะส่วน

1. เรื่องการจัดการมรดกนั้น มีกฎหมายบัญญัติรับรองอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ว่าด้วยมรดก ลักษณะ 4 ว่าด้วยเรื่อง "วิธ๊จัดการและปันทรัพย์มรดก" มีอยู่ทั้งหมด 3 หมวด คือ หมวด 1 ผู้จัดการมรดก, หมวด 2 การรวบรวมจำหน่ายทรัพย์มรดกเป็นตัวเงินและการชำระหนี้กับแบ่งปันทรัพย์มรดก และหมวด 3 การแบ่งมรดก

2. เมื่อบุคคลธรรมดาถึงแก่ความตาย หรือกรณีกฎหมายถือว่าถึงแก่ความตาย บรรดาทรัพย์สิน สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ของเขาที่มีอยู่ก่อนตายจะกลายเป็นมรดก ตกทอดแก่ทายาท ตามมาตรา 1599 และมาตรา 1600  ซึ่งจะต้องมีผู้จัดการมรดกดังกล่าว เพื่อแบ่งปันแก่ทายาทต่อไป

3. ผู้จัดการมรดกนั้นอาจมีได้หลายกรณี เช่น ผู้จัดการมรดกที่ทายาทตกลงยินยอมตั้งกันเอง หรือกรณีผู้เป็นเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมตั้งไว้ รวมทั้งกรณีที่ทายาทไม่อาจตกลงกันได้ และไม่มีพินัยกรรมของผุ้เป็นเจ้ามรดกแต่งตั้งผุ้จัดการมรดกไว้จึงอาจแต่ง ตั้งโดยคำสั่งศาลได้ ตามมาตรา 1711

4. ผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมอาจตั้งขึ้นได้ (ตามมาตรา 1712)

    (1) โดยผู้ทำพินัยกรรมเอง

    (2) โดยบุคคลซึ่งระบุไว้ในพินัยกรรม (หมายความว่า เจ้ามรดกได้ระบุชื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคนให้ไปเลือกผู้ที่จะมาเป็น ผู้จัดการมรดกอีกทีหนึ่ง)

5. ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (ตามมาตรา 1713 วรรคหนึ่ง)

    (1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์

    (2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือเต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก

    (3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใดๆ 

    การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดในพินัยกรรมพินัยกรรมนั้น และ้ถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชย์แก่กองมรดกตาม พฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร ตามมาตรา 1713 วรรคสอง

6. ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 809 ถึง 812 , 819 , 823 แห่งประมวลกฎหมายนี้โดยอนุโลม และเมื่อเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ใช้มาตรา 831 บังคับโดยอนุโลม ตามมาตรา 1720 ซึ่งมาตราทั้งหลายดังกล่าวเป็นบทบัญญัติในเรื่องตัวแทน โดยถือเสมือนหนึ่งว่าผุ้จัดการมรดกนี้เป็นตัวแทนของเจ้ามรดกผู้วายชนม์ ซึ่งอาจต้องรับผิดต่อทายาทหรือบุคคลภายนอก หากผู้จัดการมรดกกระทำการผิดหน้าที่ของตนนั้นเอง

    ดังนั้น ผู้จัดการเฉพาะทรัพย์มรดกบางส่วน อาจเกิดขึ้นโดยพินัยกรรมได้กำหนดไว้ อันเป็นเจตนาเจ้ามรดกที่ประสงค์จะให้ผู้จัดการมรดกคนใดรับผิดชอบทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนใด หรือกรณีผู้มีส่วนได้เสียหรือทายาทได้ยื่นคำร้องขอตั้งมรดกต่อศาลเพื่อให้ผู้จัดการมรดกมีอำนาจจัดการทรัพย์มรดกส่วนใดโดยเฉพาะ เพราะอาจมีกรณีที่เจ้ามรดกมีทรัพย์สินอยู่มาก และเกิดปัญหาอุปสรรคในการแบ่งปันทรัพย์มรดกบางอย่างเท่านั้น หรือทายาทและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องประสงค์จะทำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกไปทีละอย่างก่อนก็เป็นได้ เช่น การแบ่งที่ดินมรดกเจ้าพนักงานปฏิเสธการโอนทันที ต้องมีคำสั่งศาลอันเป็นที่สุดก่อนว่าได้มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามกฎหมายก่อนแล้วจึงจะรับดำเนินการให้ เป็นต้น

    อำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกเฉพาะส่วนจึงต้องอนุโลมนำบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องตัวแทนรับมอบอำนาจเฉพาะการ ตามมาตรา 800 มาใช้บังคับ ซึ่งมาตราดังกล่าวมีเนื้อความว่า "ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ ท่านว่าจะกระทำการแทนตัวการได้แต่เพียงในสิ่งที่จำเป็น เพื่อกิจอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสำเร็จลุล่วงไป" หมายความว่า ผู้จัดการมรดกได้รับมอบอำนาจจากเจ้ามรดกหรือบรรดาทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ให้มีอำนาจจัดการทรัพย์มรดกเฉพาะอย่างไป ตนก็มีอำนาจจัดการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับทรัพย์มรดกชิ้นนั้นเพื่อให้การแบ่งปันทรัพย์มรดกชิ้นนั้นสำเร็จลุล่วงไปเท่านั้น ไม่มีอำนาจจัดการใดๆ ในทรัพย์มรดกในชิ้นอื่นๆ เช่น ทายาทร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกในที่ดินเพื่อแบ่งปันให้แก่ทายาททุกคน ผู้จัดการก็มีขอบเขตอำนาจแต่เฉพาะเท่าที่เกี่ยวกับการแบ่งแยกที่ดินให้สำเร็จเท่านั้น อาจจะโอนมาเป็นชื่อผู้จัดการมรดกก่อนแล้วทำการแบ่งแยกที่ดินกันต่อไป แต่ผู้จัดการมรดกจะไปดำเนินการแบ่งปันรถยนต์ที่เป็นทรัพย์มรดกอีกชิ้นไม่ได้ เป็นต้น

 

7. ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง ตามมาตรา 1727 วรรคหนึ่ง

    ถึงแม้ว่าจะได้เข้ารับตำแหน่งแล้วก็ดี ผู้จัดการมรดกจะลาออกจากตำแหน่งโดยมีเหตุอันสมควรก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล ตามมาตรา 1727 วรรคสอง

 

 

 

 

 ***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์  02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816  หรือ                          ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com  ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice    ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

 

 

 

หน้าที่ของทนายความคดีผู้จัดการมรดกเฉพาะส่วน

1. เตรียมคดี โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งจากฝ่ายลูกความและบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

2. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารว่าลูกความว่ามีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพราะคดีผู้จัดการมรดกเฉพาะส่วน อาจต้องมีเอกสารหลักฐานหรือหนังสือสัญญาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และบางกรณีอาจต้องมีพยานเอกสารมาแสดงในการสืบพยานในศาลด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เช่น การตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรม เป็นต้น 

3. ตรวจสอบสิทธิ,หน้าที่ ทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องทั้งที่เป็นมรดกและทรัพย์สินของเจ้ามรดกที่ได้มาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้ว เช่น เงินประกันชีวิต หรือบำเหน็จบำนาญตกทอด เป็นต้น ซึ่งเงินดังกล่าวนำกฎหมายว่าด้วยมรดกมาเทียบเคียงใช้ด้วย รวมถึงคำนวณยอดหนี้ ค่าเสียหายที่ตกทอดเป็นมรดกโดยรวมทั้งหมด หรือกรณีที่เกิดจากการที่ผู้่จัดการมรดกทำผิดหน้า่ที่ด้วย

4. ตรวจสอบพินัยกรรมหรือคำสั่งของศาลโดยละเอียดว่า ผู้จัดการมรดกเฉพาะส่วนนั้นมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการมรดกเฉพาะในส่วนใดให้แน่ชัด และตรวจสอบดูว่าผู้จัดการมรดกนั้นกระทำการเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของตนที่มีอยู่หรือภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ควรมีหรือไม่

5. ค้นหาข้อกฎหมาย ค้นคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง และอายุความหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีของลูกความ

6. ดูแลผลประโยชน์ของลูกความในผลความคืบหน้าของคดีอย่างสม่ำเสมอ

7. ให้คำแนะนำปรึกษาในทางกระบวนพิจารณาของศาลและข้อกฎหมายแก่ลูกความอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อประกอบการตัดสินใจของลูกความ