เลขที่ 919/541 อาคารจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ ชั้น49 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพ ฯ ไทย 10500
สาระสำคัญของการร้องขอต่อศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
1. เรื่องการจัดการมรดกนั้น มีกฎหมายบัญญัติรับรองอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ว่าด้วยมรดก ลักษณะ 4 วิธีจัดการและปันทรัพย์มรดก ในหมวด 1 ว่าด้วยเรื่อง ผู้จัดการมรดก
2. เมื่อบุคคลธรรมดาถึงแก่ความตาย หรือกรณีกฎหมายถือว่าถึงแก่ความตาย บรรดาทรัพย์สิน สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ของเขาที่มีอยู่ก่อนตายจะกลายเป็นมรดก ตกทอดแก่ทายาท ตามมาตรา 1599 และมาตรา 1600 ซึ่งจะต้องมีผู้จัดการมรดกดังกล่าว เพื่อแบ่งปันแก่ทายาทต่อไป
3. ผู้จัดการมรดกนั้นอาจมีได้หลายกรณี เช่น ผู้จัดการมรดกที่ทายาทตกลงยินยอมตั้งกันเอง หรือกรณีผู้เป็นเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมตั้งไว้ รวมทั้งกรณีที่ทายาทไม่อาจตกลงกันได้ และไม่มีพินัยกรรมของผุ้เป็นเจ้ามรดกแต่งตั้งผุ้จัดการมรดกไว้จึงอาจแต่ง ตั้งโดยคำสั่งศาลได้ ตามมาตรา 1711
4. ผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมอาจตั้งขึ้นได้ (ตามมาตรา 1712)
(1) โดยผู้ทำพินัยกรรมเอง
(2) โดยบุคคลซึ่งระบุไว้ในพินัยกรรม (หมายความว่า เจ้ามรดกได้ระบุชื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคนให้ไปเลือกผู้ที่จะมาเป็น ผู้จัดการมรดกอีกทีหนึ่ง)
5. ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (ตามมาตรา 1713 วรรคหนึ่ง)
(1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์
(2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือเต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก
(3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใดๆ
การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดในพินัยกรรมพินัยกรรมนั้น และ้ถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชย์แก่กองมรดกตาม พฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร ตามมาตรา 1713 วรรคสอง
6. ผู้ทำพินัยกรรมจะตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคนให้เป็นผู้จัดการมรดกก็ได้ ตามมาตรา 1715 วรรคหนึ่ง
7. บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ (ตามมาตรา 1718)
(1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(2) บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไรความสามารถ
(3) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย
สรุป กฎหมายกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตัวผู้ที่จะร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเท่านั้นที่ต้องมีความเกี่ยวพันกับเจ้ามรดก ดังนั้นผู้ที่จะถูกตั้งเป็นผู้จัดการมรดกอาจจะไม่มีความเกี่ยวพันกับเจ้ามรดกเลยก็ได้ อาจเป็นบุคคลภายนอกที่ผู้ร้องขอไว้วางใจ เป็นนักบริหารจัดการที่มีความซื่อสัตย์สุจริตก็ได้ เพียงแต่จะต้องไม่มีคุณลักษณะตามที่ระบุไว้ในมาตรา 1718 เท่านั้น
***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์ 02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816 หรือ ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****
หน้าที่ของทนายความคดีร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
1. เตรียมคดี โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งจากฝ่ายลูกความและบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
2. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารว่าลูกความว่ามีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพราะคดีร้องขอแต่งตั้งจัดการมรดกมรดก อาจต้องมีเอกสารหลักฐานหรือหนังสือสัญญาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และบางกรณีอาจต้องมีพยานเอกสารมาแสดงในการสืบพยานในศาลด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เช่น การตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรม เป็นต้น
3. ตรวจสอบสิทธิ,หน้าที่ ทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องทั้งที่เป็นมรดกและทรัพย์สินของเจ้ามรดกที่ได้มาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้ว เช่น เงินประกันชีวิต หรือบำเหน็จบำนาญตกทอด เป็นต้น ซึ่งเงินดังกล่าวนำกฎหมายว่าด้วยมรดกมาเทียบเคียงใช้ด้วย รวมถึงคำนวณยอดหนี้ ค่าเสียหายที่ตกทอดเป็นมรดกโดยรวมทั้งหมด หรือกรณีที่เกิดจากการที่ผู้่จัดการมรดกทำผิดหน้า่ที่ด้วย
4. ค้นหาข้อกฎหมาย ค้นคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง และอายุความหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีของลูกความ
5. ดูแลผลประโยชน์ของลูกความในผลความคืบหน้าของคดีอย่างสม่ำเสมอ
6. ให้คำแนะนำปรึกษาในทางกระบวนพิจารณาของศาลและข้อกฎหมายแก่ลูกความอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อประกอบการตัดสินใจของลูกความ