ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6883566
375131


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  2 ราย


ระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาฯ 

 สาระสำคัญตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์การอุทธรณ์คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในกรณีมีพยานหลักฐานใหม่ซึ่งอาจทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ พ.ศ. 2551

     ออกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย มาตรา 278 วรรคสี่

1. คำนิยามศัพท์ที่สำคัญ (ตามข้อ 3)

“อุทธรณ์” หมายความว่า อุทธรณ์ของผู้ต้องคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ได้ยื่นต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา

ผู้พิพากษา” หมายความว่า ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา

ผู้ต้องคำพิพากษา” หมายความว่า ผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้รับโทษในทางอาญา ให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ให้พ้นจากตำแหน่ง หรือต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญ

พยานหลักฐานใหม่” หมายความว่า พยานหลักฐานที่ยังไม่เคยปรากฏอยู่ในสำนวนคดีที่ผู้ต้องคำพิพากษาได้ยื่นอุทธรณ์ตามระเบียบนี้ แต่ทั้งนี้พยานหลักฐานใหม่ย่อมไม่รวมถึงการกลับคำให้การของพยานในคดี

2. พยานหลักฐานใหม่ที่จะยกขึ้นอุทธรณ์ ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกานั้นจะต้องเป็นพยานหลักฐานที่สำคัญและผู้ต้องคำ พิพากษาไม่รู้หรือไม่มีเหตุอันควรรู้ว่าพยานหลักฐานดังกล่าวมีอยู่และจะต้อง นำมาแสดงเพื่อประโยชน์ของตน ทั้งหากรับฟังพยานหลักฐานใหม่เช่นว่านั้นแล้วจะทำให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษายกฟ้องหรือยกคำร้องได้ ตามข้อ 4

3. ในกรณีที่มีพยานหลักฐานใหม่ ผู้ต้องคำพิพากษาอาจยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ตามข้อ 5

4. ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกผู้พิพากษาห้าคนเป็นองค์คณะทำหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ที่ได้ยื่นต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาตามระเบียบนี้ แต่ทั้งนี้องค์คณะผู้พิพากษาดังกล่าวจะต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์ ตามข้อ 8 วรรคหนึ่ง

ให้องค์คณะที่ได้รับเลือกตามวรรคหนึ่งตกลงกันว่าจะให้ผู้พิพากษาคนใดในองค์คณะทำหน้าที่เป็นเจ้าของสำนวน ตามข้อ 8 วรรคสอง

ถ้าผู้พิพากษาคนใดในองค์คณะ พิจารณาอุทธรณ์ที่ได้รับมอบหมายไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยเหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกผู้พิพากษาคนอื่นทำหน้าที่แทนต่อไป ตามข้อ 8 วรรคสาม

ให้องค์คณะผู้พิพากษาเลือกผู้ ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหนึ่งคนทำ หน้าที่เป็นเลขานุการองค์คณะพิจารณาอุทธรณ์ ตามข้อ 8 วรรคท้าย

5. เมื่อองค์คณะพิจารณาอุทธรณ์ได้ทำบันทึกความเห็นสรุปสำนวนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เสนอที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเพื่อจัดให้มีการลงมติว่าจะรับอุทธรณ์ไว้ พิจารณาหรือไม่ ถ้าที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีมติว่า เป็นอุทธรณ์ที่ชอบก็ให้รับอุทธรณ์ไว้พิจารณา ตามข้อ 10

6. เมื่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีมติให้รับอุทธรณ์ไว้พิจารณาแล้ว ให้องค์คณะพิจารณาอุทธรณ์ตามข้อ ๘ ทำหน้าที่เป็นองค์คณะไต่สวนรวบรวมข้อเท็จจริงเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเพื่อพิจารณาและวินิจฉัย ตามข้อ 11 วรรคหนึ่ง

 

 ***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์  02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816  หรือ        ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com  ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice    ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

 

ถ้าเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่ง ความยุติธรรมจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่น อันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาไต่สวนเพิ่มเติม ให้องค์คณะไต่สวนทำการไต่สวนพยานหลักฐานซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียกพยานที่ ไต่สวนมาแล้วมาไต่สวนใหม่ด้วยโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ ตามข้อ 11 วรรคสอง

เมื่อองค์คณะไต่สวนได้รวบรวมข้อเท็จจริงแล้วให้ส่งให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาล่วงหน้าก่อนวันลงมติไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ตามข้อ 11 วรรคสาม

ให้นำความในข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 10 มาใช้บังคับกับการดำเนินการขององค์คณะผู้พิพากษาตามข้อนี้โดยอนุโลม ตามข้อ 11 วรรคท้าย

7. ผู้พิพากษาซึ่งเป็นหรือเคยเป็นองค์ คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีที่ผู้ต้องคำพิพากษาได้ยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุม ใหญ่ศาลฎีกามีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาในเรื่องที่เกี่ยว กับอุทธรณ์ของผู้ต้องคำพิพากษาตามระเบียบนี้ ตามข้อ 12

8. คำพิพากษาหรือคำสั่งตามมติที่ ประชุมใหญ่ศาลฎีกาให้องค์คณะพิจารณาอุทธรณ์หรือองค์คณะไต่สวนเป็นผู้ลงลาย มือชื่อในคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้วแต่กรณี ตามข้อ 14 วรรคหนึ่ง

ให้ส่งคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ทำให้คดีถึงที่สุดไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา พร้อมทั้งติดประกาศไว้ที่ศาลฎีกา ตามข้อ 14 วรรคสอง