ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6880701
374967


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  12 ราย


ทนายความคดีเช็ค,ตั๋วแลกเงิน,ต๋ัวสัญญาใช้เงิน 

สาระสำคัญของกฎหมายตั๋วเงิน

1. ตั๋วเงินมีกฎหมายรับรองอยู่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ลักษณะ 21

2. ตั๋วเงินมี 3 ประเภท คือ ตัวแลกเงิน ตั๋วสัญญาใ้ช้เงิน และเช็ค ตามมาตรา 898

3. เป็นสัญญาที่ต้องอาศัยมูลหนี้อื่นอันเป็นมูลหนี้หลักหรือมูลหนี้ประธาน เช่น การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้า หรือออกตั๋วสัญญาใช้ชำระหนี้เงินกู้ เป็นต้น

4. แม้จะออกตั๋วเงินมาชำระหนี้ที่มีอยู่จริง แต่หนี้หลักหรือหนี้ประธานจะยังไม่ระงับ ต่อเมื่อมีการใช้เงินตามตั๋วเงินแล้วเท่านั้น ตามมาตรา 321 วรรคท้าย เช่น หนี้กู้ยืมเงินจะระงับต่อเมื่อ เจ้าหนี้ได้นำเช็คไปขึ้นเงินและได้รับเงินจากธนาคารแล้ว เป็นต้น

5. เป็นนิติกรรมสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย เช่น มีผู้สั่งจ่าย มีผู้จ่ายเงิน และมีผู้รับเงิน เป็นต้น

6. บุคคลผู้ลงลายมือชื่อลงในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น มาตรา 900 

7. ตั๋วเงินไม่สามารถลงเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น แกงใด หรือลายพิมพ์นิ้วมือได้ ไม่มีผลเป็นตั๋วเงิน

8. ตั๋วเงินเป็นตราสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถโอนเปลี่ยนมือได้ แทนการใช้เงินสด ซึ่งมีลักษณะคล้ายการโอนหนี้กันได้อย่างหนึ่ง ถ้าเป็นกรณีตั๋วเงินชนิดระบุชื่อ ใช้วิธีการสลักหลังและส่งมอบ ส่วนตั๋วเงินชนิดให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ สามารถโอนให้แก่กันด้วยการส่งมอบได้เลย

9. ผู้มีสิทธิตามตั๋วเงินเรียกว่า "ผู้ทรง" ซึ่งกฎหมายหมายความว่า บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครอง โดยฐานเป้นผู้รับเงิน หรือเป็นผู้รับสลักหลังถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือๆ ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน ตามมาตรา 903

10. ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วเงินมีต่อเมื่อ ตั๋วเงินมีการปฏิเสธการจ่ายเงิน เว้นแต่ว่าตั๋วเงินนั้นจะมีการรับรองการใช้เงินจากผู้จ่าย ถ้ากรณีตั๋วแลกเงินเป็นไปตามตามมาตรา 937 หรือกรณีเช็ค ตามมาตรา 993 วรรคสอง เป็นต้น

11. ตั๋วแลกเงินนั้น บรรดาบุคคลผู้สั่งจ่ายก็ดี ผู้รับรองก็ดี ผู้สลักหลังก็ดี หรือรับประกันด้วยการอาวัลก็ดี ย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง ตามมาตรา 967 แต่ผู้สั่งจ่ายก็ดี ผู้รับรองก็ดี ผู้สลักหลังคนก่อนก็ดี ซึ่งเขาสลักหลังหรือโอนตั๋วแลกเงินให้อีกทอดหนึ่งนั้น หามีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตนย่อมต้องรับผิดต่อเขาอยู่ก่อนแล้วนั้นไม่ได้ ตามาตรา 971 ซึ่งหลักกฎหมายดังกล่าวนี้นำปใช้กับตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คด้วยโดยอนุโลม

 

 

 

 

 **** หากท่านต้องการหาทนายความ ปรึกษาทนายความ ต้องการทนายความคดีเช็ค บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด เป็นบริษัททนายความที่ยินดีให้บริการปรึกษากฎหมาย มีทนายความมืออาชีพพร้อมบริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ มีปัญหาเรื่องคดีเช็คเด้งโทรหาเราได้ที่เบอร์  02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816                                                 ทาง e-mail : smelawservice@hotmail.com               ทาง facebook : ww.facebook.com/smelawservice       ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

 

 

หน้าที่ของทนายความคดีตั๋วเงิน(ตั๋วแลกเงิน, ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือเช็ค)

1. เตรียมคดี โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งจากฝ่ายลูกความและบุคคลที่เกี่ยวข้อง

2. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารว่าลูกความว่ามีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เช่น เช็คมีการลงวันที่หรือไม่ มีการลงลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายที่แท้จริงหรือไม่ หรือมีรายการต่างๆ ครบถ้วนตามกฎหมายกำหนดหรือไม่ เป็นต้น

3. ตรวจสอบยอดหนี้และดอกเบี้ยของลูกความจำนวนโดยรวมทั้งหมด

4. ค้นหาข้อกฎหมาย คำพิพากษศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง และตรวจสอบอายุความสัญญาของลูกความ และของบุคคลฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในคดี เพราะบุคคลที่รับผิดในฐานะต่างกันตามตั๋วเงินอาจจะมีอายุความในการฟ้องร้องดำเนินคดีแตกต่างกัน เช่น การฟ้องผู้รับรองตั๋วแลกเงิน ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ต้องฟ้องภายใน 3 ปี นับแต่วันในตั๋วนั้นๆ ถึงกำหนดใช้เงิน ตามมาตรา 1001 ,ถ้าจะฟ้องผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่าย ต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้ลงในคำคัดค้านหรือนับแต่ตั๋วเงินถึงกำหนด ตามมาตรา 1002 เป็นต้น

5. ดูแลผลประโยชน์ของลูกความในผลความคืบหน้าของคดีอย่างสม่ำเสมอ

6. ให้คำแนะนำปรึกษาในทางกระบวนพิจารณาของศาลและข้อกฎหมายแก่ลูกความอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อประกอบการตัดสินใจของลูกความ