ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6878617
374761


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  5 ราย


ทนายความคดีเกี่ยวกับทรัพย์สิน 

 

 

สาระสำคัญเกี่ยวทรัพย์สิน

 

1. ทรัพสินนั้นมีกฎหมายรับรองอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป ลักษณะ 3 ทรัพย์ และ บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน

2. คำนิยามศัพท์ตามกฎหมายมีอยู่ในบรรพ 1 ลักษณะ 3 มีดังนี้

    2.1 ทรัพย์  หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง ตามมาตรา 137

    2.2 ทรัพย์สิน หมายความรวมถึงทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ ตามมาตรา 138  ดังนั้น ทรัพย์ก็คือทรัพย์สินอย่างหนึ่งนั่นเอง ส่วนทรัพย์สินที่ว่าจะต้องมีราคานั้น หมายถึง มีมูลค่า หรือคุณค่าน่นเอง

    2.3 อสังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย ตามมาตรา 139

    2.4 สังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ และหมายความรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย ตามมาตรา 140 ดังนั้นหมายความว่า อะไรที่เป็นอสังหาริมทรัพย์แล้วจะไม่เป็นสังหาริมทรัพย์ โดยแยกประเภทออกจากกันต่างหาก

    2.5 ทรัพย์แบ่งได้ หมายความว่า ทรัพย์อันอาจแยกออกจากกันเป็นส่วนๆ ได้จริงถนัดชัดแจ้ง แต่ละส่วนได้รูปบริบูรณ์ลำพังตัว ตามมาตรา 141

    2.6 ทรัพย์แบ่งไม่ได้ หมายความว่า ทรัพย์อันจะแยกออกจากกันไม่ได้นอกจากเปลี่ยนแปลงภาวะของทรัพย์และหมายความรวมถึงทรัพย์ที่มีกฎหมายบัญญัติว่าแบ่งไม่ได้ด้วย ตามมาตรา 142

    2.7 ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายความว่า ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 143 เช่น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ,ที่ดิน ส.ป.ก. หรือที่ดินมีข้อกำหนดห้ามโอน เป็นต้น

    2.8 ส่วนควบ หมายความว่า ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์น้ันเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ตามมาตรา 144 วรรคหนึ่ง

         เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น ตามมาตรา 144 วรรคสอง เช่น เจ้าของที่ดินปลูกบ้านบนที่ดินนั้น เมื่อบ้านเป็นส่วนควบของที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์ประธาน เจ้าของที่ดินจึงเป็นเจ้าของบ้านด้วย เป็นต้น

    2.9 อุปกรณ์ หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัดการดูแล ใช้สอย หรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนำมาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น

        อุปกรณณ์ที่แยกออกจากทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นการชั่วคราวก็ยังไม่ขาดจากการเป็นอุปกรณ์ของทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น

        อุปกรณ์ย่อมตกติดไปกับทรัพย์ที่เป็นประธาน เว้นแต่จะมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เช่น การขายเฉพาะส่วนอุปกรณ์นั้นให้บุคคลอื่นไปแล้ว เป็นต้น ตามมาตรา 147

    2.10 ดอกผลของทรัพย์ ได้แก่ ดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตินัย

      ดอกผลธรรมดา หมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์ โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยม และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น เช่น ผลไม้ที่หลุดออกจากต้นแล้ว หรือลูกสุนัข ลูกวัวที่คลอดจากตัวแม่แล้ว เป็นต้น

3. ไม่ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่ ตามมาตรา 145 วรรคหนึ่ง ไม้ยืนต้นคือไม้ที่วงจรชีวิตมากกว่า 3 ปีขึ้นไป เช่น ต้นมะม่วง ลำไย เป็นต้น

      ไม่ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปีไม่เป็นส่วนควบ ตามมาตรา 145 วรรคสอง เช่น ข้าวไม่เป็นส่วนควบกับนาที่ปลูก เป็นต้น

4. ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราวไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินหรือโรงเรือนนั้น ความข้อนี้ให้ใช้บังคับแก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย ตามมาตรา 146 เช่น การเช่าที่ดินเพื่อปลูกบ้าน หรือทำร้านอาหาร บ้านหรือร้านอาหารนั้นไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน ดังนั้นเจ้าของที่ดินผู้ให้เช่าไม่ได้กรรมสิทธิ์ในบ้านหรือร้านนั้นไป เป็นต้น

      ดอกผลนิตินัย หมายความว่า ทรัพย์หรือประโยชน์อย่งอื่่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวแก่เจ้าของทรัพย์จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้น และสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวันหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ค่าเช่าที่ได้จากการให้เช่าที่ดิน หรือเช่าบ้าน หรือดอกเบี้ยของเงินกู้ เป็นต้น

 

 

 

 ***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์   02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816   หรือ                          ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com  ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice    ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

 

หน้าที่ของทนายความคดีตั๋วทรัพย์สิน

1. เตรียมคดี โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งจากฝ่ายลูกความและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ว่าเป็นกรณีเกี่ยวกับทรัพย์สินในทางนิติกรรม เช่น การทำสัญญา หรือ นิติเหตุ เช่น การทำละเมิด เป็นต้น และมีทรัพย์สินที่พิพาทเข้ามาเกี่ยวข้องได้อย่างไร ในประเด็นใด

2. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารว่าลูกความว่ามีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพราะคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นบางกรณีอาจต้องมีเอกสารหลักฐานหรือหนังสือเพื่อแสดงต่อศาลในการสืบพยานด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เช่น สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ หรือสัญญาเช่าซื้อ เป็นต้น

3. ตรวจสอบยอดหนี้ ความเสียหายของทรัพย์สินที่พิพาทและดอกเบี้ยจำนวนโดยรวมทั้งหมด รวมถึงสิทธิและหน้าที่ของลูกความ

4. ค้นหาข้อกฎหมาย คำพิพากษศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง และอายุความในการดำเนินคดีของลูกความ

5. ดูแลผลประโยชน์ของลูกความในผลความคืบหน้าของคดีอย่างสม่ำเสมอ

6. ให้คำแนะนำปรึกษาในทางกระบวนพิจารณาของศาลและข้อกฎหมายแก่ลูกความอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อประกอบการตัดสินใจของลูกความ